ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตาย THE EFFECTS OF EMPOWERMENT PROGRAM ON COPING ABILITY OF SUICIDAL ATTEMPTERS
Main Article Content
บทคัดย่อ
Objectives: The purposes of this research were to compare the coping ability scores of suicidal attempters before and after the utilizing of the empowerment program and compare the coping ability scores of suicidal attempters in the experimental group and control group.
Methods:The subjects composed of 40 suicidal attempters who were admitted to the patient department of Chaophraya Yommrat Hospital and met the inclusion criteria. The subjects were divided into experimental and control group with 20 subjects each. The experimental group received empowerment program and the control group received regular caring activities. Research instruments were empowerment program and the coping ability scale. These instruments were examined for content validity by 5 psychiatric experts. The reliability of the scale by Chronbach’s Alpha coefficients was .83. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test.
Results: Major findings were as follows:1) Coping ability mean score of suicidal attempters in experimental group after utilizing the empowerment program was significantly higher than before utilizing the empowerment program (p < .001). 2) Coping ability mean score of suicidal attempters in the experimental group after utilizing the empowerment program was significantly higher than those in the control group (p < .001).
วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ภายหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ
วิธีการศึกษา:กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้พยายามฆ่าตัวตายที่นอนพักรักษาตัวในหอผู้ป่วยอายุกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ คุณสมบัติคือ เป็นเพศชายหรือเพศหญิงอายุ ระหว่าง 15-40 ปี และมีคะแนนความสามารถในการเผชิญปัญหาระดับแก้ไข (0-0.4) หรือไม่ดี (0.5-1.4) จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ และแบบประเมินความสามารถในการเผชิญปัญหา เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านจิตเวช จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบประเมินความสามารถในการเผชิญปัญหา ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษา:ผลการศึกษาที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 2) ค่าเฉลี่ยความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้พยายามฆ่าตัวตายที่ได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่าผู้พยายามฆ่าตัวตายที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย