การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลนิติจิตเวช THE DEVELOPMENT OF FORENSIC PSYCHIATRIC NURSING STANDARDS OF PRACTICE

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ สามสาลี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
  • อุทยา นาคเจริญ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
  • เพ็ญพรรณ์ ชิตวร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
  • ภาวินี บุตรแสน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

คำสำคัญ:

Standard of practice, Forensic psychiatry, Nursing, มาตรฐานการปฏิบัติ นิติจิตเวช การพยาบาล

บทคัดย่อ

Abstract


Objective:The objective of this study was to develop the forensic psychiatric nursing standards of practice.

Methods: The development of the forensic psychiatric nursing standards of practice is based on the framework of secondary and tertiary Standard of Nursing and Midwifery Service Organization 2005 together with review of the literatures relating to forensic psychiatric nursing. The Delphi Technique was utilized in this study to gather experts’ opinion towards developing forensic psychiatric nursing standards of practice. Regarding the number of experts, thirteen experts were invited to validate the content of the forensic psychiatric nursing standards of practice. The sample consisted of 60 staff nurses from 3 Psychiatric Hospitals. Purposive sampling technique was used among 1) 30 staff nurses who are working in forensic psychiatric services, and 2) 30 staff nurses who are working in psychiatric services. The different mean percentages of working routine according to the standard of forensic psychiatric nursing service between two groups of participants were analyzed.                             

Results:The findings showed 3 forensic psychiatric nursing standards of practice including 1) The forensic psychiatric nursing standards of practice according to Civil and Commercial Code with 8 sub-standards, 2) The forensic psychiatric nursing standards of practice according to Criminal Code with 9 sub-standards, and 3) The forensic psychiatric nursing standards of practice in terms of risk assessment and social safety with 9 sub-standards. Staff nurses who are working in forensic psychiatric services had the mean scores of the standard of forensic psychiatric nursing service higher than the mean scores of staff nurses who are working in psychiatric services (p < .01).The forensic psychiatric nursing standards of practice is valid and can be implemented for forensic psychiatric patient care.

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลนิติจิตเวช

วิธีการศึกษา: การวิจัยพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลนิติจิตเวชครั้งนี้อาศัยแนวคิดมาตรฐานบริการการพยาบาลและผดุงครรภ์ระดับทุติยภูมิและระดับตติยภูมิของสำนักการพยาบาล พ.ศ. 2548 แนวคิดกระบวนการพยาบาลและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยนำเทคนิคเดลฟายมาใช้ในการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 13 ท่าน กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวช จำนวน 3 แห่ง รวมทั้งสิ้นจำนวน 60 คน คัดเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 พยาบาลวิชาชีพที่กำลังปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยนิติจิตเวชจำนวน 30 คน และ กลุ่มที่ 2 พยาบาลวิชาชีพที่กำลังปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 30 คน วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ร้อยละและทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติกิจกรรมตามมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลนิติจิตเวชระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม                                                                                      

ผลการศึกษา:มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลนิติจิตเวช ประกอบด้วย 3 มาตรฐานหลัก ได้แก่ 1)มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลนิติจิตเวชด้านการประเมินความสามารถของบุคคลในการดำเนินชีวิตประจำวันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน 8 มาตรฐานย่อย 2) มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลนิติจิตเวชด้านการประเมินความสามารถของบุคคลในการต่อสู้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 14 จำนวน 9 มาตรฐานย่อยและ3) มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลนิติจิตเวชด้านการประเมินภาวะอันตรายและความปลอดภัยต่อสังคมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48 จำนวน 9 มาตรฐานย่อย โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่กำลังปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยนิติจิตเวชมีคะแนนเฉลี่ยทั้งกิจกรรมการพยาบาลและผลลัพธ์ที่คาดหวังสูงกว่ากลุ่มที่กำลังปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลนิติจิตเวชฉบับนี้เป็นมาตรฐานที่มีความตรง สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อดูแลผู้ป่วยนิติจิตเวชได้จริง

Author Biographies

เบญจวรรณ สามสาลี, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

อุทยา นาคเจริญ, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

เพ็ญพรรณ์ ชิตวร, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

ภาวินี บุตรแสน, พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-08-30