การพัฒนารูปแบบการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาวะเพื่อป้องกันการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุตามแนวคิด “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”
คำสำคัญ:
การคัดกรองสุขภาวะผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ, การป้องกันภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุบทคัดย่อ
แนวคิด “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย” เป็นแนวคิดที่กรมอนามัยใช้ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถคงสุขภาวะได้ยาวนานยิ่งขึ้น และป้องกันการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิง ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา จึงพัฒนารูปแบบการคัดกรองและกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวคิดดังกล่าวด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสาธารณสุข จำนวน 23 คน ระยะที่ 2 เป็นการปฏิบัติการใช้รูปแบบที่ถูกพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 86 คน และระยะที่ 3 เป็นการประเมินผลการพัฒนา ผลการวิจัยพบว่า การคัดกรองสุขภาวะของผู้สูงอายุประกอบด้วยการคัดกรอง 14 รายการ ผลการคัดกรองพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 57.0) มีการเดินและการทรงตัวปกติ (ร้อยละ 67.4) มีการมองเห็นปกติ (ร้อยละ 68.6) การประเมินสิ่งแวดล้อมภายในบ้านอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ร้อยละ 94.2) ไม่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม (ร้อยละ 68.6) การทดสอบสภาพสมองเสื่อมเบื้องต้นด้วย Mini-Mental State Examination-Thai Version (MMSE-Thai 2002) ปกติ (ร้อยละ 97.7) ไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า (ร้อยละ 93.0) ความดันโลหิตปกติ (ร้อยละ 77.9) และภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ร้อยละ 79.1) ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบความเข้มข้นเลือด น้ำตาลในเลือด และไขมันในเลือด อยู่ในเกณฑ์ปกติ (ร้อยละ 77.9, 52.3 และ 60.5 ตามลำดับ) แต่พบว่าส่วนใหญ่มีความผิดปกติจากการทดสอบสมรรถภาพสมองระยะต้นด้วย Montreal Cognitive Assessment Scale (MoCA) (ร้อยละ 59.3) ดัชนีมวลกาย (ร้อยละ 68.6) รอบเอว (ร้อยละ 82.6) และสุขภาพช่องปาก (ร้อยละ 94.2) ซึ่งมีผลต่อการ “ไม่ลืม” และ “กินข้าวอร่อย” ตามแนวคิดข้างต้น ส่วนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ ประกอบด้วยภาคทฤษฎีและฝึกทักษะปฏิบัติ ระยะเวลารวม 12 ชั่วโมง พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอย่างมากต่อกิจกรรม สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมต่อการลดความผิดปกติจากผลการคัดกรองสุขภาวะของตนเอง และต้องการนำความรู้และทักษะต่างๆ ไปเผยแพร่ต่อให้กับคนอื่นๆ
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. ม.ป.ท. [เข้าถึงเมื่อ 2563 พฤษภาคม 19]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275
Bernstein M, Luggen AS. Nutrition for the Older Adults. Massachusetts: Johns & Bartlett; 2010.
โครงการสุขภาพคนไทย. สุขภาพคนไทย 2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและป้องกันภาวะสมองเสื่อมสำหรับประชาชน “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
กานดาวสี มาลีวงษ์, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย, ยงยศ หัตถพรสวรรค์, ศรีสุดา สว่างสาลี, วณิดา มงคลสินธุ์, ภุชงค์ เสนานุช, และคณะ. ความรอบรู้สุขภาพของชมรมผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”: กรณีศึกษาเขตดอนเมือง. วารสารเกื้อการุณย์ 2561;25(2):119-36.
กระทรวงสาธารณสุข. การคัดกรองผู้สูงอายุ 10 เรื่อง [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2563 พฤษภาคม 19]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th
กันยารัตน์ อุบลวรรณ, อัจฉริยา พ่วงแก้ว, วิยะการ แสงหัวช้าง, กุลิสรา ขุนพินิจ. ปัจจัยทำนายความสุขของผู้สูงอายุในชุมชนที่มีโรคเรื้อรัง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2561;48(2):244-55.
Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planer. 3rd edition. Boston: Pearson; 1988.
นิกร ดุสิตสิน, ยุพา อ่อนท้วม. หลักการและแนวทางสำหรับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2546;17(2):99-110.
พุทธิพงษ์ พลคำฮัก, วินัฐ ดวงแสนจันทร์, อรุณรัตน์ ศรีทะวงษ์, ใหม่ทิพย์ สิทธิตัน. การศึกษาค่าตัดแบ่งที่เหมาะสมของการทดสอบการทรงตัวแบบเคลื่อนที่ในการทำนายความเสี่ยงต่อการล้มในผู้สูงอายุในชุมชน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2561;33(4):334-38.
Thiamwong L, Thamarpirat J, Maneesriwongul W, Jitapunkul S. Thai Falls Risk Assessment Test (Thai-FRAT) developed for community-dwelling Thai elderly. J Med Assoc Thai 2008;91(12):1823-31.
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE-Thai 2002. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2542.
Nasreddine Z. MoCA Test [Internet]. 2011 [Retrieved 2018 October 10]. Available from: https://www.mocatest.org/pdf_files/test/MoCA-Test-Thai.pdf
ณหทัย วงศ์ปการันย์, ทินกร วงศ์ปการันย์, เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา, ยุพาพรรณ ศิริอ้าย, คะนึงนิจ ไชยลังการณ์, วิรัตน์ นิวัฒนนันท์, และคณะ. คู่มือการดูแลผู้สูงวัย: สูตรคลายซึมเศร้า. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.
Christner S, Ritt M, Volkert D, Wirth R, Sieber CC, Gaßmann KG. Evaluation of the nutrition status of older hospitalised geriatric patients: a comparative analysis of a mini nutritional assessment (MNA) version and the nutrition risk screening (NRS 2002). J Hum Nutr Diet 2016:1-10.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก; 2557.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2560.
Cebolla EC, Rodacki ALF, Bento PCB. Balance, gait, functionality and strength: comparison between elderly fallers and non-fallers. Braz J Phys Ther 2015;19(2):146-51.
Pfortmueller CA, Lindner G, Exadaktylos AK. Reducing fall risk in the elderly: risk factors and fall prevention, a systematic review. Minerva Med 2014;105:275-81.
ศศินี อภิชนกิจ, อาภาพรรณ นเรนทร์พิทักษ์, อุไรลักษณ์ หมัดคง, ปิลันธนา อเวรา, ภัคณัฏฐ์ ผลประเสริฐ, อริศรา พิชัยภูษิต. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่องระยะแรกของศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี2562;27(2): 138-49.
Glanz K, Bishop DB. The role of behavioral science theory in development and implementation of public health interventions. Annu Rev Publ Health 2010;31:399-418.
สาวิตรี สิงหาด. การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2559;18(3):15-24.
นิธิรัตน์ บุญตานนท์, ศินาท แขนอก, นารีรัตน์ สุรพัฒนชาติ. ประสิทธิผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2562;13(30):1-14.
บุญเอื้อ ยงวานิชกร, ปิยะดา ประเสริฐสม. ความสัมพันธ์ของปัจจัยสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2554;16(1):57-73.
Somsak K, Kaewplung O. The effects of the number of natural teeth and posterior occluding pairs on the oral health-related quality of life in elderly dental patients. Gerontology 2016;33(1)52-60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9