ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล Factors Associated with Depression in Nursing Students

ผู้แต่ง

  • นฤมล สมรรคเสวี โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โสภิณ แสงอ่อน โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

Depression, Anxiety, Resilience, Nursing students, ภาวะซึมเศร้า, ความวิตกกังวล, ความแข็งแกร่งในชีวิต, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

Objectives: To study depression and factors associated with depression in nursing students.


Methods: The sample consisted of 812 nursing students from a nursing school in Bangkok. The purposive sampling was used to select the sample. The four instruments used to collect data in this study were: 1) Demographic Data Form; 2) The Resilience Inventory; 3) The State-Trait Anxiety Inventory; and 4) The Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale. Data were analyzed using descriptive statistics, Spearman rank correlation, and Chi-square test.

Results: Results showed that 12.19 % of nursing students had depression. Third year nursing students had the highest percentage of depression (24.5 %), followed by second, first, and fourth year nursing student (9.8 %, 8.9 %, 5.5 %, respectively). The results from correlation analysis revealed that factors negatively correlated to depression were sufficient income (r = -.144, p < .001), family atmosphere(r = -.157, p < .001), and resilience (r = -.478, p < .001) and factors positively correlated to depression were health status (r = .177, p < .001), and anxiety (r = .769, p < .001). Result from Chi-square analysis revealed that participation in exercise was associated with depression (χ2 = 5.005, p < .05).


Conclusion: This study suggested that the activities promoting resilience, reducing anxiety and enhancing family relationship in nursing students should be implemented. In addition, nursing students should be encouraged to exercise regularly as well as financial support should be provided in order to reduce depression in nursing students.

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล


วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลจากสถาบันการศึกษาพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 812 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 4 ส่วนได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต 3) แบบวัดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น และ4) แบบประเมินความวิตกกังวล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน และสถิติไคสแควร์    

ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 12.19 โดยนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 มีภาวะซึมเศร้ามากที่สุด คือ ร้อยละ 24.5 รองลงมาคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 4 โดยพบร้อยละ 9.8, ร้อยละ 8.9 และร้อยละ 5.5 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาลได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ (rs = -.144,p < .001) บรรยากาศในครอบครัว (rs = -.157,p < .001) และความแข็งแกร่งในชีวิต (rs = -.478,p < .001) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าได้แก่ ภาวะสุขภาพ (rs = .177,p < .001) และความวิตกกังวล (rs = .769, p < .001)
ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติไคสแควร์พบว่า การเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (χ2 = 5.005, p < .05).


สรุป: งานวิจัยครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิต ลดความวิตกกังวล และพัฒนาความสัมพันธ์ในครอบครัวให้นักศึกษาพยาบาล รวมทั้งควรกระตุ้นให้นักศึกษาพยาบาลมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีการสนับสนุนทุนการศึกษาให้นักศึกษาพยาบาลที่ขาดแคลน เพื่อช่วยลดภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล

Author Biographies

นฤมล สมรรคเสวี, โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

โสภิณ แสงอ่อน, โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-01-31