ผลการพัฒนาโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพ เรื่องอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองและการเข้าถึงระบบบริการทางด่วน ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง และญาติ ตำบลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ทางสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยการทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม (One-group experimental research) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ทางสุขภาพ เรื่องอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง และการเข้าถึงระบบบริการทางด่วน ก่อนเละหลังพัฒนาโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและญาติ ตำบลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้กรอบแนวคิดของนัทบีม มาประยุกต์ในการประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและญาติ ตำบลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากการคัดกรอง CVD-Risk จำนวน 237 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา แสดงค่าความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และ Paired T-test
ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ทางสุขภาพเรื่องการเตือนโรคหลอดเลือดสมอและการเข้าถึงและระบบบริการทางด่วน ของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและญาติ ตำบลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในระดับไม่ดีพอเป็นส่วนใหญ่ และพบว่าระดับความรอบรู้ทางสุขภาพหลังการใช้โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ มากกว่าก่อนการใช้โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ มากกว่าก่อนการใช้โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุปผลการวิจัยได้ว่าการใช้โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพเรื่องอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองและการเข้าถึงระบบบริการทางด่วน ทำให้มีความรอบรู้ทางสุขภาพดีขึ้น ข้อเสนอแนะการวิจัย ผู้วิจัยเห็นว่าควรนำโปรแกรมการสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ มาใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ทุกราย
References
2. ดิษยา รัตนากร และ เจษฎา เขียนดวงจันทร์. โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular Disease). ใน: ทศพล ลิ้มพิจารณ์กิจ, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล และ สมนึก สังฆานุภาพ, บรรณาธิการ. อายุรศาสตร์ฉุกเฉิน : Emergency in Medicine. กรุงเทพฯ : สร้างสื่อ; 2550.
3. Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med 2008; 67 : 2072–8.
4. Bryant MD, Schoenberg ED, Johnson TV, Goodman M, Owen-Smith A, & Master VA. Multimedia version of a standard medical questionnaire improves patient understanding across all literacy level. Journal of Urology 2009; 182(3) : 112-5.
5. Beal CC. Stroke education needs of African-American women. Public Health Nursing 2015 Jan-Feb; 32(1) : 24-33.
6. Morgan LJ, Chambers R, Banerji J, Gater J, & Jordan J. Consumers leading public consultation: the general public's knowledge of stroke. Fam Pract 2005 Feb;22(1):8-14.
7. Baker DW, Gazmararian JA, SudanoJ, & Patterson M. The association between age and health literacy among elderly persons. J Gerontol B Psychol Sci Soc Sci. 2000 Nov;55(6):S368-74.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9