การประเมินผลโครงการบำบัดรักษาผู้เสพยาสูบด้วยยา Varenicline โรงพยาบาลปักธงชัย

ผู้แต่ง

  • สมบัติ วัฒนะ โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
  • ดรุณี คุณวัฒนา โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
  • ประเสริฐ พฤกษามาลา โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
  • สุระศักดิ์ กาบเมืองปัก โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
  • เสาวนีย์ พูนเจริญผล โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การประเมินผลโครงการ, การเลิกบุหรี่, การรักษา, ยา Varenicline

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการบำบัดรักษาผู้เสพยาสูบด้วยยา Varenicline โรงพยาบาลปักธงชัยใช้แนวคิดแบบจำลองการประเมินโครงการ CIPP ของ Stufflebeam ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรทีมบำบัด 8 คน ผู้เสพยาสูบบำบัดด้วยยา 22 คนและญาติ 3 คน ทบทวนเอกสารและแฟ้มเวชระเบียน 204 ราย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) สนทนากลุ่ม (Focus group discussion) การสังเกต (Observation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ผลการศึกษาพบว่า สถานบริการมีการจัดบริการช่วยเลิกเสพยาสูบอยู่แล้วใน “คลินิกปอดไร้ควัน” จึงเป็นการเพิ่มทางเลือกและโอกาสการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย ก่อนการดำเนินโครงการมีการประชุมชี้แจงโครงการให้ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับและบทบาทหน้าที่ของแต่ละวิชาชีพในการดำเนินงาน การจัดระบบบริการตามขั้นตอนที่กำหนดมีหลายขั้นตอนทำให้ยุ่งยากไม่สะดวกกับผู้รับบริการ จึงปรับเป็นบริการแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว โดยเน้นที่คลินิกผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงซึ่งมีการคัดกรองการเสพยาสูบทุกรายทำให้ส่งเข้ารับการบำบัดเพิ่มขึ้น ส่วนการติดตามไม่มีแนวทางชัดเจน หลังรับประทานยาผู้รับการบำบัดบางส่วนเกิดอาการข้างเคียงของยากระทั่งรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันจึงหยุดยาเองแต่มีบางรายสามารถหยุดเสพต่อเนื่องได้จากความตั้งใจมั่นคง ส่วนบางรายจึงกลับไปเสพซ้ำ จำนวนผู้เข้ารับการบำบัดเพศชาย ร้อยละ 96.57 อายุ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 27.94 สถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 58.38 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 48.04 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 57.35 ช่วงอายุ 11 – 20 ปี เริ่มเสพมากที่สุด ร้อยละ 91.18 สาเหตุที่เสพมากที่สุดเนื่องจากอยากลอง / อยากสูบ ร้อยละ 41.18 ระยะเวลาที่ใช้ตั้งแต่ 31 ปีขึ้นไปมากที่สุด ร้อยละ 61.77 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 67.65 โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงพบร้อยละ 29.71 สาเหตุที่ต้องการเลิกมากที่สุดเนื่องจากเจ็บป่วย / ด้านสุขภาพ ร้อยละ 76.96 ผู้เข้ารับการบำบัดประเมินภาวะนิโคตินอยู่ระดับการติดนิโคตินปานกลาง ร้อยละ 55.88 สามารถหยุดเสพได้นาน 3 เดือน ร้อยละ 10.30 (21 คน), นาน 6 เดือน ร้อยละ 33.33 (68 คน), นาน 12 เดือน ร้อยละ 20.58 (42 คน) ลดปริมาณการเสพลง ร้อยละ 28.92 (59 คน) ไม่สามารถหยุดเสพได้ ร้อยละ 6.86 (14 คน) ข้อเสนอแนะ ควรคัดกรองผู้เสพยาสูบในคลินิกโรคเรื้อรังอื่นๆทุกราย การให้คำแนะนำแบบสร้างแรงจูงใจในการเลิกยาสูบ จัดบริการแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว และการติดตามหลังการบำบัดโดยเครือข่ายในพื้นที่ และเสริมทักษะการเสริมแรงจูงใจให้กับทีมติดตาม

Author Biographies

สมบัติ วัฒนะ, โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ

ดรุณี คุณวัฒนา, โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ประเสริฐ พฤกษามาลา, โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

สุระศักดิ์ กาบเมืองปัก, โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

เสาวนีย์ พูนเจริญผล, โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

นักจิตวิทยาปฏิบัติการ

References

1. สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลก ปี 2554. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2555.
2. วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทย การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552. นนทบุรี: สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย; 2554.
3. สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2559 – 2562. กรุงเทพฯ: บริษัทไนซ์เอิร์ธ ดีไซน์ จำกัด; 2559.
4. สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา, สุรจิต สุนทรธรรม. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการบำบัดโรคเสพยาสูบในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่; 2556.
5. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤษภาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N30-08-61-2.aspx
6. Stufflebeam DL, Shinkfield AJ. Evaluation Theory: Models and Applications. [Internet]. San Francisco: Jossey Bass; 2007 [cited 2019 May 1]. Available from: https:// www.amazon.com/Evaluation-Theory-Models-Applications-Stufflebeam/dp/111806318X
7. ธีระพงษ์ ศรีศิลป์. ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาบาบัดโรคเสพยาสูบ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2557;10(3):256-268.
8. พรพิมล สระทองปัง, นันทนา เลิศประสบสุข. การนำนโยบายมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) ไปปฏิบัติในเขตตำบลห้วยม่วง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2561;10(1):354-366.
9. บุษริน เพ็งบุญ. การช่วยเลิกบุหรี่แบบการให้บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จในคลินิกโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาล 2557;63(1):43-47.
10. ณันฑิยา คารมย์, สุนิดา ปรีชาวงษ์. ปัจจัยทำนายการเลิกสูบบุหรี่ในระยะสั้นในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. พยาบาลสาร 2558;42(1):1-11.
11. ศิริวรรรณ พิทยรังสฤษฏ์, ปวีณา ปั้นกระจ่าง. รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2561. ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.
12. คทา บัณฑิตานุกูล, วิไล บัณฑิตานุกูล, ระพีพรรณ ฉลองสุข. ผลการให้บริการเลิกบุหรี่โดยเภสัชกรชุมชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. ไทยไภษัชยนิพนธ์ 2557;9(2):1-7.
13. สุนิดา ปรีชาวงษ์, ฟอระดี นุชส่งสิน, ศิริวรรรณ พิทยรังสฤษฏ์. การทบทวนวรรณกรรมเรื่องประสิทธิผลของการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2558;45(3):324-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31