การศึกษาสถานการณ์การหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • เพ็ญรุ่ง วรรณดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  • จิรพรรณ โพธิ์ทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
  • อุมากร ใจยั่งยืน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การหกล้ม, ผู้สูงอายุ, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาพตัดขวาง (Descriptive cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การหกล้ม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้วิจัยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากผู้สูงอายุในชุมชนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 150 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ประวัติการล้ม ลักษณะสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้าน และการทำกิจกรรมและพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ และ สถิติไคสแควร์

ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุเป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.0 อายุที่พบมากที่สุดคือ ช่วงอายุ 60-69 ปี ร้อยละ 55.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 53.7 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 74.7 อุบัติการณ์การหกล้มของผู้สูงอายุในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 26.0 ผู้หญิงหกล้มมากกว่าผู้ชาย 5 เท่าโดยมีสาเหตุจากการเดินสะดุด ร้อยละ 66.7 พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนี้ ปัจจัยทางประชากร ได้แก่ เพศ (X2=6.050, p=0.014) ภาวะทางสุขภาพ (X2=8.766, p=0.033) การได้ยิน (X2= 6.726, p=0.010) การทรงตัว (X2=6.043, p=0.014 ) การเปลี่ยนท่าทางต่างๆ (X2=5.085, p=0.024) ปัจจัยทางพฤติกรรม ได้แก่การอาบน้ำ (X2=5.736, p=0.017) การเลี้ยงสัตว์เลี้ยง (X2=4.141, p=0.042) กิจกรรมในชีวิตประจำวัน (X2=12.116, p=0.007) และปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ได้แก่ ธรณีประตูหรือพื้นต่างระดับ (X2=4.796, p=0.029) เก็บสิ่งของบริเวณบันได (X2=27.972, p=0.000) และพรมเช็ดเท้า
(X2=8.887, p=0.031)

ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อทำการวางแผนแก้ไขปัญหาและลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม ตลอดจนสร้างความตระหนักในการเฝ้าระวังการหกล้มให้กับผู้สูงอายุ ผู้ดูแลและคนในชุมชนต่อไป

Author Biographies

เพ็ญรุ่ง วรรณดี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

จิรพรรณ โพธิ์ทอง, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

อุมากร ใจยั่งยืน, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

References

United Nations. World population ageing. [Internet]. 2017. [cited 2018 Sep 20]. Available from: http://www.un.org/esa/population/publications/WPA2009/WPA2009 WorkingPaper.pdf.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุขพ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558.

วิชัย เอกพลากร และคณะ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี:สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

World Health Organization. Fact Sheet: Falls [Internet]. 2012. [Cited 2016 March 1]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs344/en/

เกื้อเกียรติ ประดิษฐพรศิลป์. ตำราเวชศาสตร์ผู้สูงวัย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1877); 2561.

อารี ปรมัตถากร และคณะ. การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา: ศูนย์ศึกษาวิจัยและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 5; 2553.

รายงานการตรวจราชการ ปี 2560 จังหวัดสุพรรณบุรี เขตบริการที่ 5. [อินเตอร์เน็ต] เข้าถึง วันที่ 25-27มกราคม 2560, from URL:http:hpc.go.th/inspect/web/fileupload/20170426105537ZAE4MICVJQHD. pdf.

Polit DF, Hungler BP. Nursing research: Principles and methods. 6th ed. Philadelphia: Lippincott-Raven; 1999.

สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560, รายงานการตรวจราชการ ปี 2560. [อินเทอรเน็ต]. 2561 [สืบคนเมื่อ 14 มกราคม 2560]; 7(1):23. เขาถึงไดจาก: http:// http://www.pbro.moph.go.th/wp-content/uploads/2017/12/8460.pdf.

วรรณพร บุญเปล่ง และคณะ. อัตรา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มของผู้สูงอายุ: ชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดนนทบุรี. Journal of Nursing Science 2015; 33(3):74-86.

วรฤทัย จันทร์วัง. การหกล้มในผู้สูงอายุไทย [ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประชากรศึกษา]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

ละออม สร้อยแสง และคณะ. การศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(1):122-129.

World Health Organization. Fact Sheet: Falls [Internet]. 2012. [Cited 2016 March 1]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs344/en

นงลักษณ์ พรมมาพงษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุ [ วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.

กนกอร ทองกลึง. การศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยเพื่อลดความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ:กรณีศึกษาชุมชนหัวตะเข้ จังหวัดกรุงเทพมหานคร [ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2560.

Miller CA. Mobility and safety. In Nursing for wellness in older adult. (5th ed.) n.d.: Spearhead; 2009.

ปริศนา รถสีดา. การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน: บทบาทพยาบาลกับการดูแลสุขภาพที่บ้าน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2561;11(2):15-25.

ปฐวี พิพัฒน์วรากุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มภายในบริเวณบ้านของผู้สูงอายุที่มารับบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในชุมชนเชียงทอง ตำบลระแหง อำเภอเมือง จังหวัดตาก [วิทยานิพนธ์ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2555.

อารยา เอกปริญญา. รูปแบบพื้นผิวกันกระแทกภายในห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุในศูนย์การพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมบ้านบางแค 1 กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการออกแบบภายใน]. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง; 2554.

เพชรดา ปาจรีย์. โครงการออกแบบห้องน้ำสำเร็จรูปเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการหกล้มของผู้สูงอายุไทย [ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปกร; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-14