ปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชน FACTORS PREDICTING DEPRESSION IN OLDER ADULTS IN COMMUNITY

Main Article Content

ชัยวัฒน์ อินไชยา
โสภิณ แสงอ่อน
พัชรินทร์ นินทจันทร์

บทคัดย่อ

Objectives: The purpose of this study was to examine the predictive power of personal factors (gender and marital status), number of diseases, functional ability of activities of daily living, loneliness, family functioning, and social support on depression in older adults in the community.                   

Methods: This study was a predictive research. The participants consisted of 170 older adults in community in Nakhon Phanom Province. Data were collected by interviewing using six questionnaires comprising of the Demographic Data Questionnaire, Thai Geriatric Depression Scale, Barthel Activities of Daily Living Index Thai version, Chulalongkorn Family Inventory, Loneliness Inventory, and Multi-dimensional Scale of Perceived Social Support Thai version. Descriptive statistics and hierarchical regression analysis were used for data analysis.  

Results: The study results indicated that 10.6% of the older adults had depression. Gender, marital status, number of diseases, functional ability of activities of daily living, loneliness, family functioning, and social support could jointly explain 47.1% of the variance of depression in older adults in the community (R2= .471, F = 20.584, p < .001). The factors that significantly predicted depression in the older adults were family functioning (β = - .497, t = - 5.747, p < .001) and functional ability of activities of daily living (β = - .257, t = - 4.073, p < .001). Gender, marital status, number of diseases, loneliness, and social support did not significantly predict depression in older adults. The study findings suggested that nurses should promote family functioning and functional ability of activities of daily living of the older adults to prevent depression in older persons in community.

วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชน ของปัจจัยส่วนบุคคล (เพศ และสถานภาพสมรส) จำนวนโรคประจำตัว ความสามารถในการทำหน้าที่ในกิจวัตรประจำวัน ความรู้สึกว้าเหว่ การทำหน้าที่ของครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคม

วิธีการศึกษา: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดนครพนม จำนวน 170 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม จำนวน 6 ชุด ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดซึมเศร้าในผู้สูงอายุฉบับภาษาไทย แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน ดัชนีบาร์เทล ฉบับภาษาไทย แบบวัดการทำหน้าที่ของครอบครัว แบบสอบถามความว้าเหว่ และแบบสอบถามความรู้สึกหลากหลายมิติเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบเชิงชั้น 

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 10.6 เพศ สถานภาพสมรส จำนวนโรคประจำตัว ความสามารถในการทำหน้าที่ในกิจวัตรประจำวัน ความรู้สึกว้าเหว่ การทำหน้าที่ของครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคม ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชนได้ร้อยละ 47.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2= .471, F = 20.584, p < .001) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การทำหน้าที่ของครอบครัว (β = - .497, t = - 5.747, p < .001) และความสามารถในการทำหน้าที่ในกิจวัตรประจำวัน (β = - .257, t = - 4.073, p < .001) สำหรับเพศ สถานภาพสมรส จำนวนโรคประจำตัว ความรู้สึกว้าเหว่ และการสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชนอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า พยาบาลควรส่งเสริมให้ครอบครัวได้ทำหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุ และส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีความสามารถในการทำหน้าที่ในกิจวัตรประจำวัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ชัยวัฒน์ อินไชยา, นักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

นักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

โสภิณ แสงอ่อน, โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 
มหาวิทยาลัยมหิดล