การติดตามผลการจัดระบบบริการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี ที่มีปัญหาพัฒนาการในโรงพยาบาลชุมชน ปีงบประมาณ 2557 TRACKING OUTCOMES OF DEVELOPMENT PROMOTION SERVICE SYSTEM FOR CHILDREN AT BIRTH TO 5 YEARS WITH DEVELOPMENTAL PROBLEM IN COMMUNITY HOSPITAL

ผู้แต่ง

  • พรพิมล ธีรนันทน์ สถาบันราชานุกูล
  • นิรมัย คุ้มรักษา สถาบันราชานุกูล
  • รัชดาวรรณ์ แดงสุข สถาบันราชานุกูล
  • ธัญหทัย จันทะโยธา สถาบันราชานุกูล
  • เอกชัย เกิดสวัสดิ์ สถาบันราชานุกูล

คำสำคัญ:

Intervention service program, Child with developmental problem service system management, Early intervention, การจัดระบบบริการ, เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการ

บทคัดย่อ

Objective: The purpose of this research was to study the outcomes of the development promotion service system for children at birth to 5 years with developmental problem in community hospital and to study developmental skills progression in children who received the service.

Methods: Samples consisted of 245 Public Health Officers in charge of child development promotion in 245 community hospitals and 1,693 delay developmental children at birth to 5 years who received developmental assessment at community hospitals during 1 October 2013 to 31 August 2014. Research tools used in this study were 1) Interview form for healthcare personnel regarding development promotion service system, 2) Skill assessment questionnaire for healthcare personnel on using manual of assessment and prevention of delay developmental in children (TDSI:70 questions), and 3) Report form regarding data on assessment and development promotion for children at birth to 5 years from 1 October 2013 to 31 August 2014. Data were analyzed by descriptive statistics. 

Results: The major results of this study were as follows.

1. The development promotion service system for children at birth to 5 years with developmental problem in community hospital involved 3 factors which were personnel, service area, and service system capacities. For personnel factor, most of community hospitals has only one nurse with a good level of assessment and promotion skill in charge for child development promotion (64.90%). For service area, 82.86% of community hospitals provide the service at Well Child Clinic. 63.67% had special area for providing the service, and 57.96% used TDSI (70 questions) for child development promotion. For service system capacities, 100% were able to diagnose and enhance delay child development. 79.18% used TDSI (70 questions). Ability to diagnose problem associated with delay development and disease coding are at the same ratio of 79.18%. 73.06 % had psychosocial care system. 83.27 % provided service area for enhancing intervention activity (space for toy and tale book. 78.85% had medication system. 77.96% had referral system between community hospital and community health centre and 84.90% had follow-up system.

2. The developmental skills progression of children at birth to 5 years with developmental problem who received the service in community hospital showed that 94.86% of children at birth to 5 years with developmental problem received the service and 80.51% showed improvement in their developmental skills. Nevertheless, language developmental skill showed no progression.

Conclusion: The development promotion service system for children at birth to 5 years with developmental problem in community hospital in fiscal year 2014 is in line with Child and Youth Mental Health Development Guideline for the Regional hospital, General hospital, Community hospital and Health center, Mental Health Department, Ministry of Public Health.

วัตถุประสงค์ : งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานการจัดระบบบริการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี ที่มีปัญหาพัฒนาการในโรงพยาบาลชุมชน และศึกษาความก้าวหน้าพัฒนาการของเด็กแรกเกิด - 5 ปี ที่มีปัญหาพัฒนาการที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชน

วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้คือ บุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบ/ปฏิบัติงานพัฒนาการ/ส่งเสริม/กระตุ้นพัฒนาการของโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 245 คน/245 แห่ง และเด็กแรกเกิด - 5 ปีที่มารับบริการประเมินพัฒนาการในโรงพยาบาลชุมชน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556– 31 สิงหาคม 2557 ซึ่งเป็นเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย จำนวน 1,693 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสัมภาษณ์บุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลชุมชน เรื่อง การจัดระบบบริการส่งเสริม/ กระตุ้นพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปีที่มีปัญหาพัฒนาการ 2) แบบประเมินทักษะการใช้คู่มือประเมินและป้องกันพัฒนาการเด็กล่าช้าวัยแรกเกิด - 5 ปี สำหรับบุคลากรสาธารณสุข(TDSI 70 ข้อ) 3) แบบรายงานผลการประเมินและกระตุ้นพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 – 31 สิงหาคม 2557 ของโรงพยาบาลชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา:
1. การจัดระบบบริการส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี ที่มีปัญหาพัฒนาการในโรงพยาบาลชุมชน แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ด้านบุคลากร ด้านสถานที่ และด้านขีดความ สามารถระบบบริการ สำหรับด้านบุคลากรพบว่าโรงพยาบาลชุมชนส่วนใหญ่มีพยาบาลเพียง 1 คนที่มีทักษะการประเมินและส่งเสริม/กระตุ้นพัฒนาการอยู่ในระดับดีเป็นผู้รับผิดชอบงานส่งเสริม/กระตุ้นพัฒนาการเด็ก ร้อยละ 64.90 สำหรับด้านสถานที่พบว่า ร้อยละ 82.86 ให้บริการส่งเสริม/ กระตุ้นพัฒนาการเด็กที่งานคลินิกสุขภาพเด็กดี ร้อยละ 63.67 มีสถานที่ให้บริการเฉพาะ และร้อยละ 57.96 มีเครื่องมือ TDSI 70 ข้อใช้ในการส่งเสริม/กระตุ้นพัฒนาการที่ครบถ้วนสำหรับด้านขีดความสามารถระบบบริการพบว่าร้อยละ 100 มีการตรวจวินิจฉัยและการบำบัดรักษา ร้อยละ 79.18 สามารถประเมินและส่งเสริมพัฒนาการได้โดยใช้เครื่องมือ TDSI 70 ข้อ ส่วน การวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องกับปัญหาพัฒนาการและลงรหัสโรค ดำเนินการได้เท่ากันคือร้อยละ79.18 ร้อยละ 73.06 มีระบบการดูแลทางสังคมและจิตใจ ร้อยละ 83.27 มีการจัดมุมกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ เช่น มุมของเล่น มุมนิทาน ฯลฯ ร้อยละ 78.85 มีระบบยา ร้อยละ 77.96 มีระบบการส่งต่อระหว่าง รพช. กับ รพ.สต. และร้อยละ84.90 มีระบบการติดตามดูแล

2. ความก้าวหน้าพัฒนาการของเด็กแรกเกิด - 5 ปี ที่มีปัญหาพัฒนาการที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชนพบว่า เด็กแรกเกิด – 5 ปี ที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการส่งเสริม/กระตุ้นพัฒนาการร้อยละ 94.86 โดยมีพัฒนาการก้าวหน้าร้อยละ 80.51 พัฒนาการที่ไม่ก้าวหน้าส่วนใหญ่เป็นปัญหาพัฒนาการด้านการใช้ภาษา

สรุป: การจัดระบบบริการส่งเสริม/ กระตุ้นพัฒนาการเด็กแรกเกิด - 5 ปี ที่มีปัญหาพัฒนาการในโรงพยาบาลชุมชน ปีงบประมาณ 2557 เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กและวัยรุ่น สำหรับ รพศ. รพท. รพช. และ รพ.สต. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Author Biographies

พรพิมล ธีรนันทน์, สถาบันราชานุกูล

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ สถาบันราชานุกูล

นิรมัย คุ้มรักษา, สถาบันราชานุกูล

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันราชานุกูล

รัชดาวรรณ์ แดงสุข, สถาบันราชานุกูล

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันราชานุกูล

ธัญหทัย จันทะโยธา, สถาบันราชานุกูล

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันราชานุกูล

เอกชัย เกิดสวัสดิ์, สถาบันราชานุกูล

นักวิชาการสถิติ สถาบันราชานุกูล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-01-31