การศึกษาการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นในอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์โดยใช้รูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • เก่ง สืบนุการณ์ โรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น, รูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพในการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นในอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ 2) ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมวัยรุ่นในอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อเป็นข้อเสนอแนะในแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อให้ข้อมูลสภาพปัญหาของการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และแนวทางการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น ในอำเภอศีขรภูมิ จำนวน 40 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เก็บข้อมูลเชิงปริมาณในการประเมินความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-6 โรงเรียนศีขรภูมิพิสัยและนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ จำนวน 600 คน โดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 25 ของประชากร ใช้การเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ประกอบด้วยนักเรียนจากโรงเรียนศีขรภูมิพิสัยจำนวน 202 คน และนักศึกษาจากวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิจำนวน 398 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมเชิงปฏิบัติการ การรวบรวมจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละและการวิเคราะห์เชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดโมเดลความรอบรู้ทางด้านสุขภาพทุกองค์ประกอบเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นได้ การทราบสาเหตุที่ชัดเจนจะช่วยให้สามารถกำหนดวิธีการหรือกิจกรรมที่ชัดเจน แก้ไขปัญหาได้ตรงกับสภาพปัญหาได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้สามารถแก้ไขและป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นคือการเสริมสร้างทักษะชีวิตและความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น เมื่อประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น โดยรวมอยู่ในระดับไม่ดีพอคิดเป็นร้อยละ 64.50 ระดับพอใช้ ร้อยละ 25.17 จึงมีข้อเสนอแนะในแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะของความรอบรู้ด้านสุขภาพ  เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นตามความสำคัญและจำเป็นในทุกองค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพ

Author Biography

เก่ง สืบนุการณ์, โรงพยาบาลพนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดสุรินทร์

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ (ด้านเวชกรรม) รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล

References

1. สุคนธ์ ไข่แก้ว. การตั้งครรภ์วัยรุ่น: การส่งเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2547;22(1):20-27.
2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2560.
3. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการพัฒนาและความมั่นคงมนุษย์. สถานการณ์การคลอดบุตรของวัยรุ่นไทย ปี 2555. [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาและความมั่นคงมนุษย์ [เข้าถึงเมื่อ 2 เม.ย. 2560] เข้าถึงได้จาก: http://www.msociety.go.th/article_attach/10430/15330.pdf
4. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. รายงานประจำปี 2552. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2553.
5. จรรยาวัฒน์ ทับจันทร์. พยาบาลชุมชนก้าวหน้า สุขภาพชุมชนก้าวไกล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปิ่นโตพับลิชชิ่ง; 2556.
6. วิทยาลัยพยาบาลมหาสารคาม. เอกสารหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต. มหาสารคาม: วิทยาลัยมหาสารคาม; 2555.
7. Shrestha S. Socio-cultural factors influencing adolescent pregnancy in rural Nepal. International Journal of Adolescent Medicine and Health 2002;14(2):101-9.
8. กองสุขศึกษา. แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพ (Health Literacy) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรม 3อ 2ส และลดเลี่ยง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
9. Nutbeam D. Health Promotion Glossary [Internet]. Geneva: World Health Organization; 1998 [cited 2019 Jun 2]. Available from: https://www.who.int/healthpromotion/about/HPR%20Glossary%201998.pdf
10. Manganello JA. Health literacy and adolescents: a framework and agenda for future research. Health Education Research 2008;23(5):840-847.
11. Edwards M, Wood F, Davies M, Edwards A. The development of health literacy in patients with a long-term health condition: the health literacy pathway model. BMC Public Health 2012;10(5):12-130.
12. กรมอนามัย. สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทย ปี 2556. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.
13. Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planer. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.
14. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. สถานการณ์การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นจังหวัดสุรินทร์ ปี 2558–2560. สุรินทร์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ (เอกสารอัดสำเนา); 2561.
15. อังศินันท์ อินทรกำแหง. การพัฒนาเครื่องมือวัด ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสำหรับสตรีไทยวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31