ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ศรีเสาวลักษณ์ อุ่นพรมมี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ขนิษฐา ดีเริ่ม ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
  • ยุพาพร หอมสมบัติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพของสหภาพยุโรป, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Descriptive Cross-Sectional Study) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจำนวน 505 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพแปลจาก Health Literacy Survey-European Union (HLS-EU) ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้สูงอายุและดัชนีความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (n=286 คน, 56.6%) สถานภาพสมรส (285 คน, 56.4%) อายุระหว่าง 70-79 ปี (n=175 คน, 34.7%) นับถือศาสนาพุทธ (n=500 คน, 99.0%) สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ (n=426 คน, 85.0%) ไม่ได้ทำงาน (n=356 คน, 71.8%) และใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการรักษาพยาบาล (n=427 คน, 85.7%) ค่าเฉลี่ยดัชนีความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมของผู้สูงอายุเท่ากับ 31.84 (SD=7.02) จากคะแนนระหว่าง 0-50 แปลผลอยู่ในระดับมีปัญหา เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความรอบรู้ด้านสุขภาพจำแนกรายมิติ พบว่า ค่าดัชนีความรอบรู้ด้านสุขภาพเรียงจากมากไปน้อยคือมิติการดูแลรักษา ( gif.latex?\bar{x}=32.50, SD=7.07) มิติการป้องกันโรค ( gif.latex?\bar{x}=32.26, SE=6.96) และมิติการสร้างเสริมสุขภาพ ( gif.latex?\bar{x}=30.78, SD=8.49) ตามลำดับ โดยทั้งสามด้านแปลผลอยู่ในระดับมีปัญหา เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความรอบรู้ด้านสุขภาพตามสมรรถนะในกระบวนการจัดการกับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ พบว่าค่าดัชนีความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุเรียงตามลำดับจากมากที่สุดไปน้อยที่สุดได้แก่ 1) การทำความเข้าใจกับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ( gif.latex?\bar{x}=32.65, SD=7.54), 2) การนำข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพไปใช้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ( gif.latex?\bar{x}=31.79, SD=7.86), 3) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ( gif.latex?\bar{x}=31.60, SD=7.44), และ 4) การตัดสินใจเลือกข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ( gif.latex?\bar{x}=31.58, SD=7.15) ตามลำดับ โดยการแปลผลของความรอบรู้ด้านสุขภาพในทุกขั้นตอนในกระบวนการที่ผู้สูงอายุจัดการกับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพอยู่ในระดับเป็นปัญหา

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเสริมสร้างความสามารถของผู้สูงอายุในการจัดการกับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพในทุกมิติ และทุกสมรรถนะที่ผู้สูงอายุต้องจัดการกับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่ทุกหน่วยงานและภาคส่วนควรให้ความสำคัญ เพื่อพัฒนาสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุในอนาคต

Author Biographies

ศรีเสาวลักษณ์ อุ่นพรมมี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

ขนิษฐา ดีเริ่ม, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ยุพาพร หอมสมบัติ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน)

References

1. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.
2. Kheokao, J, Ubolwan, K, Tipkanjanaraykha, K, & Plodpluang, U. Online health information seeking behaviors among the Thai elderly social media users. TLA Research Journal 2019;12(1):60-76.
3. กิจปพน ศรีธานี. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560;11(1):26-30.
4. นิชดา สารถวัลย์แพศย์, สมยศ ศรีจารนัย, เมทณี ระดาบุตร, ปัฐยาวัชร ประกฎผล, วนิดา ชวเจริญพันธ์ และ ลัดดาวัลย์ ไวยสุระสิงห์. การพัฒนาความแตกฉานด้านสุขภาพเกี่ยวกับการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน เขตสุขภาพที่ 4. วารสารพยาบาลตำรวจ 2562;11(1):95-106.
5. พิษณุรักษ์ กันทวี และสถิรกร พงศ์พานิช. ความแตกฉานทางสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร 2562;11(1):73-83.
6. Sørensen, K, et al. Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health 2012;12:80; DOI: 10.1186/1471-2458-12-80.
7. สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี และคณะ. ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตสุขภาพที่ 9. นครราชสีมา: ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา; 2562.
8. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลประชากรกลางปี พ.ศ. 2561. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน[ออนไลน์]/มปป. เข้าถึงวันที่ 7 มกราคม 2562, เข้าถึงจาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/pop61_v2.xls
9. จุฬาลักษณ์ โกมลตรี. การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2555;20(3):192-8.
10. นันทกา สวัสดิพานิช และ สุจิตรา เทียนสวัสดิ์. การแปลเครื่องมือเพื่อใช้ในงานวิจัยข้ามวัฒนธรรม: เทคนิคและประเด็นที่ต้องพิจารณา. วารสารสภาการพยาบาล 2554; 26(1):19-28.
11. Sørensen, K, Van den Broucke, S, Pelikan, JM, Fullam, J, Doyle, et al. Measuring health literacy in populations: illuminating the design and development process of the European Health Literacy Survey Questionnaire (HLS-EU-Q). BMC Public Health 2013; 13:948.
12. Pelikan JM, Röthlin F, & Canahl K Measuring comprehensive health literacy in general populations: validation of instrument, indices and scales of the HLS-EU study [Oral presentation], 6th Annual Health Literacy Research Conference; 2014, Oct. 3-4; Bethesda, MD.
13. Słonska, Z, Borowiec, AA, & Aranowska, AE. Health literacy and health among the elderly: Status and challenges in the context of the Polish population aging process. Anthropological Review 2015;78(3):297-307.
14. Eronen, J, Paakkari, L, Protegijs, E, Saajanaho, M, & Rantanen, T. Assessment of health literacy among older Finns. AGING CLIN EXP RES 2019;31:549-56.
15. Tiller, D, Herzog, B, Kluttig, A, & Haerting, J. Health literacy in an urban elderly East-German population – results from the population-based CARLA study. BMC Public Health 2015;15:883.
16. Duong, TV, Aringazina, A, Baisunova, G, Nurjanah, Pham, TV, Pham, KM, et al. Measuring health literacy in Asia: Validation of the HLS-EU-Q47 survey tool in six Asian countries. J Epidemiol 2016;http://dx.doi.org/10.1016/j.je2016.09.005.
17. Wångdahl, J, Jaensson, M, Dahlberg, K, & Nilsson, U. The Swedish version of the electronic health literacy scale: Prospective psychometric evaluation study including thresholds levels. JMIR Mhealth Uhealth 2020;8(2):e16316; DOI:10.2196/16316.
18. Rouquette, A, Nadot, T, Labitrie, P, Van den Broucke, S, Mancini, J, Rigal, L, et al. Validity and measurement invariance across sex, age, and education level of the French short versions of the European health literacy survey questionnaire. PLOS ONE 2018;13(12); e0208091.
19. Lorini, C, Lastrucci, V, Mantwill, S, Vettori, V, Bonaccorsi, G, & the Florence Health Literacy Research Group. Measuring health literacy in Italy: A validation study of the HLS-EU-Q16 and of the HLS-EU-Q6 in Italian language, conducted in Florence and its surroundings. Ann Ist Super Sanità 2019;55(1):10-8.
20. N’Goran, AA, Pasquier, J, Deruaz-Luyet, A, Burnand, B, Haller, DM, Neuner-Jehle, S, et al. Factors associated with health literacy in multimorbid patients in primary care: A cross-sectional study in Switzerland. BMJ Open 2018;8:e018281.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30