การพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญด้านทันตสุขภาพ ในการจัดการพฤติกรรมทันตสุขภาพกลุ่มเด็กอายุ 12 ปี อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2563

ผู้แต่ง

  • อัญชลี มีเพียร โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

การวิจัยและพัฒนา, กลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, พฤติกรรมทันตสุขภาพ, กลุ่มเด็กอายุ 12 ปี

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เชี่ยวชาญด้านทันตสุขภาพในการจัดการพฤติกรรมทันตสุขภาพกลุ่มเด็กอายุ 12 ปี อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และ 2) ศึกษาผลของการพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเด็กอายุ 12 ปี จำนวน 468 คน และ อสม.เชี่ยวชาญด้านทันตสุขภาพ จำนวน 94 คน เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์พฤติกรรมทันตสุขภาพกลุ่มเด็กอายุ 12 ปี และการมีส่วนร่วมของ อสม.ในการจัดการพฤติกรรมทันตสุขภาพกลุ่มเด็กอายุ 12 ปี วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับอสม. มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การคัดเลือก อสม. 2) การพัฒนาศักยภาพ อสม.เชี่ยวชาญด้านทันตสุขภาพ 3) การริเริ่มพัฒนา 4) การวางแผนพัฒนา 5) การดำเนินการพัฒนา และ 6) การประเมินผลการพัฒนา อสม.มีส่วนร่วมในการจัดการพฤติกรรมทันตสุขภาพกลุ่มเด็กอายุ 12 ปี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลของการพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของ อสม. พบว่าเด็กอายุ 12 ปี ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมทันตสุขภาพที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น โดยแปรงฟันก่อนนอนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51.9 เป็นร้อยละ 73.5 แปรงฟันแต่ละครั้งนานประมาณ 2 นาทีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.1 เป็นร้อยละ 42.3 ดื่มน้ำอัดลม 4-6 วัน/สัปดาห์ลดลงจากร้อยละ 20.9 เป็นร้อยละ 10.7 ดื่มน้ำผลไม้ น้ำหวาน ลดลงจากร้อยละ 16.7 เป็นร้อยละ 8.7 กินลูกอมทุกวันลดลงจากร้อยละ 7.0 เป็นร้อยละ 5.6 ใช้เงินซื้อขนมและเครื่องดื่มวันละมากกว่า 21 บาท ลดลงจากร้อยละ 50.6 เป็นร้อยละ 47.9 แต่ยังพบว่ากินขนมกรุบกรอบทุกวันเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 24.6 เป็นร้อยละ 25.4 โดยรวมปัญหาทันตสุขภาพลดลงโดยมีปัญหาการปวดฟัน เสียวฟัน เหงือกอักเสบ เจ็บบวม มีเลือดออก ฟันผุ ฟันเป็นรู หินน้ำลาย และมีกลิ่นปาก ลดลงจากร้อยละ 37.2 เป็นร้อยละ 15.4 ซึ่งเด็กที่ยังมีปัญหาสุขภาพช่องปากนี้ได้รับผลกระทบและสาเหตุทางช่องปากตามความรู้สึกด้านการกินอาหาร ร้อยละ 66.7 และด้านการทำความสะอาดช่องปาก ร้อยละ 33.3

Author Biography

อัญชลี มีเพียร, โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

1. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ปี 2561. สืบค้นจาก http://dental2.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/dental/ewt_dl_link.php?nid=1691&filename=st;2561
2. จุลพันธ์ สุวรรณ. การมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการวิจัย;2559.
3. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.Operations, บทความสำหรับบุคคลทั่วไป, องค์ความรู้. สืบค้นจากhttps://www.ftpi.or.th/2015/2125;2558.
4. ศูนย์พัฒนาทรัพยากรการศึกษา (CARD) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.หลักพื้นฐานการทำงานอย่าง
มีส่วนร่วม.สืบค้นจากhttp://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0109501/Unit04/unit04_004.htm.;2555.
5. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย.คู่มือหลักสูตรการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญ.สืบค้นจากhttp://www.yimsodsai.com/upload/frontDownload.คู่มือหลักสูตรการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญ-14658865750.pdf;2555.
6. ธิดารัตน์ ตั้งกิตติเกษม.สภาวะช่องปากและพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนกลุ่มอายุ 12 ปีในโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย ประจำปี 2553.สืบค้นจากhttp://dental2.anamai.moph.go.th/download/Journal/v17no2_1.pdf.;2553.
7. วิชัย ศรีคำ และคณะ.พฤติกรรมการกินที่มีผลต่อสุขภาพในช่องปากของเด็กวัยรุ่นตอนต้นในจังหวัดนครปฐม Eating Behavior Affecting Oral Health of Early Adolescents in Nakornpatom Province, Thailand.(บทคัดย่อ).สืบค้นจาก http://jahs.ssru.ac.th/index.php/JAHS1/article/view/27;2558.
8. อุทัย บุญประเสริฐ.การวิเคราะห์อภิมาน(Mata-Analysis).กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุฟ; 2555.
9. สุพักตร์ พิบูลย์.หลักการเขียนวิจัยเชิงคุณภาพ.สืบค้นจากhttp://www.nur.psu.ac.th/about/Graduate;2556.
10. ญาณภัทร สีหะมงคล. เคล็ดลับการทำวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย;2557.
11. สมคิด พรมจุ้ย. การดำเนินงานโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน.กรุงเทพมหานคร:สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาจติ สำนักนายกรัฐมนตรี;2556.
12. ทิศนา แขมมณี. การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน.กรุงเทพฯ:โครงการวิจัยภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.รายงานการวิจัย;2557.
13. อิสระพงศ์ แก้วกำเนิดพงษ์ และ คณะ. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของเด็กไทย อายุ 12 ปี จากกลุ่มตัวอย่างย่อยของการสำรวจสภาวะช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ.2560. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย;2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30