ประสิทธิผลของโปรแกรมกลุ่มการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลผู้สูงอายุ ที่มีความผิดปกติทางจิตจากกลุ่มโรคสมองเสื่อม

Main Article Content

อัชรา ฦๅชา, พย.บ.
สุบิน สมีน้อย, ศษ.ม.
วิภาดา คณะไชย พย.บ.
สาคร บุบผาเฮ้า พย.บ.
รัชชะฎา ธารจันทร์ พย.บ.

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมกลุ่มกำรเสริมสร้างพลังอำนาจ ในผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มี ความผิดปกติทางจิตจากกลุ่มโรคสมองเสื่อม
วัสดุและวิธีการ: เป็นกำรวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดซ้ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีอำการทางจิต จากกลุ่มโรคสมองเสื่อมที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์กำหนด คัดเลือกแบบสุ่ม กลุ่มทดลองจำนวน 20 คน ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้ำงพลังอำนำจ 4 ขั้นตอน ดำเนินกิจกรรมทุก 1 สัปดาห์ จำนวน 4 คร้ังๆ ละ 60-90 นาทีและกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน ได้รับบริการปรึกษาและบำบัดทางจิตสังคมตามปกติ เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมินพลังอำนาจและแบบประเมินการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิตเชิง พรรณนา การวิเคราะห์ ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) และการิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียวแบบวัดซ้ำ (Repeated measures ANOVA)
ผล: พบว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมกลุ่มการเสริมสร้างพลังอำนาจ มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้พลังอำนาจ และคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการปรึกษา และบำบัดทางจิตสังคมตำมปกติอย่างมีนัยสำคัญทำงสถิติ ในระยะติดตาม 1 เดือน พบว่าทั้งสองกลุ่ม มีแนวโน้มคะแนนเฉลี่ยพลังอำนาจแห่งตนลดลง คิดเป็นร้อยละ 1.00 และ 9.30 ตำมลำดับ ส่วนแนวโน้ม คะแนนค่ำเฉลี่ยการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 3.50 และ 6.50 ตามลำดับ
สรุป: โปรแกรมกลุ่มการเสริมสร้างพลังอำนาจสามารถเพิ่มพลังอำนาจและความสามารถในการปฏิบัติการ ดูแลผู้สูงอายุ เพิ่มสูงขึ้น ได้   ทีมสุขภาพสามารถนำ ไปใช้เป็นแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลเป็นระยะๆ และต่อเนื่องให้เกิดความมั่นใจและมีกำลังใจในกำรปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

เอกสารอ้างอิง

ปราโมทย์ ประสาทกุล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. พริ้นเทอรี่ มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม, 2560.

ประภาพร มโนรัตน์, กฤษณะ คำฟอง, วรพล แวงนอก และ พรฤดี นิธิรัตน์.

การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไทยพุทธในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท: กรณีศึกษาบ้านนาโปร่งตำาบลท่าเสา อำาเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 2559; 8 (2): 96-111.

โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. รายงานประจำปี 2562.โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์, 2562.

อาทิตยา สุวรรณ์. บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35 (1): 6-15.

Cheryl H Gibson. The process of empowerment in mothers of chronically ill children. J of Advanced Nursing 1995; 21: 1201-1210.

วิภา เพ็งเสงี่ยม, พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, วาสนา พงษ์สุภษะ และ ศิริรัตน์ จูมจะนะ.การพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมพลังอํานาจของผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียงในชุมชน 2560; 18 (3): 82-95.

ภาวดี เหมทานนท์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับมุมมองเชิงบวกต่อการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ป่วยสมองเสื่อม 2561;

(2): 163-175.

Yoon H. K. and Kim G. S. An empowerment program for family caregivers of people with

dementia. Public Health Nursing 2020; 37(2): 222-233.

อุบล ไตรถวิล .ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลต่อความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุติดเตียง

อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561; 8(

: 268-280.

วิภา เพ็งเสงี่ยม, พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์ และ ปัญจภรณ์ ยะเกษม.ผลของโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจต่อการรับรู้พลังอำนาจ

และการปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน.วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2558; 8 (1): 152-165.

สุภาพร แนวบุตร.ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยในครอบครัว.

วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2558; 8 (4): 30-40.

Erik Walter, Martin Pinquart, How effective are dementia caregiver interventions? An updated comprehensive meta-analysis. The Gerontologist 2019;XX(XX): 1–11.doi:10.1093/geront/gnz118.

Dickinson C, Dow J, Gibson G, Hayes L, Robalino S, & Robinson L. Psychosocial intervention for carers of people with dementia: What components are most effective and when? A systematic review of systematic reviews. International Psychogeriatrics 2017; 29(1): 31–43. doi: 10.1017/S1041610216001447

รุ่งนภา อุดมลาภ. บทบาทพยาบาลในการลดภาระของผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารพยาบาลทหารบก 2562; 20 (2): 26-32.

สาธิดา แรกคำนวณ และ พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย.ปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซม์เมอร์และภาระการดูแลของผู้ดูแลที่แผนกจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2555; 57(3):335-346.

อังคณา ศรีสุข และ จิราพร เกศพิชญวัฒนา. ประสบการณ์ชีวิตของบุตรชายที่เป็นผู้ดูแลบิดา

มารดาสูงอายุภาวะพึ่งพิง. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2562, 31(2) : 72-84.