ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า* FACTORS RELATED TO RESILIENCE AMONG OLDER PERSONS WITH MAJOR DEPRESSIVE DISORDER

ผู้แต่ง

  • อรุณลักษณ์ คงไพศาลโสภณ พยาบาลวิชาชีพ รพ.หัวเฉียว
  • รังสิมันต์ สุนทรไชยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

Resilience, Older persons, Major depressive disorder, ความเข้มแข็งทางใจ ผู้สูงอายุ โรคซึมเศร้า

บทคัดย่อ

Abstract

Objectives: To examine resilience among older persons with major depressive disorder,and to investigate relationships between gender, marital status, chronic illness, family income, functional ability, cognitive function, hopelessness, social support, depression and resilience.

Methods: A descriptive correlational research was used. The sample consisted of 165 older persons diagnosed with major depressive disorder, by using a random sampling at the psychiatric out patient. Research instruments were 1) Mini-mental status examination 2) Thai Geriatric depression scale 3) The personal questionnaire 4) Connor-Davidson resilience scale questionnaire 5) Late–Life function instrument 6) Geriatric hopelessness scale and 7) The personal resource questionnaire. The content validity index of the instruments (4,5,6 7) were .84, .81, .88 and .96 respectively and Cronbach’s alpha reliability of the instruments (1,2,4,5,6 and 7) were .74 , .85, .89 , .79 , .88 and .82 respectively. Data were analyzed by descriptive statistics, Point Biserial Correlation, Spearman Rank Correlation and Pearson’s Product Moment Correlation.

Results: 1. Older persons with major depressive disorder had mean score of resilience was at the low level ( = 64.79, SD = 17.63)

2. Gender, marital status, chronic illness and family income did not correlate with resilience.

3. Late-life function, cognitive function and social support had significant positively correlated with resilience (r = .301, r = .172, r = .456, p <.05) 4. Hopelessness and depression had significant negatively correlated with resilience at the significant level of .01 (r = -.510, r = -.367, p <.01)

Conclusion: To promote resilience of old persons with major depressive disorder, the research enhanced functional ability, social support and decreasing hopelessness and depression were managed to.

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ สถานภาพสมรส การเจ็บป่วยเรื้อรัง รายได้ครอบครัว ความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้สูงอายุ ความสามารถในการรู้คิด ความสิ้นหวัง การสนับสนุนทางสังคมและภาวะซึมเศร้ากับความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า

วิธีการศึกษา:การวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงอายุแผนกผู้ป่วยนอกจำนวน 165 ราย ได้รับการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น 2) แบบวัดความเศร้าของผู้สูงอายุไทย3) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 4) แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ 5) แบบประเมินความสามารถของผู้สูงอายุ 6) แบบวัดความสิ้นหวังของผู้สูงอายุ 7) แบบวัดการสนับสนุนทางสังคมโดยมีดัชนีความตรงของ แบบวัดที่ 4,5,6 และ 7เท่ากับ .84, .81, .88 และ .96 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงของแบบวัดที่ 1,2,4,5,6 และ 7 เท่ากับ .74 , .85, .89 , .79 , .88 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล สถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมนและสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05

ผลการศึกษา:

1. ผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า มีความเข้มแข็งทางใจระดับต่ำ ( = 64.79, SD = 17.63)

2. เพศ สถานภาพสมรส การเจ็บป่วยเรื้อรังรายได้ครอบครัวต่อเดือนไม่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งทางใจ

3. ความสามารถในการทำหน้าที่ ความสามารถการรู้คิดและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าที่ระดับ .05 (r = .301, .172, .456) ตามลำดับ

4. ความสิ้นหวังและภาวะซึมเศร้า มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเข้มแข็งทางใจของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า ที่ระดับ .01 (r = -.510, r = -.367) ตามลำดับ

สรุป: การส่งเสริมความสามารถในการทำหน้าที่ ความสามารถการรู้คิด การสนับสนุนทางสังคม การลดความสิ้นหวังและภาวะซึมเศร้าสามารถเพิ่มความเข้มแข็งทางใจให้แก่ผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าได้

Author Biographies

อรุณลักษณ์ คงไพศาลโสภณ, พยาบาลวิชาชีพ รพ.หัวเฉียว

พยาบาลวิชาชีพ รพ.หัวเฉียว

รังสิมันต์ สุนทรไชยา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-08-30