ทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกวัยเรียน SOCIAL SKILLS OF SCHOOL AGE CHILDREN WITH AUTISM SPECTRUM DISORDERS
Main Article Content
บทคัดย่อ
Abstract
Social skills deficit is a major problem of children diagnosed with Autism spectrum disorders, or we can call “Autistic children”. Although an early intervention for developmental promotion was provided to these children to improve their language skill, it was found that they need to return to the intervention process when they reach the school age (6-12 years) because of their social skills deficit, such as lacking skill to play with friends, failure to build relationship with teachers and peers, and having inappropriate social communication. The social skills deficit will have effect on children’s life and education which can lead to psychological and other developmental problems if these deficits were not resolved. Therefore, the objectives of this article were to present knowledge in relation to social skill deficit in autism, social skill training currently used, factors effecting social skills development in school age children with autism, as well as role of psychiatric nurse to enhance social skills of school age children with autism in order to help them live happily in society.
บทคัดย่อ
ความบกพร่องด้านทักษะทางสังคม เป็นปัญหาหลักที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยด้วยโรคออทิซึมสเปคตรัม หรือที่เรียกว่า เด็กออทิสติก แม้ว่าเด็กกลุ่มนี้จะได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตั้งแต่ยังเยาว์วัยจนมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีขึ้น แต่เมื่อเด็กออทิสติกเข้าสู่ช่วงวัยเรียน (6-12 ปี) มักต้องกลับเข้าสู่กระบวนการรักษาอีกครั้งด้วยปัญหาความบกพร่องด้านทักษะทางสังคม เช่น เล่นกับเพื่อนไม่เป็น ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับครูและเพื่อนได้ มีการสื่อสารทางสังคมที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น ความบกพร่องด้านทักษะทางสังคมนี้จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการเรียนของเด็กกลุ่มนี้ ซึ่งถ้าไม่ไ่ด้ร้บการแก้ไขจะนำไปสู่ปัญหาทางจิตใจและพัฒนาการด้านอื่น ๆ ดังนั้นบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับความบกพร่องด้านทักษะทางสังคม การฝึกทักษะทางสังคมที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างทักษะทางสังคมในเด็กออทิสติกวัยเรียน รวมทั้งบทบาทของพยาบาลจิตเวชในการดูแลเด็กออทิสติกวัยเรียนให้มีทักษะทางสังคมที่ดีขึ้น อันนำไปสู่การอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขของเด็กออทิสติกต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย