ประสบการณ์ของผู้ดูแลวัยสูงอายุในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้า EXPERIENCES OF ELDERLY CAREGIVERS IN CARING FOR ELDERLY DEPRESSED PATIENTS

Main Article Content

ณัฏฐ์กฤตา เชาวน์วรารักษ์
รังสิมันต์ สุนทรไชยา

บทคัดย่อ

Abstract
Objective: The purpose of this study was to describe experiences of elderly caregivers who cared for elderly depressed patients. 

Methods: The participants consisted of ten elderly caregivers who cared for elderly depressed patients for more than six months. Data were collected by in-depth interviewed using semi structured questions for 45-60 minutes. Audio – tape interviews were transcribed verbatim.Data were analyzed using content analysis.

Results: Two themes meanings of caring experiences included 1) expression of concerning,
and 2) mutual encouragement. Three themes of caring experiences were: 1) Limited lifestyle
(social life, daily life, and adaptation to live with the patients), 2) Caring consequences (living
proud, being happy, feeling of high self-esteem, feeling discourage to care for, and increasing
closed relationship), 3) The expectation and needsof elderly caregivers (the expectation that elderly patients had better symptoms and be happy; the needs of elderly caregivers were the time to rest by having the helper switched the time to take care for the elderly depressed patients).

บทคัดย่อ
        การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้า ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้สูงอายุที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้า ที่ให้การดูแลเป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ทำการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 ราย โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ใช้แนวคำถามแบบกึ่งมีโครงสร้าง ใช้ระยะเวลาในการสัมภาษณ์ 45 - 60 นาที และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

        ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลได้ให้ความหมายของประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าว่าคือ 1) การแสดงความห่วงใย และ 2) การให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ส่วนประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้าแบ่งเป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การดำเนินชีวิตอย่างมีข้อจำกัด ประกอบด้วยการเข้าสังคม การใช้ชีวิตประจำวันและการปรับตัวในการใช้ชีวิตอยู่กับผู้ป่วย 2) สิ่งที่ได้จากการดูแลประกอบด้วย ความภูมิใจ ความสุขใจ รู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูง ท้อแท้ที่ต้องดูแล และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเพิ่มขึ้น และ 3) ความคาดหวังและความต้องการของผู้ดูแลวัยสูงอายุ ประกอบด้วย ผู้ดูแลคาดหวังให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและมีความสุข ส่วนความต้องการผู้ดูแลคือต้องการเวลาพักผ่อนโดยมีผู้ช่วยเหลือคอยสลับเปลี่ยนเวลาในการดูแล

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ณัฏฐ์กฤตา เชาวน์วรารักษ์, โรงพยาบาลปากท่อ จ.ราชบุรี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลปากท่อ จ.ราชบุรี

รังสิมันต์ สุนทรไชยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย