ผลของโปรแกรมการบำบัดแบบบูรณาการต่อพฤติกรรมการดื่มสุราและอาการทางจิต ในผู้ป่วยสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวช THE EFFECT OF THE INTEGRATED PROGRAM ON DRINKING BEHAVIOR AND PSYCHOTIC SYMPTOMS IN ALCOHOL USE DISORDERS WITH CO-OCCURRING DISORDERS PATIENTS
Main Article Content
บทคัดย่อ
Abstract
Objectives: To determine the effect of Integrated Program on drinking behaviors and psychotic symptoms in alcohol use disorders with co-occurring disorders patients.
Methods:Subjects for this Quasiexperimental research were 100 psychiatric patients with alcohol use disorder, based on ICD 10, who were admitted in a psychiatric hospital in Bangkok during 1 March to 30 April, 2012. Subjects were randomly assigned into experimental and control group with 50 subjects for each group. The experimental group received Integrated Program including 18 sessions within 2 weeks, while the control group received usual nursing care. Research instruments used in this study were AUDIT, QOL, and Brief Psychotic Rating Scale (BPRS). Data were analyzed by descriptive statistics and repeated measure ANOVA.
Results:At the end of the program, there were 43 patients in experimental group and 29 patients in control group. Before experiment, both groups had similar drinking behavior and psychotic symptoms. At 1, 2, and 3 month after the end of the program, the experimental group had significantly lower drinking behavior and psychotic symptoms than those of control group at p<.001.
Conclusion:This program can reduce drinking behavior and psychotic symptoms of alcohol use disorders with co-occurring disorders patients. Therefore, this program can be used to prevent relapse in this group of patients.
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการบำบัดแบบบูรณาการต่อปริมาณการดื่มสุราและอาการทางจิตของผู้ป่วยสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวช
วิธีการศึกษา การวิจัยกึ่งทดลองนี้กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเวชที่เกี่ยวข้องกับสุรา ตามเกณฑ์วินิจฉัยโรคICD-10 ที่รับไว้แบบผู้ป่วยใน ณ โรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม - 30 เมษายน 2555 จำนวน 100 คน สุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 50 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมบูรณาการการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยสุราและสารเสพติดที่มีโรคร่วมทางจิตเวช (ICOD-R) จำนวน 18 ครั้ง ใน 2 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดคุณภาพชีวิต ฉบับสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาแบบวัดพฤติกรรมการดื่มสุรา (ชื่อเต็ม AUDIT)ขององค์การอนามัยโลก แบบประเมินอาการทางจิต(Brief Psychotic Rating Scale : BPRS) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา ร้อยละและrepeated measure ANOVA
ผลการศึกษา เมื่อสิ้นสุดการทดลอง กลุ่มทดลองมี 43 คน กลุ่มควบคุม 29 คน ก่อนได้รับโปรแกรม ระดับปริมาณการดื่มสุราและอาการทางจิตเฉลี่ยของทั้ง 2 กลุ่มใกล้เคียงกัน หลังรับโปรแกรม ฯ กลุ่มทดลองมีคะแนนปริมาณการดื่มสุราและคะแนนระดับอาการทางจิตต่ำกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังทดลอง 1,2 และ 3 เดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p <.001
สรุป โปรแกรมการบำบัดแบบบูรณาการ สามารถลดปริมาณการดื่มและอาการทางจิตเวชในผู้ป่วยสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวชได้ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการป่วยซ้ำได้
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมพยาบาลจิตเวชแห่งประเทศไทย