ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติการยอมรับผู้ป่วยจิตเวชและการรับรู้ลักษณะ ผู้ป่วยจิตเวชกับพฤติกรรมการสื่อสารของครอบครัวผู้ป่วยจิตเวช RELATIONSHIPS BETWEEN ACCEPTANCE ATTITUDE TOWARD PSYCHIATRIC PATIENTS AND PERCEPTION TOWARD PSYCHIATRIC PATIENTS TO COMMUNICATION

Main Article Content

สิริกร สุธวัชณัฐชา

บทคัดย่อ

Objectives: The purposes of this descriptive research was to study relationships between acceptance attitude toward psychiatric patients and perception toward psychiatric patients to communication behaviors of family of psychiatric patients.

Methods: The sample of 304 family caregivers of psychiatric patients were purposively selected based on inclusion criteria. The research instruments composed of four parts:1) General information, 2) Family communication behaviors, 3) Family acceptance attitude and 4) Family perception toward psychiatric patients. Cronbach’s alpha coefficients were .80, .87 and .76 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficients.

Results: The results revealed that

1. Family communication behaviors were at moderate level. The mean scores of family acceptance attitudes were at a good level. The mean scores of family perception toward psychiatric patients were at moderate level.

2. Family acceptance attitude toward psychiatric patients had positive correlation to family communication behaviors, at a significant level of .01. Family perception toward psychiatric patients had positive correlation to family communication behaviors, at a significant level of .01.

Conclusion: The study resulted would serve as crucial information for educating family about communication behavior and enhancing family acceptance attitude toward psychiatric patients. This may result in better outcomes in psychiatric patients such as reduce or prevent the recurrence of psychiatric patients.


วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติการยอมรับของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวชและการรับรู้ต่อลักษณะของผู้ป่วยจิตเวชกับพฤติกรรมการสื่อสารในครอบครัวผู้ป่วยจิตเวช

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลหลักที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 304 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) พฤติกรรมการสื่อสารในครอบครัวผู้ป่วยจิตเวช 3) ทัศนคติการยอมรับของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวช และ 4) การรับรู้ของครอบครัวต่อลักษณะของผู้ป่วยจิตเวช จากการหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .80, .87 และ .76 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. พฤติกรรมการสื่อสารในครอบครัวผู้ป่วยจิตเวช ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางทัศนคติการยอมรับของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวชมีคะแนนรวมเฉลี่ย อยู่ในระดับดี การรับรู้ของครอบครัวต่อลักษณะของผู้ป่วยจิตเวชคะแนนรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง

2. ทัศนคติการยอมรับของครอบครัวต่อผู้ป่วยจิตเวชมีความสัมพันธ์ทางบวก กับ พฤติกรรมการสื่อสารในครอบครัวในผู้ป่วยจิตเวช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการรับรู้ต่อลักษณะของผู้ป่วยจิตเวชมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ พฤติกรรมการสื่อสารในครอบครัวในผู้ป่วยจิตเวช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สรุป: ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสารในครอบครัว การสร้างทัศนคติการยอมรับผู้ป่วยจิตเวชให้แก่ ครอบครัวผู้ป่วยจิตเวช เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารในครอบครัว และสร้างทัศนคติที่ดีในการยอมรับผู้ป่วยจิตเวช อันจะส่งผลดีต่อตัวผู้ป่วยจิตเวช สามารถช่วยลดหรือป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเวชได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สิริกร สุธวัชณัฐชา, คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา

อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา