รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวแหว่งกลาง สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดชัยภูมิ 2562

ผู้แต่ง

  • นันทพร อ่อนชัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ
  • บุปผา แก่นชัยภูมิ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • อภิวรรณ ดวงมณี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ
  • สิริศักดิ์ อาจวิชัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

รูปแบบการเสริมสร้าง, ครอบครัวแหว่งกลาง

บทคัดย่อ

รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวแหว่งกลาง สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดชัยภูมิ เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวแหว่งกลาง จังหวัดชัยภูมิ ใช้แนวคิดของวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เป็นหลักในการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนของการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวคิด ข้อมูลพื้นฐาน และรูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบรูปแบบฯ ขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบไปทดลองใช้ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มประชากรเป้าหมาย จำนวน 398 คน ประกอบด้วย 1) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบงานสุขภาพภาคประชาชนระดับตำบล ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด 2) ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ระดับอำเภอ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 3) ตัวแทนในกลุ่มผู้อำนวยการโรงเรียน 4) ตัวแทนผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล 5) ตัวแทนในกลุ่มผู้ใหญ่บ้าน 6) ทีมที่ปรึกษาการวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ดำเนินการเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ถึงเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2562 ผลการวิจัย (Result) รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวแหว่งกลาง สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดชัยภูมิ โดยการเสริมสร้างศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวแหว่งกลาง ในด้านทักษะการเป็นผู้ให้คำปรึกษา ด้านการจัดการข้อมูล ด้านการวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์เสี่ยง และด้านรายงานผลแบบ Real time ผ่านสมาร์ทโฟน ได้พัฒนา Application ขึ้นเรียกว่า Help Care Application (HCA) ผลการประเมินความเข้มแข็งของครอบครัวแหว่งกลาง พบว่าความเข้มแข็งของครอบครัวแหว่งกลางโดยรวมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.42 (SD=0.10)  และทั้ง 5 ด้านได้แก่ 1) ด้านสัมพันธภาพ อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.30 (SD=0.19)  2) ด้านการทำบทบาทหน้าที่ของครอบครัวอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย 4.55 (SD=0.23) 3) ด้านการพึ่งตนเองอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.47 (SD=0.14) 4) ด้านทุนทางสังคมอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.44 (SD=0.16) 5) ด้านการหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงและการปรับตัวได้ในภาวะยากลำบากอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย 4.45 (SD=0.25)

Author Biographies

นันทพร อ่อนชัย, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ

บุปผา แก่นชัยภูมิ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์

อภิวรรณ ดวงมณี, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

สิริศักดิ์ อาจวิชัย, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

อาจารย์

References

1. อุมาพร ตรังคสมบัติ. จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 2 ; 2541 : 1.
2. ปราโมทย์ ประสาทกุล. ภาวะทุพพลภาพ และปัจจัยเสี่ยงของภาวะทุพพลภาพในประชากรสูงอายุไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2552 ; 2552 : 111 – 126.
3. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานสถิติรายปีประเทศไทย 2556. สืบค้นจากhttp://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/e-book/SYB 2556/files/assets/basic html/index.html#page1; 2556.
4. สุชาติ อินประสิทธิ์. สาเหตุการกระทาความผิดทางอาญาของเด็ก เยาวชนที่มีอาการบอบช้าทางจิตใจ (Trauma) แนวทางป้องกันและแก้ไขเยียวยาที่เหมาะสม. รายงานการอบรมหลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น รุ่นที่10. สถาบันพัฒนาข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม สานักงานศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ; 2555 : 5-30.
5. บังอร เทพเทียนและคณะ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับครอบครัวเข้มแข็ง. รายงานการวิจัย. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา ปีที่6 ฉบับที่2 ; 2551 : 25-38.
6. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. รายงานสถิติและสถานการณ์สังคม ; 2554 : 4.
7. สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. (2556). คุณภาพชีวิตเด็ก 2556. โรงพิมพ์แอ๊ปป้า พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด ; 2556 : 69 – 85.
8. Elizabeth D. Hutchison.Life Course Theory. https://doi.org/10.1007/978-1-4419-1695-2_13. สืบค้นเมื่อวันที่พฤษภาคม 2562 ; 2014.
9. ชาญคณิต กฤตยา สุริยะมณี, และ อุนิษา เลิศโตมรสกุล. การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำผิด ร้ายแรงทางเพศ กรณีการข่มขืนและการโทรมหญิง ของเด็กและเยาวชนชายในบริบทของทฤษฎีเชิงบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: สำ นักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ; 2551.
10. วิณารัตน์ สุขดีและคณะ. (2559). โมเดลเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน 2559 ; 2559.
11. สำนักงานกลางทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย. ข้อมูลประชากรจังหวัดชัยภูมิ ณ 31 กันยายน พ.ศ. 2561 ; 2561
12. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. ข้อมูลจากการสำรวจโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดชัยภูมิ. เดือนตุลาคม พ.ศ.2561 ; 2561
13. E. Mark Hanson. Educational Administration and Organizational Behavior. Allyn and Bacon ; 2003.
14. Martin, E. (1999). Changing academic work: Developing the learning University.
15. Buckingham: The Society for Research into Higher Education & Open University; 1999.
16. Weltch, M., & Tulbert, B. Practitioner’s perspective of collaboration: A social validation and factor analysis. Journal of Educational and psychological consultant, 11(3-4), 357 – 378; 2000.
17. จารุเนตร เกื้อภักดิ์. แนวทางพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2559.
18. มกราพันธุ์ จูฑะรสก, สุวคนธ์ แก้วอ่อน, จุรี แสนสุข. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีที่ : 31 ฉบับที่ : 1 เลขหน้า : 177-183 พ.ศ. 2556; 2556.
19. สุภาภรณ์ เอียนรัมย์, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, กระจ่าง ตลับนิล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2558 หน้า 10-22. ; 2558.
20. ว่าที่ร้อยตรีหญิงสุทธญาณ์ โอบอ้อม. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวพระพุทธศาสนา. หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-31