ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลับมารักษาซ้ำในผู้ป่วยจิตเภท: มุมมองผู้ป่วย FACTORS ASSOCIATED WITH READMISSION OF SCHIZOPHRENIA PATIENTS: PATIENT’S PERSPECTIVES

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ บุญเสริม โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์

คำสำคัญ:

Schizophrenia patients, Readmission, Factors, ผู้ป่วยจิตเภท, การกลับมารักษาซ้ำ, ปัจจัย

บทคัดย่อ

Objectives: This qualitative study aimed to study patients’ perspective on factors associated with readmission of schizophrenia patients.
Methods: Using purposive sampling, 6 schizophrenia patients who had the illness 1-5 years and more than 5 years and had been admitted to Songkhla Rajanagarindra psychiatric hospital at least 2 times during 1 October 2009 -30 September 2010 participated in the study. The study instrument was an in-depth interview questionnaire developed based on Fathy et al. concept (2006). The questionnaire was content validated by 3 experts. The questionnaire consisted of four aspects: illness perception, practice, attitude, and family relationship. Data were analyzed using content analysis.
Results: The finding showed that 66.7% of participants were male, had average age of 32.5 years old, and had elementary level of education. Participants perceived their illness.They performed self-care to prevent relapse by consuming medication. They had both positive and negative attitude toward illness. For the relation with family, serious fighting and abusing various substances were the causes of relapsing. Having occupation and earn their own income as well as joining activities with family members and communities were sources of their proudness.

Conclusion: This finding could be used to develop rehabilitation activities for patients before discharging.


วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการป่วยกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท ที่ต้องกลับมารักษาแบบผู้ป่วยในมุมมองของผู้ป่วยเองวิธีการศึกษา: เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทที่กลับมารักษาซ้ำแบบผู้ป่วยในของ       โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ 2 ครั้งขึ้นไประหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2552 – 30 กันยายน 2553 โดยมี ระยะเวลาของการเจ็บป่วยช่วง 1 – 5 ปี และ 5 ปี ขึ้นไป จำนวน 6 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ที่สร้างขึ้นเอง ตามกรอบแนวคิดของ Fathy et al. (2006) ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านการรับรู้ต่อการเจ็บป่วย ด้านการปฏิบัติตัวด้านทัศนคติ ด้านความสัมพันธ์ครอบครัววิเคราะห์ข้อมูลความสอดคล้องทางเนื้อหา

ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 66.7 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 32.5 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษา มีการรับรู้ตนเองต่อการเจ็บป่วย ด้านการปฏิบัติตัว มีการดูแลตนเองเพื่อป้องกันอาการกำเริบ โดยการรับประทานยา ด้านทัศนคติ มีทัศนคติในด้านบวกและลบ ด้านความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวพบว่า การทะเลาะวิวาทที่ รุนแรง และการใช้สารเสพติดหลายชนิดเป็นสาเหตุให้เกิดอาการกำเริบการประกอบอาชีพมีรายได้เป็นของตนเอง และกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัวและชุมชน ช่วยทำให้ผู้ป่วยจิตเภทรู้สึกภาคภูมิใจมากที่สุด

สรุป: ผลการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีการพัฒนาทักษะในการจัดกิจกรรมในการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล

Author Biography

กนกวรรณ บุญเสริม, โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์

Advance Practice Nurse  สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-05-31