การประเมินผลระบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม เขตสุขภาพที่ 9

ผู้แต่ง

  • นภัค นิธิวชิรธร ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การประเมินผล, ระบบการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ, เขตสุขภาพที่ 9, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง การประเมินผลระบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ(Quantitative Research) และคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลระบบการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม และสังเคราะห์รูปแบบ/แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตสุขภาพที่ 9  ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบหรือดูแลงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ บุคลากรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แก่ ปลัดอำเภอหรือนักวิชาการองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุในพื้นที่ 4 จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 9 ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ สุ่มตัวอย่างจังหวัดละ 2 อำเภอโดยวิธีสุ่มแบบง่าย (simple random sampling) ข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บในกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุในอำเภอนั้น โดยเก็บข้อมูลทุกคนรวมทั้งสิ้นจำนวน 542 คน และกลุ่มผู้สูงอายุ 1,425 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพเก็บจังหวัดละ 1 พื้นที่  โดยจัดสนทนากลุ่มกับคณะกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระดับตำบล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้แทนนายกองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น ปลัดอำเภอ หรือนักวิชาการที่รับผิดชอบโครงการผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการท้องถิ่น ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้แทนอาสาสมัครสาธารณสุขหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุ และแกนนำผู้สูงอายุ เพื่อวิเคราะห์ประเมินผลระบบการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม โดยใช้กรอบแนวคิด CIPP Model ซึ่งประกอบด้วย การประเมินด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสำรวจการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุข แบบสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ และแบบสัมภาษณ์สนทนากลุ่มที่สร้างขึ้น ระยะเวลาการศึกษา ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ถึงพฤษภาคม 2561

ผลการศึกษา พบว่า 1) การประเมินด้านบริบท นโยบายประเทศและเขตสุขภาพด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่มวัยมีอย่างต่อเนื่อง และมุ่งมั่นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียงโดยมีเป้าหมายสำคัญ คือการป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีการเจ็บป่วย  พื้นที่มีการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ในระดับอำเภอมีการพัฒนา โดยแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่มีคุณภาพ สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย  2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีความพร้อมด้านบุคลากร แต่ยังขาดความพร้อมด้านทรัพยากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่  3) การประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีการกำหนดแผนและปฏิบัติงานตามแผน โดยมีคณะทำงานและการมีส่วนร่วมของภาคีหลักที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลแม่ข่าย อาสาสมัครสาธารณสุข/อาสาสมัครผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ ชุมชน มาร่วมหารือ กำหนดบทบาท สนับสนุนการจัดบริการ การคัดกรอง  4) การประเมินด้านผลผลิต พบว่า การประเมินผลการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ได้ดำเนินกิจกรรมค่อนข้างน้อยได้แก่ การนำความรู้ด้านสุขภาพผู้สูงอายุออกเผยแพร่ทางเสียงตามสายหรือหอกระจายข่าวค่อนข้างน้อยเพียงร้อยละ 48.5 แต่ได้ตรวจวัดความดันโลหิตและตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะแก่ผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 70.3  ของอาสาสมัครสาธารณสุขทั้งหมด  ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีรายได้จากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และจากบุตรหลาน มีดัชนีมวลกายปกติเพียงร้อยละ 37.0  พฤติกรรมสุขภาพพึงประสงค์ส่วนใหญ่มีการออกกำลังกายโดยมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 15 –30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์เพียงร้อยละ 20.0  รับประทานผักสด ผลไม้สด เป็นประจำ (3 - 4 วันต่อสัปดาห์) ร้อยละ 34.0  ดื่มน้ำได้ 8 แก้ว ทุกวัน/เกือบทุกวัน (5 - 7 วันต่อสัปดาห์) ร้อยละ 36.2  

ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ การดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมในเขตสุขภาพที่ 9 ประกอบด้วยนโยบายประเทศและเขตสุขภาพ  สถานการณ์และการเข้าถึงบริการ มีข้อมูลปัจจัยนำเข้าความพร้อมและเหมาะสมด้านอาสาสมัครสาธารณสุขที่ดูแลผู้สูงอายุ  การสนับสนุนการปฏิบัติงานจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข การมีทรัพยากร งบประมาณวัสดุอุปกรณ์ สถานที่  มีกระบวนการการกำหนดแผนและปฏิบัติงานตามแผน นำข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุมาแลกเปลี่ยน การเขียนโครงการของบประมาณด้วยการชี้แนะจากเจ้าหน้าที่ ดำเนินกิจกรรมสร้างสุขภาพและการจัดระบบบริการที่เข้าถึงผู้สูงอายุทั้ง 3 กลุ่ม จะส่งผลการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุต่อไป

Author Biography

นภัค นิธิวชิรธร, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

References

1. World Health Organization [WHO]. World Report on Ageing and Health [internet]. Luxembourg; 2015 [cited 2018 Nov 29]. Available from: https://www.who.int/ageing/events/world-report-2015-launch/en/
2. กรมกิจการผู้สูงอายุ. มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2562:16-19.
3. ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. รายงานประจำปี 2560 ศูนย์อนามัยที่ 9. [นคราชสีมา]: ศูนย์อนามัย; 2561.
4. คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์. แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545 - 2564). กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวิสย์; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.oppo.opp.go.th
5. บุญชิน เสาวภาภรณ์, ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ, ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์, และวรางค์ภรณ์ ไตรติลานันท์. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557:9(1): 47-59.
6. สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, วิชช์ เกษมทรัพย์, วิชัย เอกพลากร, และบวรศม ลีระพันธ์. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเวชศาสตรชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี; 2561.
7. เอกชัย เพียรศรีวัชรา, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, วิมล บ้านพวน, ธีระ ศิริสมุด, แก้วกุล ตันติพิสิฐกุล, ผศ.ดร.ลี่ลี อิงศรีสว่าง, ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์. รายงานการสำรวจผู้สูงอายุไทย. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพภายใต้แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการและสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. กรุงเทพฯ: วัชรินทร์ พี.พี.; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31