ประสิทธิผลโปรแกรมการฟื้นคืนสู่สุขภาวะต่อความหวังและคุณภาพชีวิตสำหรับบุคคลที่อยู่กับโรคจิตเวช: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบTHE EFFECTIVENESS OF RECOVERY ORIENTED PROGRAMS ON HOPE AND QUALITY OF LIFE FOR PERSON WITH SERIOUS MENTAL ILLNESS:SYSTEMATIC REVIEW
Main Article Content
บทคัดย่อ
Objective: To analyze research on the effectiveness of recovery oriented programs on hope and quality of life for person with serious mental illness.
Method: A systematic review approach was conducted to analyze both Thai and English articles published and unpublished between 2006-2015 searching from the following databases ; Pubmed, CINAHL, Ovid, Science Direct, Springerlink, ProQuest, and ThaiLIS. Experimental and quasi-experimental studies on the effectiveness of recovery oriented programs focusing on hope and QOL of psychiatric patients were included in this review. Two reviewers independently assessed the quality of the reviews using the Systematic Review Protocols developed by the Joanna Briggs Institute (JBI). Summarization techniques were applied to analyze the outcomes.
Results: A total of 9 studies met the inclusion criteria. The results revealed two models of recovery oriented program as follows: 1) program implemented by practitioners, and 2) program implemented by person with mental illness. Person with mental illnesses participated in both models showed significant improvement in hope. However, the effectiveness of both models on Quality of life was unclear. Further studies were needed to confirm the findings on QOL.
วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของโปรแกรมการฟื้นคืนสู่สุขภาวะต่อความหวังและคุณภาพชีวิตสำหรับผู้อยู่กับโรคทางจิตเวช
วิธีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบโดยการสืบค้นรายงานวิจัยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งที่ตีพิมพ์และไม่ได้ตีพิมพ์ ระหว่างปี พ.ศ.2549 - พ.ศ. 2558 จากฐานข้อมูล Pubmed, CINAHL, Ovid, Science Direct, Springerlink, ProQuest และฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย คัดเลือกงานวิจัยทดลองและกึ่งทดลองที่ศึกษาผลของโปรแกรมการฟื้นคืนสู่สุขภาวะต่อความหวังและคุณภาพชีวิตในผู้อยู่กับโรคทางจิตเวชวัยผู้ใหญ่ ผู้วิจัยสองคนประเมินคุณภาพงานวิจัยอย่างเป็นอิสระต่อกันด้วยเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันโจแอนนาบริกส์ การวิเคราะห์ประสิทธิผลของงานวิจัยใช้การสรุปความ
ผลการศึกษา มีงานวิจัย 9 เรื่อง ที่ผ่านการประเมินคุณภาพงานวิจัยผลการวิเคราะห์ พบว่า โปรแกรมการฟื้นคืนสู่สุขภาวะต่อความหวัง และคุณภาพชีวิตของผู้อยู่กับโรคทางจิตเวช มี 2 รูปแบบ คือ 1) โปรแกรมที่ดำเนินการโดยบุคลากร และ 2) โปรแกรมที่ดำเนินการโดยบุคคลผู้อยู่กับโรคทางจิตเวช โปรแกรมการฟื้นคืนสู่สุขภาวะทั้งสองรูปแบบมีประสิทธิผลช่วยส่งเสริมความหวัง แต่ประสิทธิผลของทั้งสองรูปแบบต่อคุณภาพชีวิตยังไม่ชัดเจน จึงควรต้องมีการทำวิจัยเพื่อศึกษาผลที่มีต่อคุณภาพชีวิตต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย