ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของหญิงตั้งครรภ์ในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • จารุรักษ์ นิตย์นรา โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
  • ลาวรรณ ศรีสูงเนิน วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน, โรคเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของหญิงตั้งครรภ์ ในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ประชากรคือหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ในโรงพยาบาลสูงเนิน ปีงบประมาณ 2561 จำนวน 403 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอาศัยทฤษฎีความน่าจะเป็นโดยการสุ่มตามระดับชั้นภูมิ และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ตามกรอบแนวคิดของ PRECEDE-PROCEED Model ประกอบด้วย ปัจจัยนำ ปัจจัยสนับสนุน ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของหญิงตั้งครรภ์ คือ การปฏิบัติตนในการออกกำลังกาย และการปฏิบัติตนในการรับประทานอาหาร สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยโดยการทดสอบไคสแคว์ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เก็บข้อมูลวันที่ 1 กันยายน 2560 ถึง 31 ธันวาคม 2561

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่างอายุระหว่าง 20-24 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.50 ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสคู่ คิดเป็นร้อยละ 89.79 ส่วนใหญ่เป็นแม่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 42.50 ค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 36.92 มีภาวะอ้วน คิดเป็นร้อยละ 16.41 จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ จำนวน 2 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 38.26 น้ำหนักแรกเกิดลูกคนก่อนส่วนใหญ่ 3,000 กรัมขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 41.29 อายุครรภ์ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ส่วนใหญ่ อยู่ระหว่าง 1–3 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 6.81 การศึกษาส่วนใหญ่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คิดเป็นร้อยละ 36.22 รายได้ของครอบครัวส่วนใหญ่ ระหว่าง 5,001–10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 35.37 มีโรคประจำตัว คือ ภูมิแพ้ ธาลัสซีเมีย และไทรอยด์ ร้อยละ 16.67 มีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวานคิดเป็นร้อยละ 23.47 ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 52.55 การปฏิบัติตนเกี่ยวกับการออกกำลังกาย อยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 51.53 การปฏิบัติตนเกี่ยวกับการรับประทานอาหารอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 87.24 ครอบครัวให้การสนับสนุนอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 93.87  ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 92.03 ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยง อยู่ในระดับสูง ได้รับการประเมินภาวะแทรกซ้อนเพื่อส่งพบแพทย์ อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 58.67 ด้านปัจจัยนำ อาชีพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย (X2=17.16) อายุครรภ์ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ (X2=2.14, P-value = 0.03), (X2 = 1.33, P-value = 0.04) และระดับการศึกษา (X2 = 9.72, P-value = 0.03), (X2 = 6.72, P-value = 0.04) ตามลำดับ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายและพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างมีนัยสัมพันธ์ทางสถิติที่ 0.05 ปัจจัยสนับสนุน การสนับสนุนจากครอบครัว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสัมพันธ์ทางสถิติที่ 0.05 (X2 = 4.46, P-value = 0.05) ปัจจัยเสริมการคัดกรองภาวะเสี่ยง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังการกับการรับประทานอาหาร อย่างมีนัยสัมพันธ์ทางสถิติที่ 0.05 (X2 = 5.35, P-value = 0.01), (X2 = 3.98, P-value = 0.02) ตามลำดับ จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือ ควรใช้ระบบการฝากครรภ์คุณภาพเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดทำแผนพัฒนาระบบการฝากครรภ์แบบมีส่วนร่วมทุกระดับ  ข้อเสนอแนะเชิงพัฒนาคือ ควรใช้กระบวนการฝากครรภ์คุณภาพในการสอดแทรกให้เกิดการส่งเสริมความรู้ ทักษะ และการปฏิบัติในการป้องกันโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง และมีการส่งเสริมให้บุคลากรผู้ให้บริการงานอนามัยแม่และเด็ก มีความรู้ มีทักษะและมีการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาเพื่อประเมินความรู้ ทักษะ การปฏิบัติในการการให้บริการด้านการรับฝากครรภ์คุณภาพและการบริการในการป้องกันโรคเบาหวานของหญิงตั้งครรภ์ของบุคลากรในแต่ละระดับ

Author Biographies

จารุรักษ์ นิตย์นรา, โรงพยาบาลสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ลาวรรณ ศรีสูงเนิน, วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ จังหวัดนครราชสีมา

อาจารย์

References

1. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. อินซูลิน โครงการเผยแพร่ความรู้เรื่องเบาหวานสู่ประชาขน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คัลเลอร์ฮาร์โมนี่; 2547.
2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ. กลุ่มโรค NCDs “ภัยเงียบ” คร่าชีวิตคนไทย 73% ต่อปี. [อินเตอร์เน็ต]. 15 พฤษภาคม 2557 [เข้าถึงเมื่อ 30 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/24268 -กลุ่มโรค%20NCDs%20“ภัยเงียบ”%20คร่าชีวิตคนไทย%2073%20ต่อปี%20.html.
3. ธีระ ทองสง, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.
4. กรมควบคุมโรค. แนวทางการเฝ้าระวังโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหัวใจขาดเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและวัสดุภัณฑ์; 2556.
5. กรมอนามัย. คู่มือพิชิตอ้วน พิชิตพุง. นนทบุรี: เอ วี โปรเกรสซีฟ; 2552.
6. Green LW, Krueter MW. Health Program Planning: An educational and ecological approach. New York: McGraw-Hill; 2005.
7. Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30(3):607-10.
8. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น; 2535.
9. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เทคนิคการสร้างเครื่องมือและรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์; 2553.
10. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์และปกเจริญผล; 2540.
11. ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, อภิธาน พวงศรีเจริญ, อรวรรณ พินิจเลิศสกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ที่มี Glucose Challenge Test ผิดปกติ. Journal of Nursing Science 2016;34(2):58-69.
12. ชาญชัย บุญอยู่. ความชุกของโรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์ โรงพยาบาลบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา นครราชสีมา: เอกสารอัดสำเนา; 2553.
13. กาญจนา ศรีสวัสดิ์, อรพินท์ สีขาว. การดูแลหญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(2) พ.ค.–ส.ค.):50-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30