ปัจจัยทำนายการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวและชุมชนกับการเลิกเสพสารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีน โรงพยาบาลหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การสนับสนุนทางสังคม, ครอบครัวและชุมชน, เมทแอมเฟตามีน, การเลิกสารเสพติดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเลิกเสพสารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีน ของผู้มารับบริการ โรงพยาบาลหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เสพสารเสพติดประเภทเมท แอมเฟตามีนที่มารับการบำบัดโรงพยาบาลหนองกี่ จำนวน 147 ราย เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา แบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลระหว่าง 1- 30 กันยายน 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เข้ารับการบำบัด การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวและชุมชน และการเลิกเสพสารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีน โดยมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวด้านการยอมรับและเห็นคุณค่า การเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว การสนับสนุนทางสังคมของชุมชนด้านการยอมรับและเห็นคุณค่า มีความสัมพันธ์กับการเลิกเสพสารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.84, r = 0.57 , r = 0.64 p < 0.001 ตามลำดับ) โดยพบว่า สามารถร่วมกันทำนายการเลิกเสพสารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีนได้ คิดเป็นร้อยละ 51.00 (R2adj = 0.51, p < 0.001)
สรุป การแสดงความเห็นใจในการเข้ารับการบำบัดเสพสารเสพติดจะช่วยสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวด้านอารมณ์ของผู้เข้ารับการบำบัด เป็นปัจจัยที่จำช่วยให้ผู้ติดสารเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีนสามารถเลิกเสพได้สำเร็จ
References
2. คำสั่งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ ที่ 3/2561. แผนป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเร่งด่วน (อินเตอร์เนต).2561 (เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2559). เข้าถึงได้จาก www.nccd.go.th/upload/ news/2(29).pdf.
3. สังคม ตัดโส. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 : ศึกษาจากผู้ต้องขังในทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง(วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยามหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2541.
4. มานพ คณะโต. โครงการศึกษาสถานการณ์และการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ขอนแก่น : เครือข่ายพัฒนาวิชาการและข้อมูลสารเสพติด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551
5. อัครพล คุรุศาสตรา. แนวทางการดำเนินงานยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สำนักบริหารการสาธารณสุข; 2559.
6. วัชรี แก้วงาม. ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวและชุมชนกับพฤติกรรมการเลิกเสพยาบ้าของวัยรุ่นในค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในจังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.
7. โรงพยาบาลหนองกี่. รายงานประจำปีโรงพยาบาลหนองกี่. บุรีรัมย์: โรงพยาบาลหนองกี่; 2562.
8. Yamane Taro. Statistics: An Introductory Analysis. 2rd ed. New York : Harper and Row ; 1973.
9. พัชชา วงค์สวรรค์. พฤติกรรมการเสพยาบ้าของวัยรุ่น(วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.
10. ดวงฤดี ใจกระจ่าง. ปัจจัยภายในตัวบุคคล ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและมาตรการของรัฐที่ส่งผลต่อการใช้แอมเฟตามีนของเด็กเยาวชน กรณีศึกษาศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 2 จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์). นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง; 2558.
11. Pender, NJ, Murdaugh, CL & Parsons, MA. (2011). Health Promotion in Nursing Practice. (6th ed.). New Jersey: Pearson Education, Inc.
12. เพ็ญนภา กุลกานต์สวัสดิ์. การตระหนักรู้ในตนเองและกลวิธีการเผชิญปัญหาเกี่ยวข้องในผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดยาเสพติด (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
13. สุคนธ์ทิพย์ บุญทาและคณะ. ความต้องการการได้รับการสนับสนุนจากงานสังคมสงเคราะห์ในผู้ป่วยยาเสพติด. ขอนแก่นศูนย์ : บําบัดรักษายาเสพติดขอนแก่น; 2554.
14. อาภาศิริ สุวรรณานนท์และคณะ. ปัจจัยด้านบุคคลที่มีผลต่อการติดยาเสพติดซ้ำส่วนวิชาการด้านยาเสพติดสำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน ป.ป.ส.; 2550.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9