ปัจจัยทำนายอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภท PREDICTING FACTORS OF PSYCHIATRIC SYMPTOMS IN PERSONS WITH SCHIZOPHRENIA

Main Article Content

กชพร รัตนสมพร
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย
รัชนีกร เกิดโชค

บทคัดย่อ

Objective: The purposes of this descriptive research were to 1) study psychiatric symptoms of persons with schizophrenia, 2) determinepredicting power of the following factors which were marital status, self-care behavior, drug compliance behavior, stress coping, social support, family function and substance use on psychiatric symptoms of persons with schizophrenia.

Methods: Research subjects were 168 schizophrenic patients treated in the hospital under the mental health department. Research instruments divided into 8 parts: general information, self-care behavior, drug compliance behaviors, stress coping, social support, Chulalongkorn family inventory, family expressed emotion, and brief psychiatric rating scale. All instruments were tested for validity by 5 experts. The reliability with Chronbach’s alpha were .93, .84, .78, .91, .85, .90 and .74 respectively. Data were analyzed using mean, SD, and stepwise multiple regression.

Results: 1) The total mean score of psychiatric symptoms of persons with schizophrenia were at mild level ( = 52.96). 2) Factors significantly predicting psychiatric symptoms of persons with schizophrenia were marital status, self-care behavior, family expressed emotion and social support. These predictors jointly accounted for 22.2 percent of psychiatric symptoms of persons with schizophrenia (R²= .222).

วัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภท 2) เพื่อศึกษาของปัจจัยทำนายอาการทางจิตของผู้ป่วยจิตเภท ได้แก่ สถานภาพสมรส การใช้สารเสพติดพฤติกรรมการดูแลตนเอง พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ พฤติกรรมการเผชิญความเครียด การสนับสนุนทางสังคม การทำหน้าที่ของครอบครัวและการแสดงออกทางอารมณ์ในครอบครัว

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ว่าเป็นโรคจิตเภท ซึ่งมารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน และรักษาแบบผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตที่กลับเป็นซ้ำภายใน 6 เดือน จำนวน 168 คน ที่ได้จากการคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบประเมิน 8 ส่วนได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบวัดพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ แบบวัดพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดการทำหน้าที่ของครอบครัว แบบวัดการแสดงออกทาง
อารมณ์ในครอบครัว และแบบประเมินอาการทางจิต เครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของเครื่องมือทุกชุด ยกเว้นแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปมีค่าเท่ากับ .93, .84, .78, .91 ,.85, .90 และ .74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน

ผลการศึกษา: 1) ผู้ป่วยโรคจิตเภท มีอาการทางจิตรุนแรงระดับเล็กน้อย โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยของแบบประเมินอาการทางจิต (BPRS) เท่ากับ 52.96  2) ปัจจัยที่สามารถทำนายอาการทางจิตของู้ป่วยจิตเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05มีจำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ สถานภาพสมรส พฤติกรรมการดูแลตนเอง การแสดงออกทางอารมณ์ใน
ครอบครัว และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายอาการทางจิตได้ร้อยละ 22.2 (R² = .222)

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กชพร รัตนสมพร, สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองศาสตร์ตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัชนีกร เกิดโชค, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย