ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบในการเผชิญปัญหากับภาวะสุขภาพจิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขต อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี THE RELATIONSHIP BETWEEN COPING STYLE AND MENTAL HEALTH OF JUNIOR HIGH SCHOOL STUDENTS IN MUANG DISTRIC, NONTHABURI PROVINCE

Main Article Content

เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์
สาริณี โต๊ะทอง
วรารัตน์ ประทานวรปัญญา

บทคัดย่อ

Objective: The purpose of this descriptive research was to study the relationship between coping style and mental health status of junior high school students in Muang district, Nonthaburi province.

Methods: Sample consisted of 122 junior high school students studying in a school in Muang district, Nonthaburi province including 45 first year junior high school students, 37 second year junior high school students, and 40 third year junior high school students. Research instruments were 1) demographic data questionnaire, 2) a coping abilities questionnaire of students, and 3) Thai General Health Questionnaire - 30 (Thai GHQ - 30). Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson product moment correlation coefficient.

Results: The study results can be concluded as follows:
1. Forty seven junior high school students (38.52%) were at risk in having mental health problems.
2. Coping styles of the junior high school students were not correlated with their mental health status.

วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเผชิญปัญหากับภาวะสุขภาพจิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

วิธีการศึกษา:กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี จำนวน 122 คน ประกอบด้วย นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 45 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 37 คน และชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 3 ชุด คือ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) แบบวัดรูปแบบในการเผชิญปัญหาของนักเรียน และ3) แบบประเมินปัญหาด้านสุขภาพจิต (Thai GHQ– 30) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการศึกษา:
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต มีจำนวนทั้งหมด 47 คน คิดเป็นร้อยละ 38.52
2. รูปแบบในการเผชิญปัญหาไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

อาจารย์ประจำภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

สาริณี โต๊ะทอง, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

อาจารย์ประจำภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

วรารัตน์ ประทานวรปัญญา, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

อาจารย์ประจำภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี