ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานต่อสมรรถภาพทางกายและสภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร THE EFFECT OF INTEGRATED EXERCISE PROGRAM ON PHYSICAL FITNESS AND MENTAL HEALTH STATUS OF NURSING STUDENTS IN A PRIVATE U

Main Article Content

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย
สุชาติ พันธุ์ลาภ

บทคัดย่อ

Objective: The objective of this quasi-experimental research was to study the effect of integrated exercise program on the physical fitness and the mental health status of nursing students.

Methods: The forty samples were randomly selected from nursing students of a private university in Bangkok. The twenty samples were assigned into experimental group and the other twenty were assigned into control group. Both groups were matched paired by physical competencies and mental health status. Research instruments were 1) integrated exercise program composed with aerobic, social danc -ing, and yoga conducted for 8 weeks; 2) Sports Authority of Thailand Simplified Physical Fitness Test and 3) Mental Health Assessment of Mental Health Department. The reliability of the physical fitness test was .91, and the mental health assessment was .97. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test.

Results: The major finding revealed that the physical fitness and the mental health status of nursing students who participated in the program were significantly higher than that before at .05.

Conclusion: This Integrated exercise program could enhance physical fitness and the mental health status of nursing students. Therefore, nursing school/faculty of nursing should provide this program for nursing students in order to prepare them to care for health of people.

วัตถุประสงค์: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานต่อสมรรถภาพทางกาย และสภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง สุ่มมาจำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คน ด้วยการจับคู่ตามคะแนนสมรรถภาพทางกายและสภาวะสุขภาพจิตที่ใกล้เคียงกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมการออกกำลังกายซึ่งประกอบด้วย การเต้นแอโรบิค การลีลาศ และโยคะ ดำเนินการเป็นเวลา 8 สัปดาห์ 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายอย่างง่ายของการกีฬาแห่งประเทศไทย และ 3) แบบวัดสุขภาพจิตของกรมสุขภาพจิต แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายอย่างง่ายมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 และแบบประเมินสภาวะสุขภาพจิตมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบค่าที

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองสมรรถภาพทางกายและสภาวะสุขภาพจิต กลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

สรุป: โปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมผสานนี้สามารถช่วยให้สมรรถภาพทางกายและสภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลสูงขึ้น ดังนั้นสถาบันการศึกษาพยาบาลควรกระตุ้นให้นักศึกษาพยาบาลทุกคนได้ร่วมโปรแกรมฯ นี้ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลเป็นผู้ดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

สุชาติ พันธุ์ลาภ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี