ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental design) แบบสองกลุ่มวัดสองครั้ง ก่อนและหลังการทดลอง (Pre Test-Post Test Static Group Comparison Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 33 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 33 คน ศึกษาระหว่างเดือน ตุลาคม – ธันวาคม 2559 กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษา เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบให้มีการเรียนการสอนตามปกติ รวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานเปรียบเทียบภายในกลุ่มด้วย Paired t-test เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วย Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05
ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องโรคเอดส์ ทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้ในตน ความสามารถด้านการคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ความสามารถด้านการสื่อสารเพื่อป้องกันโรคเอดส์ และความตั้งใจที่จะกระทำในการป้องกันโรคเอดส์ สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (P-value<0.01)
โดยสรุปโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดอุบลราชธานี มีประสิทธิผล สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 นำไปขยายผลสู่กลุ่มนักเรียนในระดับเดียวกันได้
Article Details
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใดๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัยราชธานี บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิดขึ้น จากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
ทรงพล ต่อนี, จุฑามาศ เทพชัยศรี และเฉลียว ผลพิกุล. (2555). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ทักษะชีวิต ที่มีต่อทักษะชีวิตในการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียน.วารสารคณะพลศึกษา, 15 (ฉบับพิเศษ), 316-322.
ภัทรภร สุราเสถียรกุล. การเสริมสร้างทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการกลุ่ม และการเสริมแรงเพื่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 8(2), 126-178.
โรงพยาบาล ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ. สรุปผลการพัฒนางานสาธารณสุขอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: โรงพยาบาล ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกรณ.
วราภรณ์ บุญเชียง, วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์, วารุณี ฟองแก้ว, และพิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น. (2556). ความรู้ เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และเจตคติต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารสภาการพยาบาล, 28(1),124-137.
วันวิสาข์ บัวลอย และคณะ. (2555). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม RamaNurs J, 20(1),127-142.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). การสำรวจพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
Souksamone Thongmixay และรุจิรา ดวงสงค์ (2556). ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคเอดส์ในนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนแห่งหนึ่งในนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6 (2) ,80-88.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2554). สถานการณ์และแนวโน้มอนามัยการเจริญพันธุ์วัยรุ่นและเยาวชนและนโยบายกระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ วันที่ 15 มีนาคม 2559, จาก http://rh.anamai.moph.go.th/
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ภาควิชาสถิติและ ประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
อานนท์ พลแสน. (2551). การประยุกต์โปรแกรมสุขศึกษาด้านทักษะชีวิตเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนมัธยม ในอำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อัญชลี ภูมิจันทึก. (2554). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการประยุกต์ใช้การเสริมสร้างทักษะชีวิตกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อุษา หีดนาคราม. (2558). ผลของการพัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้ปกครองต่อการสื่อสารเรื่องการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีระหว่างผู้ปกครองกับบุตรวัยรุ่นตอนต้น. พยาบาลสาร. 42 (ฉบับพิเศษ),163-179.
Caplan, G. (1974). Support systems and community mental health. New York: Behavioral Publication.
Kahn, R. (1979). Aging and social support. In M.W. Riley (Ed.), Aging from birth to death: Interdisciplinary perspectives,189-199.
Orem, D.E. (1995). Nursing : Concept of practice. New York : Appleton and Lange, 1995.