ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองและสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กวัยก่อนเรียนในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, สภาวะการเกิดฟันผุ, เด็กวัยก่อนเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณณา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครอง และความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองและสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กวัยก่อนเรียนในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเด็กวัยก่อนเรียนจำนวน 337 คน และผู้ปกครองจำนวน 337 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2561 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2561 โดยใช้แบบตรวจสุขภาพช่องปากเด็กและแบบสอบถามผู้ปกครองซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การทดสอบไคสแคว์ Fisher’s Exact Test และ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน (Spearman’s Correlation)
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเด็กวัยก่อนเรียนจำนวน 337 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.6 เป็นเพศหญิงร้อยละ 50.4 กลุ่มตัวอย่างมีฟันผุร้อยละ 74.8 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด เท่ากับ 5.5 ซี่/คน พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองในระดับปานกลางเท่ากับร้อยละ 62.3 ระดับดีเท่ากับร้อยละ 33.8 และพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครอง กับอายุของผู้ปกครอง (p= 0.005) กับการศึกษาของผู้ปกครอง (p=0.019) และ กับความสัมพันธ์ของเด็กกับผู้ปกครอง (p=0.039) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนสภาวะฟันผุของเด็กมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.015) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองรายด้านที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะฟันผุของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.01) ได้แก่ด้านการทำความสะอาดช่องปาก และด้านการบริโภคอาหาร แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะฟันผุของเด็กกับด้านการตรวจฟันผุของผู้ปกครอง
References
2. กลุ่มงานทันตสาธารณสุข ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. สรุปผลสำรวจสภาวะทันตสุขภาพระดับเขตสุขภาพที่ 9 ครั้งที่ 7 ปี 2560. มปท.; 2561.
3. ธนนันท์ เพ็ชรวิจิตร, ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล. ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: เบสท์ บุ๊คส์ ออนไลน์; 2554.
4. จันทนา อึ้งชูศักดิ์, ปิยะดา ประเสริฐสม. โรคฟันผุในฟันน้ำนม. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2006; 11(1-2): 9-14.
5. นฤมล ทวีเศรษฐ์. ฟันผุเสี่ยงต่อโรคหัวใจ. [อินเตอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 26 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/07162015-1053-th
6. เพ็ญแข ลาภยิ่ง. การวิจัยประเมินผลด้านสุขภาพช่องปาก. นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข; 2561.
7. Dobson AJ. Calculating sample size. Trans Menzies Found. 1984;7:75-9.
8. Best, JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1977.
9. สกาวรัต วงศ์จันทิพย์, พัชรา ก้อยชูสกุล, พิรภานุวัตณ์ ชื่นวงศ์. ความรู้และการปฏิบัติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเกิดโรคฟันผุของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 2558; 8(17): 103-9.
10. เกตุวดี เจือจันทร์, อิชยา สินไชย, อรวรรณ นามมนตรี, อโนชา ศิลาลัย, หฤทัย สุขเจริญโกศล. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองและสภาวะฟันผุของเด็กก่อนวัยเรียน อำเภอแก่งคอย จ.สระบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา 2559; 22(1): 5-17.
11. เจียรไน ตั้งติยะพันธ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา, ธีระวุธ ธรรมกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากกับพฤติกรรมทันตสุขภาพและฟันผุในเด็ก 2-3 ปี อำเภอมูลนาก จังหวัดพิจิตร. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2561; 23(2): 28-37.
12. วัลธินี ปิ่นแก้ว. สภาวะฟันผุและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพโดยผู้ปกครองของเด็กอายุ 2-6 ปี อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง [การค้นคว้าแบบอิสระ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9