การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมในการสอบความรู้รวบยอด ทางการพยาบาล รายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ของสถาบันพระบรมราชชนก ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การศึกษานำร่อง
คำสำคัญ:
การเตรียมความพร้อม, การเรียนรู้แบบผสมผสาน, สถานการณ์จำลองเสมือนจริง, จิตตปัญญาศึกษา, กระบวนการปลูกดีเอ็นเอของนวัตกร, การพยาบาลผู้ใหญ่, ผลการสอบความรู้รวบยอดทางการพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเตรียมความพร้อมในการสอบความรู้รวบยอดทางการพยาบาลรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ของสถาบันพระบรมราชชนก ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 สร้างรูปแบบการเตรียมความพร้อมโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ระยะที่ 2 ศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยการศึกษานำร่องกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 64 คน ระยะที่ 3 พัฒนารูปแบบจากข้อคิดเห็นจากอาจารย์และนักศึกษา ระยะที่ 4 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบทดสอบวัดความรู้รวบยอดรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ของสถาบันพระบรมราชชนก เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบที ค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบ “BS-Model” ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การเรียนรู้แบบผสมผสาน (B) ประกอบด้วยการสรุปเนื้อหาตามขอบเขตของสภาการพยาบาล การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับชั้นเรียน การสอนเสริมโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ และการทำแบบฝึกหัดท้ายระบบ กิจกรรมที่ 2 การฝึกทักษะรวบยอดโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงตามแนวคิดของเจฟฟรีย์ (S) ประกอบด้วยการเตรียมการและการดำเนินการสอนในขั้นนำ ขั้นปฏิบัติตามสถานการณ์และขั้นสรุปการเรียนรู้ ผลการศึกษานำร่องพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยผลการสอบวัดความรู้รวบยอดทางการพยาบาลรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ของสถาบันพระบรมราชชนกก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ทั้งนี้อาจารย์และนักศึกษามีความคิดเห็นว่าควรเพิ่มเติมกิจกรรมของรูปแบบ โดยเพิ่มกิจกรรมที่ 3 และ 4 ได้แก่ การเรียนรู้โดยใช้จิตตปัญญาศึกษาและกระบวนการปลูกดีเอ็นเอของนวัตกร ตามลำดับ เรียกว่า “BSCI-MODEL” และผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบพบว่าความเหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความพร้อมของนักศึกษา มีความถูกต้องครอบคลุมเชิงทฤษฎี และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ได้จริงในทุกกิจกรรมสอดคล้องกับแนวคิดการวิจัย
References
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. ตัวชี้วัดแผนงานสร้างความเข้มแข็งการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาบัณฑิตมีคุณภาพ แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2563. 2563:33.
ศรินรัตน์ วัฒนธรนันท์, นันทิยา แสงทรงฤทธิ์. ผลของกิจกรรมเสริมทักษะต่อความรู้ และความมั่นใจของนักศึกษาพยาบาลในการขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาล ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก 2560;18(1):157-166.
พิสิษฐ ตัณฑวานิช. แนวคิดการจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูมและคณะฉบับปรับปรุง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 2557-2558;3(2):13-25.
นงณภัทร รุ่งเนย, กฤษณา หงส์ทอง, จันทร์จิรา สีสว่าง. กระบวนการพัฒนาความรู้ของนักศึกษาพยาบาลเพื่อสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2559;32(2):56-67.
พรทิพย์ อนันตกุล, วรรณจรีย์ มังสิงห์, ทัศนีย์ บุญเติม, ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง. รูปแบบการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นเพื่อพัฒนาความพร้อมในการสอบความรู้เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. วารสารศึกษาศาสตร์ 2554;34(3-4): 31-39.
อนุรี ชาญธวัชชัย, มนสภรณ์ วิทูรเมธา. ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมการสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และการพยาบาลผู้สูงอายุและความพึงพอใจที่มีต่อโปรแกรมการเตรียมของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต 2560;11(2):92-106.
ธนวันต์ ศรีอมรรัตนกุล, จันทร์เพ็ญ นิลวัชรมณี, จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร, มัตถก ศรีคล้อ, อุไร นิโรธนันท์, จิตรลดา ศรีสารคาม. ผลการเตรียมความพร้อมเพื่อสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต่อความพร้อมและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2560;33(2):43-53.
จัณทร์ปภัสร์ เครือแก้ว, สุรีย์พร กฤษเจริญ, จตุพร ช้างพลาย. ผลของการทบทวนความรู้ก่อนสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต่อการสอบผ่านในรายวิชาการผดุงครรภ์ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2562;39(2):1-12.
สุกิจ ทองพิลา, ประไพจิตร โสมภี. ประสิทธิผลโปรแกรมพัฒนาจิตเพื่อลดความเครียดในนิสิตพยาบาลที่เตรียมความพร้อมเพื่อสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น 1 ของสภาการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2557;7(4):64-77.
ปณิตา วรรณพิรุณ. การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา 2554;1(2):43–9.
ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหาและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ครุศาสตร์.[วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2557.
นภดล เลือดนักรบ. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2561.
Jeffries PR. A framework for designing, implementing, and evaluating simulations used as teaching strategies in nursing. Nurs Educ Perspect 2005;26(2):96-103.
Gates MG, Parr MB, Hughen JE. Enhancing nursing knowledge using high-fidelity simulation. J Nurs Educ 2012;51(1):9-15. doi:10.3928/01484834-20111116-01.
Liaw SY, Scherpbier A, Rethans JJ., Klainin-Yobas, P. Assessment for simulation learning outcomes: a comparison of knowledge and self-reported confidence with observed clinical performance. Nurse Educ Today 2012;32(6): e35-39. doi: 10.1016/j.nedt.2011.10.006.
สมจิตต์ สินธุชัย, กันยารัตน์ อุบลวรรณ. การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง: การนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน. วารสารพยาบาลทหารบก 2560;18(1):29-38.
Reese CE, Jeffries PR, Engum SA. Learning together: Using simulations to develop nursing and medical student collaboration. Nursing education perspectives 2010;31(1):33-7.
พนารัตน์ วิศวเทพนิมิตร, อุบล สุทธิเนียม, จันทร์จิรา เกียรติสี่สกุล. การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงในการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวต่อความพึงพอใจและความมั่นใจในตนเองในการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2560;35(2):224-234.
ชุติกาญจน์ ฉัตรรุ่ง, เรวดี ศรีสุข, จันทร์ฉาย มณีวงษ์, พิศิษฐ์ พลธนะ. การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่เพื่อการสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. เมืองสุพรรณบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี; 2563. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารราชภัฏสกลนคร 2553; 2(4):1-15.
Cohen J. A power primer. Psychological Bulletin 1992;112(1):155-9.
Burns N, Grove SK. The Practice of Nursing Research, Conduct, Critique, and Utilization. 4th Ed, Philadelphia: W.B. Saunders Company; 2001.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. การกำหนดขนาดตัวอย่างและสถิติวิเคราะห์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจ, 25 สิงหาคม 2555 ณ เซ็ลทรัลเวิลด์ ราชประสงค์. กรุงเทพฯ. การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2555 Twilight program. 2555.
Finn CE. A meta-evaluation in International. Journal of Education Research 1997;27(2):159-174.
Hart T. Opening the Contemplative Mind in Classroom. Journal of Transformative Education 2004; 2(1):28-46.
ศิริรัตน์ จำปีเรือง, อมรรัตน์ วัฒนาธร, พูลสุข หิงคานนท์, วารีรัตน์ แก้วอุไร. การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกระบวนการสุนทรียสนทนาสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ 2556;15(3):9-15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9