การพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมเพื่อลดความวิตกกังวลของผู้รับบริการทันตกรรม ในโรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ปิยนาถ แก้วบัวพันธ์ โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมเพื่อลดความวิตกกังวลของผู้รับบริการทันตกรรมในโรงพยาบาลเสลภูมิ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการสำรวจสภาพปัญหาความวิตกกังวลของผู้รับบริการทันตกรรมโดยการศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วยกร่างและยืนยันร่างรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และระยะที่สองเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับบริการทันตกรรมที่นัดล่วงหน้า จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน The State-Trait Anxiety Inventory (STAI Form) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมเพื่อลดความวิตกกังวลของผู้รับบริการทันต กรรม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างสัมพันธภาพประเมินความต้องการและการจัดเตรียมข้อมูล 2) ขั้นดำเนินการให้ข้อมูลการเตรียมความพร้อมผ่านสื่อต่าง ๆ 3) ขั้นทบทวนให้ข้อมูลเพิ่มเติมและการกล่าวลา หลังให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย  และ 4) ขั้นประเมินผล/ปรับปรุงหรือ RIRE Model และหลังการพัฒนา พบว่า ผู้รับบริการทันตกรรมที่นัดล่วงหน้ามีคะแนนความวิตกกังวลระดับสูงลดลง จำนวน 17 คน (ร้อยละ 28.33) ระดับปานกลางลดลง จำนวน 4 คน (ร้อยละ 28.33) และระดับต่ำเพิ่มขึ้น จำนวน 21 คน (ร้อยละ 35.00)

Author Biography

ปิยนาถ แก้วบัวพันธ์, โรงพยาบาลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ

References

1. รัตนา สายพานิชย์, ธนิตา หิรัญเทพ. โรควิตกกังวล. ใน: มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์, บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. 190-208.
2. Kennerley, H. Managing anxiety: A training manual. New York: Oxford University; 1990.
3. Spielberger CD, Vagg PR. Test anxiety: Theory, assessment, and treatment. Washington, DC: Taylor & Francis; 1995.
4. Struart GW, Sundeen SJ. Principle and practice of psychiatric nursing. 5th ed. St. Louis: Mosby; 1995.
5. Spielberger CD, Gorsuch RL. Manual for the state-trait anxiety inventory (STAI) for Y: self- evaluation questionnaire. Polo Alto, CA: Consulting Psychologists Press; 1983.
6. จีรภา ประพาศพงษ์. ความวิตกกังวลในการรักษาทางทันตกรรม กลุ่มผู้ใหญ่ในชนบท อายุ 35-44 ปี อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข คณะทันตแพทยศาสตร์] ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.
7. Quteish Taani DS. Dental anxiety and regularity of dental attendance in younger adults. J Oral Rehabil 2002;29(6): 604-8.
8. Skaret E, Raadal M, Berg E, Kvale G. Dental anxiety and dental avoidance among 12 to 18 years old in Norway. Eur J Oral Sci 1999;107(6): 422-8.
9. Schuller AA, Willumsen T, Holst D. Are there differences in oral health and oral health behavior between individuals with high and low dental fear?. Community Dent Oral Epidemiol 2003;31(2): 116-21.
10. Molter NC. Needs of relatives of critically ill patients : a descriptive study. Heart & Lung 1979;8(2): 332-9.
11. Perry MA, Furukawa JM. “Modeling Methods”. In: Kanfer FH, editor. Helping People Change. New York: Pergamon Press; 2000. 138-9.
12. อรุณศรี ชัยทองสกุล .(2557). ผลการให้ข้อมูลตามแนวทางการปฏิบัติของพยาบาลห้องผ่าตัดต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่เข้ารับการผ่าตัดในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2558;2(2): 29-40.
13. ดาราวรรณ ต๊ะปินดา. การลดความวิตกกังวลของพยาบาลประจำการที่ดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนความคิดร่วมกับการฝึกสติ. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2535.
14. สุทธินี วัฒนกลุ. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลและสนับสนุนการเยี่ยมอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนัก. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.
15. ทศพร แสงศรีจันทร. โปรแกรมความรู้และฝึกทักษะแก่ผู้ดูแลเพื่อลดความวิตกกังวลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน). วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 2558; 8(3): 572-95.
16. วรนุช ฤทธิธรรม, สมพร ชินโนรส. ผลการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมต่อความวิตกกังวลและความปวดในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง. วารสารเกื้อการุณย์ 2555; 19(2): 75-87.
17. เมธาพร ลัภโนปกรณ์, วนิดา จันทรวงศ์, ปิยะธิดา ทัพมงคล . ผลการใช้โปรแกรมการเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนต่อความรู้และพฤติกรรมในการปฏิบัติตนในหญิงตั้งครรภ์แรกที่ได้รับการระงับความรู้สึกโดยการฉีดยาชาผสมยาแก้ปวดทางช่องน้ำไขสันหลังเพื่อผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. ราชบุรี: โรงพยาบาลราชบุรี; 2554.
18. กาญจนา ผลเพิ่มพูนทวี. ผลของรูปแบบการให้ความรู้ผ่านสื่อในการเตรียมความพร้อมแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการส่องกล้องทางเดินอาหาร โรงพยาบาลระดับตติยภูมิในจังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการพยาบาล]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2555.
19. ลัดดาวัลย์ พรรณสมัย, จันศรี อุจันทึก, วราภรณ์ จีนเจนกิจ, นุชนาฎ บุโฮม, ปานทิพย์ ปูรณานนท์. การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยสูงอายุก่อนให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัด. ราชบุรี: โรงพยาบาลสระบุรี; 2557.
20. ธันยมัย ปุรินัย. ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทางช่องไขสันหลัง ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลศรีสะเกษ; 2556.
21. รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ, ศรีสุดา งามขำ, คงขวัญ จันทรเมธากุล, รัชสุรีย์ จันทเพชร, สาคร พร้อมเพราะ. ความต้องการข้อมูลของญาติผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2559; 30(1): 24-34.
22. Paper CK. Randomized controlled trial of preoperative information to improve satisfaction with cataract surgery. Br J Ophthalmol 2005; 89(1): 10-3.
23. Hatfield E, Rapson RL. Emotional Contagion. New York: Cambridge University Press; 2004.
24. Leventhal H, Johnson JE. Laboratory and field experiment of a theory of self-regulation in behavioral science and nursing. St Louis: Mosby; 1983.
25. Tel H, Tel H. The effect of individualized education on the transfer anxiety of patients with myocardial infarction and families. Heart Lung 2006; 35(2): 101-7.
26. ดวงดาว อรัญวาสน์, สิริรัตน์ ตรีพุทธรัตน์, เทพกร สาธิตการมณี, กชกร พลาชีวะ. ผลการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว. วิสัญญีสาร 2555; 38(2): 106-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30