ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการคงอยู่ของนักศึกษาพยาบาลที่ศึกษา ในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

วราลักษณ์ เมืองซอง
ณัฐริกา เพ็ญวิเชียร
ณัฐวิภา ราชาฐา
ทิพย์สุคนธ์ บัวกอ
วรรณภา ถิ่นอำนาจ
ธนบูรณ์ บุทฤทธิ์
ธัญวลัย มะณีวงษ์
ธนัญญา ประไพเพชร
ศศิวิภา ศรียัง
ทศา ชัยวรรณวรรต

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการคงอยู่ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 243 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบขั้นปฐมภูมิ (Stratified Random Sampling) ใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามปัจจัยในการเรียนคณะพยาบาลศาสตร์ และแบบสอบถามการคงอยู่ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ในการศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01


          ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยในการเรียนในคณะพยาบาลศาสตร์ ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.06, S.D. = 0.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านความรักในวิชาชีพพยาบาลอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D. = 0.57) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านสัมพันธภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.10, S.D. = 0.55) และปัจจัยด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.96, S.D. = 0.47) การคงอยู่ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ในการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.17, S.D. =0.51) ปัจจัยในการเรียนในคณะพยาบาลศาสตร์ทั้ง 3 ด้าน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการคงอยู่ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ในการศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยด้านสัมพันธภาพมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก (r = 0.75) รองลงมา คือ ด้านความรักในวิชาชีพพยาบาล มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก (r = 0.73) และปัจจัยด้านสุดท้าย คือ ด้านเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.52) ซึ่งผลการศึกษาเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย

Article Details

How to Cite
เมืองซอง ว., เพ็ญวิเชียร ณ., ราชาฐา ณ., บัวกอ ท., ถิ่นอำนาจ ว., บุทฤทธิ์ ธ., มะณีวงษ์ ธ., ประไพเพชร ธ., ศรียัง ศ., & ชัยวรรณวรรต ท. (2019). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการคงอยู่ของนักศึกษาพยาบาลที่ศึกษา ในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี. ราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 1(3), 62–76. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JRIHS/article/view/212253
บท
บทความวิจัย

References

ธนพล บรรดาศักดิ์, กนกอร ชาวเวียง, และนฤมล จันทรเกษม. (2560). ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(1), 357-369.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพฯ: วิทยาออฟเซทการพิมพ์.

บงกชพร ตั้งฉัตรชัย. (2554). ปัจจัยทํานายการคงอยูในงานของพยาบาลวิชาชีพ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลศูนย์ เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระทรวงสาธารณสุข. วารสารสภาการพยาบาล, 26(4), 43-45.

พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ์ และเบญจวรรณ พิททาร์ต. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับ คุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารเกื้อการุณย์, 23(1), 7-20.

พัชรี กระจ่างโพธิ์, สถาพร กลางคาร และ ศิริมา เขมะเพชร. (2559). ปัจจัยในการเลือกสถาบันการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 8(2), 161-167.

เพียงใจ เวชวงศ์. (2556). การคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล, ประณีต ส่งวัฒนา, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, วารุณี ฟองแก้ว, วรรณี เดียวอิศเรศ, ศิริอร สินธุ และ นันทพันธ์ ชินลํ้าประเสริฐ. (2555). ความสุขเกิดจากใจรักในวิชาชีพและการช่วยเหลือผู้ป่วย.วารสารสภาการพยาบาล, 27(4), 26-42.

ศิริพร แสงศรีจันทร์, พยาม การดี, กันยา นันต๊ะแก้ว และรัตนา ทาสิทธิ์. (2556). เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนิสิต กระบวนการเรียนการสอน ปัจจัยเกื้อหนุน กับความสุขของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 1(2), 1-9.

สุดท้าย ชัยจันทึก, เทพศักดิ์ บุญยรัตพันธุ์, อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี และ อัญชนา ณ ระนอง. (2560). การพัฒนารูปแบบการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาของภาครัฐในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 14(65), 173 - 192.

อนัญญา คูอาริยะกุลม, วราภรณ์ ยศทวี, นัยนา อินธิโชติ, วิภาวรรณ นวลทอง และวีระยุทธ อินพะเนา. (2552). เจตคติต่อวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลบรมราชชนี อุตรดิตถ์. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 6(1), 18-26.

อมรรัตน์ ศรีคำสุข ไซโตะ. (2554). ความสุขของนักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณทิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 34(2), 70-79.

อัศวินี นามะกันคำ, ชาลินี สุวรรณยศ, พจนีย์ ภาคภูมิ และ วราวรรณ ภูมิคำ. (2551). ความเครียดและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดของนักศึกษาพยาบาลในการฝึกปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วย. พยาบาลสาร, 35(2), 26-36.

Allen, N. J. and Meyer, J. P. (1990). The Measurement and Antecedents of Affective, Continuance and Normative Commitment to the Organization. Journal of Occupational Psychology, (63), 1-18.

Hirschi, T. (1996). Causes of delinquency. Berkeley, CA: University of California Press.

Mathis, R.L. and Jackson, J.H. (2006). Human resource management. 12th ed. United States of America: Tomson.