การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมความพร้อมในการดูแลเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา THE DEVELOPMENT OF NURSING PRACTICE GUIDELINE OF PREPARATION FOR CARING CHILDREN WITH INTELLECTUAL DISABILITIES
Main Article Content
บทคัดย่อ
Objectives: The purposes of this research and development study were to develop the
nursing practice guideline for preparation of nurse in caring for children with intellectual
disabilities and to test effect of the developed nursing practice guideline on nurses’ knowledge, skills, and behaviors in caring for children with intellectual disabilities.
Methods: The guideline was developed based on the integration between Australian Clinical Practice Guidelines, nursing process and Developmental Screening Inventory (DSI). The study involved two phases which were 1) development of nursing practice guideline and validation of guideline content by experts and 2) evaluation of the effect of the developed guideline. The developed guideline was employed by 20 nurses for 1 month. Nurses’ readiness for caring for children with intellectual disabilities in terms of knowledge, skills, and behaviors were evaluated before and after using the guideline. Research instrument included personal information questionnaire and readiness for caring for children with intellectual disabilities questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics and t-test.
Results:
1) The content of the nursing practice guideline is valid. The Item Objective Congruence
(IOC) Coefficients ranged from 0.6 – 1.0. Four major content of the guideline were 1) health
assessment and the developmental task assessment, 2) nursing diagnosis and nursing care plan for promotion of child development,3) implementation of the care plan, and 4) outcome evaluation in term of progression of child development.
2) Result regarding the effectiveness
of the guideline revealed that mean scores of knowledge, skills and caring behaviors of nurses
after using the guideline were significantly higher than those before.
วัตถุประสงค์: การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมความพร้อมของพยาบาลในการดูแลเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา และศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลที่
พัฒนาขึ้นในด้านความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมการดูแลเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา
วิธีการศึกษา: การพัฒนาแนวปฏิบัติเป็นการบูรณาการแนวคิดการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกตามกรอบแนวคิดของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งประเทศออสเตรเลีย (NHMRC, 1998) ประยุกต์แนวคิดกระบวนการพยาบาล และแนวคิดการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการ Developmental Screening Inventory (DSI) มาเป็นกรอบในการกำหนดเนื้อหาของแนวปฏิบัติ งานศึกษาครั้งนี้ดำเนินงานใน 2 ระยะ คือ 1) การพัฒนาและจัดทำแนวปฏิบัติ (ฉบับร่าง) ตรวจความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และ 2) ทดสอบประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมความพร้อมในการดูแลเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา ด้วยการนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นไปให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยจำนวน 20 คน ทดลองใช้ รวมระยะเวลา 1 เดือนและประเมินความพร้อมของพยาบาลด้านความรู้ทักษะ และพฤติกรรมการดูแล ก่อนและหลังการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินความพร้อมของพยาบาลในการดูแลเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษา: แนวปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมความพร้อมในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาอยู่ระหว่าง .6 - 1.0 โครงสร้างเนื้อหาของแนวปฏิบัติประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1) การประเมินภาวะสุขภาพและพัฒนาการ ส่วนที่ 2) การวินิจฉัยและการวางแผนส่งเสริมพัฒนาการ ส่วนที่ 3) การปฏิบัติการพยาบาลด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ ส่วนที่ 4) การประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลด้านความก้าวหน้าของพัฒนาการ ส่วนการทดสอบประสิทธิผลของแนวปฏิบัติ พบว่าความพร้อมของพยาบาลในด้านความรู้ ทักษะการดูแลเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา ในระยะ หลังการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลสูงกว่าก่อนการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ความพร้อมของพยาบาลในด้านพฤติกรรมการดูแลเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา หลังการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติสูงกว่าก่อนการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย