การประเมินผลโครงการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตสุขภาพที่ 9

ผู้แต่ง

  • อารยา อินต๊ะ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
  • สมรัฐ นัยรัมย์ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การประเมินผล, ตัวแบบซิปป์, การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมิน โดยนำแนวคิดและโมเดลการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาประยุกต์ใช้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 9 และเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุงกระบวนงานมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ เทศบาลทุกระดับในเขตสุขภาพที่ 9 ที่สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนา EHA ในปีงบประมาณ 2558-2560 จำนวน 190 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินมาตรฐาน EHA กรมอนามัย และแบบสอบถามการประเมินผลโครงการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตสุขภาพที่ 9 ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.42 เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.96 มีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนัก/กอง และส่วนใหญ่ ร้อยละ 85.96 มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการฯเนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ ผลการประเมินด้านบริบทพบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด (gif.latex?\chi2 = 3.96, S.D.=0.57) ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด (gif.latex?\chi2 = 3.16, S.D.=0.68) ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด (gif.latex?\chi2=3.63, S.D.=0.78) ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด (gif.latex?\chi2=3.61, S.D.=0.66) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.77 มีความพึงพอใจต่อโครงการฯ ซึ่งอยู่ในระดับมากและผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด (gif.latex?\chi2=3.91, S.D.=0.65) เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเพศของกลุ่มตัวอย่างกับระดับความพึงพอใจต่อโครงการฯโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ พบว่า เพศไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจต่อโครงการ

Author Biographies

อารยา อินต๊ะ, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

สมรัฐ นัยรัมย์, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

References

1. กรมอนามัย. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560-2564. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2560. โรงพิมพ์ศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2560.
2. กรมอนามัย. การพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Environmental Health Accreditation : EHA); 2558.
3. กรมอนามัย. คู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมสาหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Standard Operating Procedure : SOP). เล่มที่ 1-9; 2557.
4. กรมอนามัย. แนวทางการประเมินคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Environmental Health Accreditation : EHA); 2558.
5. Stufflebeam, DANIEL L.. The CIPP Model for Evaluation . International Handbook of Educational Evaluation. 2003. [cited 2018 February 1]; 31-62. Available from: https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-94-010-0309-4_4
6. ชัชวาล เรืองประพันธ์. สถิติพื้นฐาน. ขอนแก่น:ภาควิชาสถิติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. ขอนแก่น; 2539.
7. ภิญญดา พู่ศิริถิรพร. การประเมินผลแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลกองดิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. การศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
8. ปนัดดา บรรเลง, การจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในเทศบาลนครเชียงใหม่ (พ.ศ.2545-2549). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.
9. อาภาวดี พรหมจอม. บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกับงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาส ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมืองนครพนม. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2547.
10. พวงนรินทร์ คำปุ และประกายศรี ศรีรุ่งเรือง. ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหัวง้ม อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย; 2558.
11. สุภาวรรณ สิทธินุ่น. การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลทางขวาง อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-31