การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการดูแลทันตสุขภาพของผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองได้ ในอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ปิยนาถ แก้วบัวพันธ์ โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การดูแลทันตสุขภาพ, ผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองได้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการดูแลทันตสุขภาพของผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองได้ และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมการดูแลทันตสุขภาพของผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองได้ในอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการสำรวจสภาพปัญหาในการดูแลทันตสุขภาพของผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองได้ศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วยกร่างและยืนยันร่างรูปแบบการส่งเสริมการดูแลทันตสุขภาพของผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และระยะที่สองเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการพัฒนา กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองได้ จำนวน 63 คนได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นรูปแบบการส่งเสริมการดูแลทันตสุขภาพของผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองได้ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้และแบบสัมภาษณ์การปฏิบัติตนเพื่อดูแลทันตสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสถิติด้วยการทดสอบ Wilcoxon signed ranks test

ผลการวิจัยพบว่าผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองได้มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและการปฏิบัติตัวเพื่อดูแลทันตสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ รูปแบบการส่งเสริมการดูแลทันตสุขภาพของผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองได้มีกระบวนการดำเนินงาน 5 ขั้น  คือ (1) การสำรวจและประเมินสุขภาพช่องปาก (2) การวางแผนแก้ไขปัญหา (3) การดำเนินงาน (4) การกำกับ ติดตามและปรับปรุง และ (5) การสรุปผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติงานหรือ SPIMA model ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่ารูปแบบโดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ สำหรับประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมการดูแลทันตสุขภาพของผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองได้ พบว่าหลังการพัฒนา ผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองได้มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพแตกต่างจากก่อนการพัฒนา  (p< 0.01) และการปฏิบัติตัวเพื่อดูแลทันตสุขภาพแตกต่างจากก่อนการพัฒนา (p< 0.01)

Author Biography

ปิยนาถ แก้วบัวพันธ์, โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ทันตแพทย์ ชำนาญการพิเศษ

References

1. ธนายุส ธนธิติ. โครงการวิจัยความพร้อมและการพัฒนาความพร้อมในการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคมสำหรับคนพิการขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2553.
2. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี; 2560.
3. ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. แนวทางการดูแลสุขภาพคนพิการสำหรับองค์กรในชุมชน. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2555.
4. ปิยนาถ แก้วบัวพันธ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลทันตสุขภาพของผู้พิการที่ช่วยเหลือตนได้ในอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด; 2558.
5. นราทิพย์ ไชยยา. การดูแลสุขภาพตนเองโดยใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้พิการเขตเทศบาลยางเนิ้ง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.
6. Walter D, Carey L, Carey JO. The Systematic Design of Instruction. 6th ed. Boston: Pearson; 2005.
7. Orem DE. A concept of self-care for the rehabilitation client. Rehabilitation Nurse 1985;10(3):33-6.
8. Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health Promotion in Nursing Practice. 6th ed. New Jersey: Pearson Education; 2011.
9. มนตรี จันทา. รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหวแบบมีส่วนร่วมตำบลหนองบัว อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
10. ไพโรจน์ ชลารักษ์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารราชภัฏตะวันตก 2549;1(1): 17-21.
11. ขัตพันธ์ ชุมนุสนธิ์. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการจัดการตนเองของคนพิการเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2559;8(2) กรกฎาคม–ธันวาคม:147-61.
12. ศันสณี รัชชกูล, พวงทอง ผู้กฤตยาคามี, สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา, ภัตติมา บุรพลกุล. การส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากคนพิการ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.
13. Krahn GL, Hammond L, Turner A. A Cascade of Disparities: Health and health care access for people with intellectual disabilities. Mental Retardation and Developmental Disabilities Research Review 2006;12(2): 70-82.
14. อัจฉรา คำมะทิตย์, มัลลิกา มากรัตน์. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: วิธีการปฏิบัติทีละขั้นตอน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3(3)กันยายน-ธันวาคม: 248-59.
15. ขวัญจิตร ชมพูวิเศษ. รูปแบบการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมสำหรับชมรมผู้สูงอายุ ตำบลเหล่าหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด; 2559.
16. Creer LT. Self-management of chronic illness. In: Boekaerts M, Printrich PR, Zeidner M, editors. Handbook of Self-regulation. San Diego, CA: Academic Press; 1999. p. 601-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30