การขับเคลื่อนพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 โดยการมีส่วนร่วมของภาคีในระดับพื้นที่จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • สมจิต ยาใจ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี
  • วสิมล สุวรรณรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี
  • วราภรณ์ นองเนือง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี
  • สดับพินท์ พสุหิรัณย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี
  • จันจิรา ใจดี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี
  • สุวารี หลิมเจริญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี

คำสำคัญ:

พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559, การมีส่วนร่วมของภาคีระดับพื้นที่

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะทางประชากร สังคม เศรษฐกิจ และความคิดเห็นของทีมวิจัยในพื้นที่ กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 3 กระบวนการ แผนและผลการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของภาคีในระดับพื้นที่จังหวัดจันทบุรี  มาตรา  6, 7, 8, 9 และ 10 แห่งพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 เพื่อให้วัยรุ่นเข้าถึงสิทธิตามมาตรา 5 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครู เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานประกอบกิจการ ผู้นำชุมชน อ.ส.ม แกนนำสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบล แม่วัยรุ่นและครอบครัวจำนวน 137 คนจาก 10 อำเภอๆ ละ 1 ตำบล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทบทวนข้อมูลจังหวัด การสัมภาษณ์เจาะลึก การบันทึกกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมระหว่างเดือน ต.ค. 2561-ก.ย. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์สรุปประเด็นตามวัตถุประสงค์

ผลการวิจัยพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) แกนนำสภาเด็กและเยาวชน มีความคิดเห็นในเชิงบวกพร้อมร่วมพัฒนา การใช้กระบวนการเรียนรู้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทำให้ทีมวิจัยในพื้นที่สามารถวิเคราะห์ชุมชน แนวโน้มความเชื่อมโยงของปัญหาในอนาคต รวมทั้งกำหนดแผนและนำแผนไปปฏิบัติในระดับพื้นที่ แผนและผลการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติภายใต้แผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของภาคีในระดับพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมปกติตามภารกิจขององค์กร ยังไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาจริงในพื้นที่ มีการบูรณาการประสานแผนการดำเนินงานค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่เป็นลักษณะต่างคนต่างทำ ไม่มีการประเมินผลสัมฤทธิ์เชิงคุณภาพ นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ครอบครัว และพ่อแม่ในระดับพื้นที่มีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติฉบับนี้น้อย ทำให้วัยรุ่นในพื้นที่เข้าถึงสิทธิตามมาตรา 5 ได้น้อย

คณะอนุกรรมการระดับจังหวัดควรมีการประสานบูรณาการแผนการป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติ โดยขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และใช้ศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลเป็นกลไกในการพัฒนาบทบาทครอบครัว พัฒนาศักยภาพสภาเด็กและเยาวชนระดับตำบลให้เป็นแกนนำ สร้างระบบการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ในแม่วัยรุ่นโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน เพื่อชะลอการมีเพศสัมพันธ์ ให้มีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย เพิ่มคุณภาพการตั้งครรภ์ ลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่น สร้างระบบการเฝ้าระวังโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศวิถีให้ครอบคลุม โดยคำนึงถึงสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น และจัดระบบสวัสดิการ การดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นและครอบครัวให้เข้าถึงทุกกลุ่ม

Author Biographies

สมจิต ยาใจ, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ
หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ

วสิมล สุวรรณรัตน์, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี

นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

วราภรณ์ นองเนือง, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี

นักวิชาการสาธารณสุข

สดับพินท์ พสุหิรัณย์, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

จันจิรา ใจดี, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

สุวารี หลิมเจริญ, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี

เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน

References

1. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท คิวคัมเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด; 2560.
2. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การประชุมเชิงวิชาการอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2559: “มุมมองใหม่ อนามัยการเจริญพันธุ์”. มปท; 2559.
3. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560-2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์; 2560.
4. วรรณดี จันทรศิริ, พัชรา ชุ่มชูจันทร์. ผลกระทบด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ จากการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่นในภาคตะวันออก. ชลบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
5. ยุพเยาว์ วิศพรรณ์, สมจิต ยาใจ. ผลกระทบด้านสุขภาพ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจจากการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่น จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2559; 27(1): 1-16.
6. ประสิทธิ์ ลีระพันธ์. การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. เอกสารประกอบคำบรรยายโครงการพัฒนารูปการส่งเสริมสุขภาพคนทำงานตามกลยุทธ์เมืองน่าอยู่; 2554.
7. ดุสิต ดวงสา และคณะ. คู่มือการใช้ PAR ในการทำงานด้านเอดส์ในชุมชน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2535.
8. ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. กระบวนการสร้างชุมชนเข้มแข็ง: ประชาคมประชาสังคม. ขอนแก่น : โครงการจัดตั้งมูลนิธิเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ชมรมนักวิชาการสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ; 2543.
9. วีระ นิยมวัน. การประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ (AIC). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักงานวิชาการ; 2542.
10. ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. ชุมชนเข้มแข็งทุนทางสังคมของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนเพื่อสังคมและธนาคารออมสิน; 2542.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30