การฟื้นฟูสมรรถภาพหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ผู้แต่ง

  • ณัชชา ตระการจันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • พัศจีพร ยศพิทักษ์ แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การฟื้นฟูสภาพ, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, โรคข้อเข่าเสื่อม

บทคัดย่อ

            โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เป็นโรคเรื้อรังที่มีการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ โรคนี้ทำให้เกิดอาการปวดข้อ ข้อฝืดแข็ง ข้อบวมและผิดรูป มีเสียงในข้อในขณะเคลื่อนไหว องศาการเคลื่อนไหวของข้อลดลง ความมั่นคงของข้อเสียไป กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อเข่าขั้นรุนแรงจนมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน มีหัวเข่าโกงงอผิดรูปส่งผลให้เดินไม่สะดวก และข้อเข่าไม่มั่นคง จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หลังผ่าตัดผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพและการบริหารข้อเข่าอย่างถูกต้องจากทีมสุขภาพ ซึ่งการฟื้นฟูสมรรถภาพและการบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัด แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะแรกหลังผ่าตัด (หลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรกจนถึงหลังผ่าตัด 6 สัปดาห์), ระยะกลาง (ระหว่างปลายสัปดาห์ที่ 6 – สัปดาห์ที่ 12), และระยะยาว (หลังผ่าตัด 3 เดือนเป็นต้นไป) ซึ่งการเพิ่มความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายโดยการเหยียดและงอเข่า จะมีการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ดีที่สุดในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด และการฟื้นฟูสมรรถภาพภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดจะสามารถลดอาการปวด เพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ และลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลได้ การฟื้นฟูจะเน้นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา การเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อขา และการเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าเทียม ป้องกันภาวะข้อเข่าติดแข็งและภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน ซึ่งในปัจจุบัน มีการใช้เครื่องช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข่าอย่างต่อเนื่อง (Continuous passive motion machine) เข้ามาช่วยเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า และการกระตุ้นไฟฟ้าประสาทกล้ามเนื้อ (Neuromuscular electrical stimulation) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่า ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเดินได้เร็วและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

ณัชชา ตระการจันทร์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี

อาจารย์

พัศจีพร ยศพิทักษ์, แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

นักกายภาพบำบัดชำนาญการ

References

กิตติ โตเต็มโชคชัยการ, ไพจิตต์ อัศวธนบดี, ทัศนีย์ กิติอำนวยพงษ์. Rheumatology for the Non-Rheumatologist. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทซิตี้ปริ้นจำกัด; 2551.

นงพิมล นิมิตรอานันท์. สถานการณ์ทางระบาดวิทยาและการประเมินความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมในคนไทย. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15:185-94.

สุวรรณี สร้อยสงค์ , อังคณา เรือนก้อน , ภัณฑิรชา เฟื่องทอง, สระทอง. ผ. การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562;33(2):107-210.

Vincent KR, Conrad BP, Fregly BJ, Vincent HK. The pathophysiology of osteoarthritis: a mechanical perspective on the knee joint. PM R. 2012;4(5 Suppl):S3-9.

วิไลวรรณ ทองเจริญ. การพยาบาลกลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ. ใน วิไลวรรณ ทองเจริญ , บรณาธิการ. ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

กีรติ เจริญชลวานิช. ศัลยศาสตร์บูรณาสภาพข้อเข่าเสื่อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิริราช; 2559.

สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2553. แนวทางเวชปฏิบัติการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม (Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee). พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพฯ; 2553.

วิไล คุปต์นิรัติศัยกุ . การฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. ใน: อดิศร ภัทราลูลย์และคณะ, บรรณาธิการ. แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคข้อเข่าเสื่อม พศ 2554. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยแพทย์ ออรโธปิดิกส์แห่งประเทศไทย; 2554.

Labraca NS, Castro-Sanchez AM, Arrocha GAM, Arroyo-Morales M, del M, Joya MS et al. Benefits of starting rehabilitation within 24 hours of primary total knee arthroplasty: randomized clinical trial. Clinical Rehabilitation. 2011;25:557-66.

Avelloni A, Piazzi M, Raffini M, Faenza I, Blalock WL. Prohibitin 2: At a communications crossroads.UBMB Life 2015;67:239-54.

Herbold JA, Bonistall K, Blackburn M. Effectiveness of continuous passive motion in an inpatient rehabilitation hospital after total knee replacement: a matchedcohort study. PM R 2012;4:719-25.

กรดา ผึ่งผาย, วริษฐา กังธีรวัฒน์, ระพีพัฒน์ นาคบุญนำ. การใช้เครื่องช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข่าอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. เวชบันทึกศิริราช 2562;12(2): 116-121.

พนิดา ไชยมิ่ง. ผลของการกระตุ้นไฟฟ้าประสาทกล้ามเนื้อ ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่า และประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

Wu, B. The stages of osteoarthritis of the knee [Internet]. 2016 [cited 2020 July 8] Available from: https://www.medicalnewstoday.com/articles/310579

พัชรพล อุดมเกียรติ. การรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยการผ่าตัด [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึง เมื่อ 7 ก.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=854

วรรณี สัตยวิวัฒน์. การพยาบาลออร์โธปีดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 6 . กรุงเทพฯ: เอ็นพีเพรส; 2551.

เลิศศิลป เอี่ยมพงษ์. งานพัฒนาคุณภาพนวัตกรรม “ไอแอม” เพิ่มองศาข้อเข่าหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วชิรสารการพยาบาล. 2560;19(2):45-51.

Musumeci G, Mobasheri A, Trovato FM, Szychlinska MA, Imbesi R, Castrogiovanni P. Post-operative rehabilitation and nutrition in osteoarthritis. F1000Research 2016;3:1-16.

นลินทิพย์ ตำนานทอง. การฟื้นฟูสภาพหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม. ใน: สุรศักดิ์ นิลกานุวงศ์, สุรวุฒิ ปริชานนท์, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอส.พี.เอ็น.การพิมพ์; 2548.

ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล, สุวรรณี สร้อยสงค์, บุศริน เอี่ยวสีหยก. การพยาบาลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2561; 29 (1):223-238.

อารี ตนาวลี. เรื่องที่ต้องรู้หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. ฉะเชิงเทรา: 99 กรุ๊ป เทรดดิ้ง เซ็นเตอร์; 2553.

rehabilitation Guidelines for Unilateral total knee arthroplasty (TKA) (online) . แหล่งที่มา :https://www.thompsonhealth.com/Portals/0/_RehabilitationServices/PT%20Mgmt%20of%20Knee/TKAGuidelines.pdf ค้นวันที่ 30 เมษายน 2563.

Total Knee Arthroplasty Protocol Copyright © 2012 The Brigham and Women's Hospital, Inc., Department of Rehabilitation Services. (online) . แหล่งที่มาhttps://www.brighamandwomens.org/assets/bwh/patients-and-families/rehabilitation-services/pdfs/knee-tkr-protocol-bwh.pdf ค้นวันที่ 30 เมษายน 2563.

สดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์ประทีป, วิภา แซ่เซี้ย, เนตรนภา คู่พันธวี. ผลของการจัดการความปวดแบบประคบเย็นร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายต่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารสภาการพยาบาล 2555; 27(3): 77-90.

ทาริกา บุญประกอบ. ปัจจัยคัดสรรค์ที่มีความสำพันธ์กับการฟื้นตัวหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในผู้สูงอายุ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

ยุพดี ฟู่สกุล. เครื่องช่วยเดิน. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2560; 61(2): 139-153.

อัญญาณี สาสวน, ธนิดา ผาติเสนะ. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอานาจที่มีต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน”. 2558:110-9.

รัศมี เกตุธานี, วันเพ็ญ วรามิตร, อนุชา ไทยวงษ์, กัญญาพัชร เบ้าทอง. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความสามารถในการงอข้อเข่าในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2561;15:133-43

มนทกานต์ ยอดราช, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมร่วมกับการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความรู้และความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2014;23(3):63-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-04