การศึกษามลพิษอากาศและการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากเตาเผามูลฝอย

ผู้แต่ง

  • สุกานดา พัดพาดี ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี
  • พนิตา เจริญสุข กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • วาสนา ลุนสำโรง กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

มลพิษอากาศ, การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ, เตาเผามูลฝอย

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Study) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปริมาณและการกระจายตัวของมลพิษอากาศจากเตาเผามูลฝอย 2) ศึกษาการรับรู้ผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนโดยรอบเตาเผามูลฝอย 3) ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน 4) เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและประชาชนในชุมชน พื้นที่ศึกษาได้แก่พื้นที่ตั้งเตาเผามูลฝอยที่มีการผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า จำนวน 2 แห่งในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดสงขลา วิธีการศึกษา 1) ตรวจวัดคุณภาพอากาศในชุมชน และในสถานประกอบการ (Indoor Air) 2) สัมภาษณ์ประชาชนที่อาศัยโดยรอบในรัศมี 5 กิโลเมตรถึงการรับรู้ถึงผลกระทบต่อการดำรงชีวิต 3) สัมภาษณ์พนักงานที่ปฏิบัติงานจำนวนแห่งละ 30 คน 4) นำข้อมูลปริมาณความเข้มข้นของสารมลพิษอากาศมาประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัส ผลการศึกษาพบว่าปริมาณและการกระจายตัวของสารมลพิษอากาศโดยรอบชุมชนมีค่าของสารไดออกซินเพียงชนิดเดียวในพื้นที่จังหวัดสงขลามีปริมาณความเข้มข้นระหว่าง 0.037-0.17 pq-TEQ/m3) สำหรับการตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในสถานประกอบการที่ปฏิบัติงาน 3 จุดได้แก่หน้าจุดป้อนเชื้อเพลิง ห้องควบคุม และห้องสำนักงาน พบว่าปริมาณความเข้มข้นของสารโลหะหนัก และค่าสารอินทรีย์ระเหยง่าย มีค่าตรวจวัดที่พบแต่ไม่เกินมาตรฐาน และนำค่าปริมาณความเข้มข้นของสารมลพิษที่มีการตรวจพบมาประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ พบว่าในจังหวัดภูเก็ต พบเฉพาะสารอินทรีย์ระเหยง่าย มีค่าความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวจากการรับสัมผัสเบนซีนของผู้ปฏิบัติงานในจุดป้อนเชื้อเพลิง ห้องควบคุมระบบและในห้องสำนักงานคือ 8.88 x 10-6, 1.53 x 10-5 และ 1.38 x 10-5 ตามลำดับ ซึ่งมีค่ามากกว่า 1 x 10-6 ถือว่าเป็นค่าความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ สำหรับจังหวัดสงขลาพบความเสี่ยงต่อสุขภาพเฉพาะในห้องสำนักงาน จากแคดเมียมซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งกระดูก และนิเกิลซึ่งมีผลต่อการเกิดมะเร็งปอด พบว่ามีความเสี่ยง 8.79 x 10-5 และ 1.23 x 10-3  ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ ประกอบกับข้อมูลพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวเองในขณะปฏิบัติงานทั้งสองพื้นที่มีค่าเพียง 50-55% ที่ใช้อุปกรณ์ปิดจมูก และการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสมลพิษอากาศของประชาชนทั้งสองพื้นที่พบว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพในระดับที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามประชาชนทั้งสองพื้นที่พบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เตาเผามูลฝอยจะได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในระยะไกลออกไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ผลกระทบที่พบมากที่สุดคือการได้รับความเดือดร้อนรำคาญ เรื่องกลิ่นเหม็นและฝุ่นละออง  

References

1. กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ; 2560.
2. กรมควบคุมมลพิษ. คุณภาพอากาศบ่อขยะสมุทรปราการ. วารสารข่าวสารอากาศและเสียง. [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2560];7(1):23. เข้าถึงได้จาก: http://www.pcd.go.th/count/airdl.cfm?FileName=AirNews57_1.pdf&BookName=AirNews.
3. กรมควบคุมมลพิษ. Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ฉบับผ่านความเห็นชอบจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ; 2557.
4. Fiedler Heidelore. National and regional dioxin and furan inventories. Geneva, Switzerland: UNEP Chemicals; 1999.
5. Behnisch, PA; Jones, KC; Hagenmaie, H; Alcock, RE. Dioxin-like PCBs in the environment - human exposure and the significance of sources. Chemosphere; 1998.
6. Franchini, M et al. Health effects of exposure to waste incinerator emission : a review of epidemiological studies. Ann 1st Super Sanita 2004; 40 (1) : 101-115.
7. จุฬาลักษณ์ โกมลตรี. การคำนวณขนาดตัวอย่าง. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2555;20(3):192-198.
8. ตติยาภรณ์ วรวงศ์ไกรศรี และโสภิตสุดา ทองโสภิต. การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในประเทศไทย กรณีศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต. วารสารวิจัยและพลังงาน 2554;8(3):47-57.
9. National Institute for Occupational Safety and Health. Manual of analytical methods, no.7300: ELEMENTS by ICP (Nitric/Perchloric Acid Ashing). 4th ed. Cincinnati, OH: NIOSH; 2003.
10. National Institute for Occupational Safety and Health. Manual of analytical methods, no.6009: Mercury. 4th ed. Cincinnati, OH: NIOSH; 1994.
11. National Institute for Occupational Safety and Health. Manual of analytical methods, no.1501: hydrocarbon, aromatic. 4th ed. Cincinnati, OH: NIOSH; 2003.
12. National Institute for Occupational Safety and Health. OSHA Occupational Chemical Database: Report Page. Occupational Safety & Health Administration [OSHA] [Internet]. 2018. [cited 14 Jan 2018.]. Available from: https://www.osha.gov/chemicaldata.
13. Environmental Protection Agency. Risk assessment guidance for super-fund volume i: human health evaluation manual (Part F, Supplemental Guidance for Inhalation Risk Assessment). Washington D.C: Office of Emergency and Re medial Response; 2009.
14. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2538) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกาศในกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 52ง. วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2538.
15. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 28 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนพิเศษ 58ง วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2550.
16. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 24 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 104 ง. วันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2547.
17. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 33 เรื่องกำหนดมาตรฐานค่าก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยทั่วไป ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 114ง วันที่ 14 สิงหาคม 2547.
18. คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 36 เรื่อง กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ์ในบรรยากาศโดยทั่วไป ออกตามความใน พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนพิเศษ 37ง วันที่ 24 มีนาคม 2553.
19. Environmental Management Bureau. Manual for examining Dioxins in ambient air; 2008.
20. Canadian Council of Ministers of the Environment. Canada – Wide Standards for Dioxin and Furans (Endorsed April 30-May 1, 2001, Winnipeg). [Internet]. 2001 [cited 14 Jan 2019]. Available from: https://www.ccme.ca/files/Resources/air/dioxins_furans/waste_incinerators_coastal_pulp/d_and_f_standard_e.pdf.
21. Ministry of the Environment Government of Japan. (1999). Environmental Quality Standards in Japan: Environmental Quality Standards for Dioxins (Notification on December 27, 1999). Available from: https://www.env.go.jp/en/air/aq/aq.htm.
22. U.S. Environmental Protection Agency. Integrated Risk Information System: IRIS Assessment: List A to Z. Integrated risk information for ehtylbenzene [Monograph on the internet] Washington, DC: U.S. Environmental Protection Agency [Internet]. 1992 [cited 2016 Dec 6]. Available from: https://cfpub.epa.gov/ncea/iris_drafts/AtoZ.cfm.
23. Pastorelli G., De Lauretis R., De Stefanis P., Morselli L. and Viviano G. PCDD/PCDF from municipal solid waste incinerators in Italy: an inventory of air emissions. Organohalogen Compounds 1991;41:495-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30