การพัฒนาโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยจิตเภท THE DEVELOPMENT OF PERCIEVED SELF EFFICACY PROGRAM TO HEALTH BEHAVIORS IN SCHIZOPHRENIA PATIENTS

Main Article Content

นิตยา เศรษฐจันทร
อรทัย สงวนพรรค
สำราญ อยู่หมื่นไวย
วาสนา จินากลึง

บทคัดย่อ

Objectives: The objectives of this research and development study were to 1) develop perceived self-efficacy program to health behaviors in schizophrenia patients and 2) evaluate the effectiveness of perceived self-efficacy program to health behaviors in schizophrenia patients.


Methods: Sixty schizophrenia patients were purposively recruited according to inclusion criteria. Thirty participants each was assigned into experimental group receiving perceived self-efficacy program to health behaviors and control group receiving regular service programs. Research instruments included perceived self-efficacy program to health behaviors in schizophrenia patients and perceived health behaviors questionnaire developed by researcher. These instruments were tested for content validity by 3 psychiatric experts. The paired t-test and independent t-test were employed for data analysis.  

Results: Main findings were as follows:1. Content validity index range of perceived self-efficacy program to health behavior in schizophrenia patients was 0.6 to 1.0. Contents of the program consisted of 3 parts, namely, part 1: universal self-care requisites for basic minimal need, part 2: the self-care practice when having psychological abnormality and part 3: life skill. 2. A fter participating in the perceived self-efficacy program, perceived health behaviors mean score of experimental group was statistically and significantly higher than before participating in the program at p-value < .05. In addition, after implementing the program, perceived health behaviors mean score of experimental group was statistically and significantly higher than that of control group at p-value < .05 level.

วัตถุประสงค์: การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยจิตเภท และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมฯ ที่พัฒนาขึ้นต่อการรับรู้พฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทจำนวน 60 คน
วิธีการศึกษา: ที่ถูกเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน ได้รับการดูแลตามโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและกลุ่มควบคุม 30 คน ได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ โปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยจิตเภท และแบบประเมินการรับรู้พฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยจิตเภทพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test)
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า:1. โปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยจิตเภท มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.6 -1.0 โครงสร้างเนื้อหาของโปรแกรมประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1: การดูแลตนเองตามความต้องการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ส่วนที่ 2: การปฏิบัติเพื่อดูแลตนเองเมื่อมีความผิดปกติทางจิตเวช และส่วนที่ 3: ทักษะการดำรงชีวิต 2. การทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมฯ พบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้พฤติกรรมการปฏิบัติตัวสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ระยะหลังสิ้นสุด การทดลอง ผู้ป่วยกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมฯ มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้พฤติกรรมการปฏิบัติตัวสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นิตยา เศรษฐจันทร, โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ราชนครินทร์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ราชนครินทร์

อรทัย สงวนพรรค, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

สำราญ อยู่หมื่นไวย, โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ราชนครินทร์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ราชนครินทร์

วาสนา จินากลึง, โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ราชนครินทร์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา ราชนครินทร์