การศึกษาโฆษณาของสถานพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การโฆษณา, สถานพยาบาลเอกชน, การคุ้มครองผู้บริโภคบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross–Sectional Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ เนื้อหา และความถูกต้องของสื่อโฆษณาของสถานพยาบาลเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากโฆษณาที่มาขออนุมัติโฆษณาทุกชิ้นของสถานพยาบาลเอกชน ในช่วงระยะเวลา 5 เดือน (พฤษภาคม ถึง กันยายน พ.ศ. 2561) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ใช้ผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโฆษณาสถานพยาบาล ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสรุปลักษณะโฆษณาที่ไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2559
ผลการศึกษาพบว่า สถานพยาบาลที่มาขออนุมัติโฆษณากับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา มีทั้งหมด 82 แห่ง เป็นคลินิกเวชกรรมที่มีบริการเสริมความงามร้อยละ 63.5 รองลงมาคือคลินิกทันตกรรม และโรงพยาบาล (ร้อยละ 24.4 และ 6.1 ตามลำดับ) จำนวนโฆษณาที่มาขออนุมัติรวมทั้งหมด 129 ชิ้น ช่องทางที่ขออนุมัติโฆษณามากที่สุดคือ สื่ออินเตอร์เน็ต (ร้อยละ 41.9) รองลงมาคือแผ่นพับ (ร้อยละ 24.8) จำนวนโฆษณาที่ไม่ถูกต้องร้อยละ 82.9 ลักษณะข้อความที่ไม่ถูกต้องจำแนกได้ 7 กลุ่ม ดังนี้ 1) ใช้ข้อความเท็จหรือมีลักษณะเป็นการหลอกลวงหรือปกปิดความจริง ใช้ข้อความหรือรูปภาพ โอ้อวดเกินจริง 2) มีการโฆษณายา เครื่องมือแพทย์ หรือเครื่องสำอาง 3)มีการเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการรักษาโดยไม่ถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพ 4) มีข้อความให้ "ฟรี” “พิเศษ” หรือ “ให้ส่วนลด” โดยไม่กำหนดเงื่อนไขและรายละเอียดให้ชัดเจน 5) แจ้งบริการโรคที่ไม่มีอยู่ในสาขาที่ผู้ประกอบวิชาชีพมีหนังสืออนุมัติบัตรหรือวุฒิบัตร 6) แถมพก แลกเปลี่ยน ให้สิทธิประโยชน์ รางวัล หรือการเสี่ยงโชค และ 7) ใช้ภาพพรีเซนเตอร์ นักร้อง นักแสดง หรือบุคคลโดยไม่มีใบยินยอมหรือสัญญาที่ชัดเจน ลักษณะเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องที่พบมากที่สุดคือใช้ข้อความเท็จหรือมีลักษณะเป็นการหลอกลวงหรือปกปิดความจริง ใช้ข้อความหรือรูปภาพ โอ้อวดเกินจริง (ร้อยละ 69.0) รองลงมาคือ มีเนื้อหาการโฆษณา ยา เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง (ร้อยละ 17.1) สรุปผลจากการศึกษาครั้งนี้คือการโฆษณาสถานพยาบาลส่วนใหญ่ของจังหวัดนครราชสีมาส่วนใหญ่มีเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม จากผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปจัดทำคู่มือแนวทางการพิจารณาโฆษณาสถานพยาบาล ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลต่อไป เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านโฆษณาสถานพยาบาล
References
2. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. สํานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ. (2559). สรุปรายงานการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพประจําปี 2558 . นนทบุรี: สํานัก.
3. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. สํานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ. (2560). สรุปรายงานการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพประจําปี 2559 . นนทบุรี: สํานัก.
4. พระราชบัญญัติสถานพยาบาล. (2559). Retrieved June 2, 2018, from URL:/http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/law107-201259-41.pdf
5. กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2546เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโฆษณาสถานพยาบาล. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 120, ตอนพิเศษ 77 ง (ลงวันที่ 16กรกฎาคม 2546).
6. กระทรวงสาธารณสุข.ประกาศกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและค่าใช้จ่ายในการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 135, ตอนพิเศษ 21 ง (ลงวันที่ 30กรกฎาคม 2561).
7. ประกาศแพทยสภา ที่ 50/2549 เรื่องคำที่ห้ามใช้ในการโฆษณา.(2549) . Retrieved June 2, 2018, from URL:/ https://www.tmc.or.th/download/50_49.pdf
8. ระเบียบแพทยสภา เรื่อง การโฆษณาให้ส่วนลดหรือการให้ผลประโยขน์เป็นค่าตอบแทนของสถานพยาบาล. Retrieved June 2, 2018,
from URL:/ https://www.tmc.or.th/service_law03_11.php
9. กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องโรคหรืออาการของโรคที่ห้ามโฆษณา. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 130, ตอนพิเศษ 37 ง (ลงวันที่ 22มีนาคม 2556).
10. กระทรวงสาธารณสุข.ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการโฆษณาเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2553.ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 127, ตอนพิเศษ 143ง (ลงวันที่ 15ธันวาคม 2553).
11. Money hub. งบโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลปี 2558-2559 [ออนไลน์]. 2016 April 18th. Retrieved May 12, 2018 from URL:/https://moneyhub.in.th/article/digital-advertising-spend-2015-2016/
12. กรมสนับสนุนสุขภาพ. กรม สบส. คาดโทษ ปิดสถานเสริมความงาม หากทำผิดซ้ำซาก เตรียมเรียกสอบเอาโทษคลินิก กทม.กรณีโฆษณาเวอร์ จัดโปรต้องห้าม. Retrieved June 29, 2018 from URL:/http://hss.moph.go.th/show_topic.php?id=221
13. กรุงเทพธุรกิจ. ยอดร้องเรียน “ โฆษณาเกินจริง” มากสุดปี54. [ออนไลน์]. 2554 ธันวาคม 8 (หน้า12). Retrieved June 2, 2018 from URL:/https://www.consumerthai.org/main/index.php?option=com_content&view=article&id=1661:2011-02-28-04-57-06&catid=107:2010-07-14-03-30-38&Itemid=162
14. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. เตือนคลินิกเสริมความงามอย่าโฆษณาเกินจริง ตรวจเข้มมีนานี้ [ออนไลน์]. Retrieved May 11, 2018, from URL:/http://www.thaihealth.or.th/Content/4649-เตือนคลินิกเสริมความงามอย่าโฆษณาเกินจริง%20ตรวจเข้มมีนานี้.html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9