ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคจิตเภท และใช้สารเสพติดในชุมชนเขตภาคกลาง SELECTED FACTORS RELATED TO HEALTH RELATED QUALITY OF LIFE OF PERSONS WITH SCHIZOPHRENIA AND SUBSTANCE USE DISORDER IN COMMUNITY, CENTRAL REGION
Main Article Content
บทคัดย่อ
Objectives: The objectives of this research were to study 1) health related quality of life of patient with schizophrenia and substance use disorder in community, and 2) the relationships between selected factors including gender, age, type of substance, daily consumption of cigarettes and cup of coffee, negative and positive symptoms, social support, family relationship, and drug adherence with health related quality of life.
Methods: A total of 160 persons with schizophrenia and substance use disorders,
who sought treatment at outpatient department of Saraburi hospital, Sena Hospital, Tharuea hospital, Sam Khok hospital, and Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry, were recruited according to the inclusion criteria. The research instruments were demographic questionnaire, substance use questionnaire, positive and negative syndrome scale, social support questionnaire, family relationship questionnaire, drug adherence questionnaire and SF-36. All instruments were tested for content validity. The six latter instruments had Cronbach’s alpha reliability coefficients as of .96, .96, .90, .84, .86, and .94, respectively. Statistic techniques utilized in data analysis were Frequency, Percentage, Mean, Standard deviation, One-way Analysis of Variance (ANOVA) and Pearson’s product moment correlation.
Results: Major finding of this study were as follows
1. Persons with schizophrenia and substance use disorders had score on health related quality of life by overall as well as all subscales in the good level.
2. Scores on health related quality of life of persons who used difference types of substance were significantly different at .05 level. Daily consumption cup of coffee, social support, family relationship, and drug adherence were significantly and positively related to health related quality of life at .05 level. In addition, positive symptoms and negative symptoms were significantly and negatively related to health related quality of life, Age, gender and daily consumption of cigarettes were not significantly related to health related of life at .05 level.
วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่ใช้สารเสพติดร่วม 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ เพศ ชนิดของสารเสพติด ปริมาณของกาแฟที่ดื่มในแต่ละวัน (จำนวนแก้ว) ปริมาณของบุหรี่ที่สูบต่อวัน (จำนวนมวน) อาการทางบวก อาการทางลบ การสนับสนุนทางสังคม สัมพันธภาพในครอบครัวและ พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษากับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่ใช้สารเสพติดร่วม
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่ใช้สารเสพติดร่วมขณะเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกคลินิกจิตเวชโรงพยาบาลสระบุรี โรงพยาบาลเสนา โรงพยาบาลท่าเรือ โรงพยาบาลสามโคก และแผนกผู้ป่วยนอกสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 160 คน ได้จากการคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกข้อมูลการใช้สารเสพติด 3) แบบประเมินอาการทางบวก 4) แบบประเมินอาการทางลบ 5) แบบสัมภาษณ์สัมพันธภาพใน ครอบครัว 6) แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม 7) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการใช้ยาตาม เกณฑ์การรักษา และ 8) แบบวัดคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ เครื่องมือทุกชุดได้ผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และเครื่องมือ 6 ชุดหลังมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .96, .96, .90, .84, .86, และ .94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการศึกษา: สรุปผลการวิจัยที่สำคัญ ได้ดังนี้
1. ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่ใช้สารเสพติดร่วมมีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพโดยรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับดี
2. ผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่ใช้สารเสพติดร่วมซึ่งใช้สารเสพติดต่างชนิดกันมีคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปริมาณกาแฟที่ดื่มในแต่ละวัน (จำนวนแก้ว) การสนับสนุนทางสังคมสัมพันธภาพในครอบครัว และพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อาการทางบวกและอาการทางลบ มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุ เพศ และปริมาณของบุหรี่ที่สูบต่อวัน (จำนวนมวน) ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย