การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทในโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ THE DEVELOPMENT OF SCHIZOPHRENIA CARE MODEL IN SAUNSARANROM PSYCHIATRIC HOSPITAL

Main Article Content

จลี เจริญสรรพ์

บทคัดย่อ

Objective: This study aimed to develop a care model for schizophrenia and to explore the effect of the developed schizophrenia care model. Methods: The study composed of 2 phases.The first phase was aimed to develop a care model for schizophrenia. The sample consisted of 24 committee of schizophrenia nursing care development. The second phase was aimed to study the effect of the developed schizophrenia care model. The purposive sample consisted of 114 nurses and 546 and 778 schizophrenia patients in fiscal years of 2013 and 2014 respectively. Instruments for data collection were the assessment form for clinical nursing practice guideline, the discharge planning record, registered form for patient’s follow up schedule and relapsing, and the record of the accessibility to health in community. The data were analyzed by frequencies, percentage, mean, standard deviation and content analysis.

Results:The developed care model composed of special clinic for schizophrenia, providing nursing care based on nursing practice guideline, care coordination, the accessibility to medication service in community and psychoeducation. Patients who were care based on the developed care model showed 3 times reduction in relapse rate and 2 times increasing in follow up rate and accessibility to treatment. Nurses also reported that the clinical nursing practice guideline and the discharge planning record were practical and easy to use.

Conclusion: The developed care model for schizophrenia patients can increase the efficiency and the continuity of care and nursing practice in the same direction.

วัตถุประสงค์: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท และศึกษา
ผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท

วิธีการศึกษา: เป็นวิจัยเพื่อพัฒนา มี 2 ระยะ คือ 1) พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการพัฒนางานการพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตเภทจำนวน 24 คน เลือกแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์
และ 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเจาะจง คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 114 คน ผู้ป่วยโรคจิตเภทในปีงบประมาณ 2556 จำนวน 546 คน และปีงบประมาณ 2557 จำนวน 778 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก แบบบันทึกการวางแผนจำหน่าย แบบบันทึกผู้ป่วยมาตามนัดและป่วยซ้ำและแบบบันทึกการเข้าถึงการรักษาด้วยยาในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

ผลการศึกษา: พบว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทฯ ประกอบด้วยคลินิกเฉพาะโรคจิตเภทดูแลผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกการประสานงาน บริการเข้าถึงการรักษาด้วยยาในชุมชน และสอนสุขภาพจิตศึกษา ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบฯ ที่พัฒนา มีจำนวนผู้ป่วยที่กลับป่วยซ้ำลดลง 3 เท่า มาตรวจตามนัดและเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น 2 เท่า พยาบาลมีความเห็นว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก และแบบบันทึกการวางแผนจำหน่ายใช้ได้ง่าย และสามารถปฏิบัติได้จริง

สรุป: การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยและการพยาบาลให้มีความต่อเนื่องไปในทิศทางเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

จลี เจริญสรรพ์, พยาบาลวิชาชีพชำานาญการพิเศษ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

พยาบาลวิชาชีพชำานาญการพิเศษ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์