ประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในเขตสุขภาพที่ 9
คำสำคัญ:
การประเมินผล, สารไอโอดีน, หญิงตั้งครรภ์, เขตสุขภาพที่ 9บทคัดย่อ
ที่มา โรคขาดสารไอโอดีนพบได้ทุกกลุ่มอายุ แต่การขาดสารไอโอดีนในระยะตั้งครรภ์จะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองและการเจริญเติบโตของทารก
วัตถุประสงค์ ประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ ตามยุทธศาสตร์การดำเนินงานปี 2557-2559 ทั้ง 4 ด้านคือ สภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต
วิธีดำเนินการ ใช้แบบจำลองซิป (CIPP Model) ในการประเมินผล โดยสัมภาษณ์ผู้บริหาร 64 คน ผู้ปฏิบัติ 71 คน หญิงตั้งครรภ์รายเก่าที่ฝากครรภ์ในโรงพยาบาลหรือคลินิกของรัฐบาลและเอกชน 446 คน โรงงานผลิตอาหารสัตว์ 14 แห่ง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน–พฤศจิกายน 2558 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์บุคลากรสาธารณสุขที่เป็นผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ ผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์ และหญิงตั้งครรภ์ แบบทดสอบความรู้และทัศนคติหญิงตั้งครรภ์มีค่าความเชื่อมั่น 0.76 และ 0.78 ตามลำดับ สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman’s Correlation)
ผลการศึกษา 1) สภาพแวดล้อม การขาดสารไอโอดีนยังเป็นปัญหาสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศเสนอให้เกลือเสริมไอโอดีนถ้วนหน้าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่ทำให้เกิดการบริโภคไอโอดีนอย่างเพียงพอ มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้เกลือบริโภคทุกชนิดทั้งที่ใช้บริโภคและใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหาร น้ำปลา น้ำเกลือปรุงอาหาร และผลิตภัณฑ์ปรุงรสมีปริมาณไอโอดีนตามกฎหมาย 2) ปัจจัยนำเข้า ผู้บริหารทุกระดับสนับสนุนการดำเนินงาน มีการถ่ายทอดยุทธศาสตร์จนถึงระดับตำบล แต่งบประมาณ บุคลากรและวัสดุไม่เพียงพอ 3) กระบวนการ ทุกพื้นที่ดำเนินการเกลือเสริมไอโอดีนถ้วนหน้า รณรงค์ประชาสัมพันธ์ บริหารจัดการและสร้างความเข้มแข็งภาคีเครือข่าย เฝ้าระวัง และมาตรการยาเม็ดเสริมไอโอดีน ส่วนการวิจัยพัฒนาดำเนินการเพียงจังหวัดเดียวใน 4 จังหวัด เนื่องจากผู้ปฏิบัติมีภาระด้านงานบริการ โรงงานผลิตอาหารสัตว์ 1 แห่งจาก 14 แห่งใช้เกลือเสริมไอโอดีนเป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์ ที่เหลือใช้สารไอโอดีนผสมในสูตรอาหาร 4) ผลผลิต หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เรื่องโรคขาดสารไอโอดีนระดับดีร้อยละ 56.1 และปานกลางร้อยละ 39.0 มีทัศนคติอยู่ในระดับดีร้อยละ 87.9 ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนร้อยละ 86.5 ที่ไม่ได้รับเนื่องจากฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชน กลุ่มที่ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนรับประทานยาทุกวันร้อยละ 94.8 ค่ามัธยฐานระดับไอโอดีนในปัสสาวะอยู่ในเกณฑ์ปกติคือเท่ากับ 155.7 ไมโครกรัมต่อลิตร พบหญิงตั้งครรภ์ได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอร้อยละ 47.5 ได้รับเพียงพอร้อยละ 25.8 ได้รับเกินพอร้อยละ 16.8 และเกินขนาดร้อยละ 9.9 ครัวเรือนหญิงตั้งครรภ์ใช้เกลือเสริมไอโอดีนได้มาตรฐาน (20-40 ppm) ร้อยละ 86.2 คุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนครัวเรือนหญิงตั้งครรภ์และระดับไอโอดีนในปัสสาวะไม่มีความสัมพันธ์กัน (r=0.47)
วิจารณ์และสรุป ยุทธศาสตร์มีความเหมาะสมแต่ควรเน้นการดำเนินงานเชิงคุณภาพ ควรขยายผลมาตรการยาเม็ดเสริมไอโอดีนในโรงพยาบาลหรือคลินิกเอกชน ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา ควรมีบทบาทในการศึกษาวิจัยรวมทั้งพัฒนาระบบเฝ้าระวังการได้รับสารไอโอดีนเกิน สำนักงานเขตสุขภาพที่ 9 ควรสนับสนุนเชิงนโยบายและงบประมาณ
References
Li M, Eastman CJ. The changing epidemiology of iodine deficiency. Nat Rev Endocrinol 2012;8:434–40.
Hetzel BS. Eliminating iodine deficiency disorders--the role of the International Council in the global partnership. Bull World Health Organ 2002;80(5):410-7.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์. [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 1]. เข้าถึงได้จาก: http://nutrition.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/nutrition/main.php?filename=iodine
WHO, UNICEF, ICCIDD. Assessment of iodine deficiency disorders and monitoring their elimination: a guide for program managers. 3(rd) ed. Geneva : WHO; 2007. [cited 2020 Aug 1]. Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/43781/9789241595827.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. แนวทางการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.
กระทรวงสาธารณสุข คลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กลุ่มรายงานมาตรฐาน/งานโภชนาการ. [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 1]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=46522b5bd1e06d24a5bd81917257a93c.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. แนวทางการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทสามเจริญ (กรุงเทพฯ) จำกัด; 2558.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน(กันยายน 2557-ธันวาคม 2558). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2558.
Stufflebeam DL. CIPP EVALUTION MODEL CHECKLIST 2nd ed. A tool of applying the CIPP Model to assess long-term enterprise. [cited 2020 Aug 1]: Available from: http://www.wmich.edu/sites/defult/files/attachments/u350/2014/cippchecklist_mar07pdf.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. รายงานการประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ ครั้งที่1/2559. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ) จำกัด; 2560.
Daniel WW. Biostatistics: Basic concepts and methodology for the health sciences. 9th ed. Asia: John Wiley & Sons, Inc; 2010.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. โครงการเฝ้าระวังโรคขาดสารไอโอดีนแบบบูรณาการปี 2557. [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 1]. เข้าถึงได้จาก: http://nutrition.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/nutrition/ewt_news.php?nid=85.
Bloom B. Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw- Hill; 1971.
Likert R. The Human Organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill; 1967.
สมศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์, แสงโสม สีนะวัฒน์, ณรงค์ สายวงศ์. ประเมินสถานการณ์การควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนเพื่อคุณภาพชีวิตคนไทย พ.ศ. 2554 – 2556. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2554;20(2):386-96.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน (กรกฎาคม 2555-กันยายน 2557). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย; 2557.
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128 ตอนพิเศษ 41 ง วันที่ 7 เมษายน 2554 เรื่อง เกลือบริโภค. [เข้าถึงเมื่อ 2558 พฤศจิกายน 1]. เข้าถึงได้จาก: http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P-021.pdf.
เขตสุขภาพที่ 9 กระทรวงสาธารณสุข. แผนเขตสุขภาพที่ 9 ฉบับที่ 2 (2557-2560) [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 1]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.71.139/group_sr/allfile/1579890532.pdf.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. ผลการสำรวจเกลือเสริมไอโอดีนในระดับครัวเรือนทดสอบโดยใช้ I-Kit. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก: http://nutrition.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/nutrition/main.php?filename=iodine.
WHO Resolution. “WHA58.24. Sustaining the elimination of iodine deficiency disorders,” in Proceedings of the Fifty- Eighth World Health Assembly, Geneva, Switzerland, May 2005.
สมพงษ์ ชัยโอภานนท์. การวิจัยประเมินผลโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข 2560;40(3):100-114.
รัตนาภรณ์ เฉลิมศรี, อดิศร วงศ์คงเดช, ธีรศักดิ์ พาจันทร์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงวัยเจริญพันธุ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลนาโพธิ์ อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2562;8(1):68-74.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0891.3/ว 73 ลงวันที่ 14 มกราคม 2557. [เข้าถึงเมื่อ 2563 สิงหาคม 1]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thongthinlaws.com/2015/02/0891373-14-57-15000.html?m=0
สุนทร ยนต์ตระกูล, ชมนาถ แปลงมาลย์. รูปแบบการพัฒนาแก้ไขปัญหาขาดสารไอโอดีนแบบมีส่วนร่วม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557;23:2252-61.
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133 ตอนพิเศษ 306 ง วันที่ 26 ธันวาคม 2559 เรื่อง กำหนดวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ ปริมาณการใช้ และเงื่อนไขในการห้ามผลิต นำเข้า หรือขายอาหารสัตว์ พ.ศ. 2559. [ สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2559]. แหล่งที่มา https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20170607235137_file.pdf
Friedrich S., Rajkumar R., Iodine in Farm Animals. In: Victor R. Preedy, Gerard N. Burrow and Ronald Watson, editors, Comprehensive Handbook of Iodine. Oxford: Academic Press;2009. [cited 2020 Aug 1]. Available from: file:///D:/BACK_UP_62/Downloads/ComprehensiveBookOnIodinech016.pdf
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. แนวทางการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.
อุษณา ตัณมุขยกุล, สุรสันต์วิเวกเมธากร, ยศ ตีระวัฒนานนท์. การสํารวจการสั่งจ่ายวิตามินและเกลือแร่เสริมแก่หญิงไทยมีครรภ์. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2554;5(1): 40-6.
ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2559 วันที่ 7 เมษายน 2559. [เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2559]. เข้าถึงได้จากhttp://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/service_plan.pdf.
การประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 6. ความเชื่อมโยงด้านอาหารสู่ความมั่นคงด้านโภชนาการ; วันที่ 10-12 กันยายน 2555; ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมนานาชาติ ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย; 2555.
Eastman CJ, Zimmermann MB. The iodine deficiency disorders. in Endotext (Internet). MDText.com, Inc., South Dartmouth, MA, USA:2018. [cited 2020 Jul 28]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK285556.
Katagiri R, Yuan X, Kobayashi S, Sasaki S. Effect of excess iodine intake on thyroid diseases in different populations: A systematic review and meta-analyses including observational studies. PLoS One 2017; 12(3): e0173722. [cited 2020 Jul 28]. Available from: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0173722.
สุภาภัค สิงห์เสนา, เบญจา มุกตพันธุ์. ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2558;12(3):161-72.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9