ผลลัพธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยวิถีพุทธสำหรับผู้ใช้บริการกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปต่อโรคเบาหวาน กรณีศึกษาตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สมบัติ วัฒนะ โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
  • ดรรชนี สินธุวงศานนท์ โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, วิถีพุทธ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม ( One- group quasi Experimental Research) ซึ่งเป็นการศึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยวิถีพุทธสำหรับผู้ใช้บริการกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปต่อโรคเบาหวาน กรณีศึกษา ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานผู้ใช้บริการกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปต่อโรคเบาหวาน 2) พัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยวิถีพุทธผู้ใช้บริการกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปต่อโรคเบาหวาน  3) ศึกษาผลลัพธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยวิถีพุทธผู้ใช้บริการกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไปต่อโรคเบาหวาน

ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ใช้บริการในภาพรวมของ 20 รายการ อยู่ในระดับดี 11 รายการ ปานกลาง 4 รายการ พอใช้ 3 รายการ และดีมาก 2 รายการ คือ ข้อ 5 การรับประทานผักใบเขียว เช่น ใบคะน้า ใบชะพลู (gif.latex?\bar{x}=4.61, SD=0.70)  และข้อ 20 ความรู้สึกเบื่อหน่ายชีวิต (gif.latex?\bar{x}=4.57, SD=0.72) และผลการวิจัยในการพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยวิถีพุทธ แบ่งเป็น 3 ประการ พบว่า (1) ด้านผลต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรม ก่อนหลัง รายข้อ พบว่า การออกกำลังกายมีค่าเฉลี่ยเพิ่มมากที่สุด (2) การเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมในการดูแลตนเองรายคนพบว่า หลังการพัฒนามีแนวโน้มสูงขึ้น (3) ผลการเปลี่ยนแปลงทางกายพบว่า  ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก  ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย ค่าเฉลี่ยเส้นรอบเอว และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตลดลง แต่ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลเพิ่มขึ้น

สรุปผลการวิจัยได้ว่าผลลัพธ์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยวิถีพุทธมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น ดังนั้นควรนำเอากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยวิถีพุทธไปใช้กับกลุ่มอื่นๆให้กว้างขวางและต่อเนื่อง

Author Biographies

สมบัติ วัฒนะ, โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

นายแพทย์เชี่ยวชาญ (รักษาการ) ผู้อำนวยการ

ดรรชนี สินธุวงศานนท์, โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

References

1. กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปีสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2559. กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.
2. สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2553. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2554.
3. โรงพยาบาลปักธงชัย. สรุปรายงานประจำปี. นครราชสีมา: กลุ่มงานแผนงานและยุทธศาสตร์ โรงพยาบาลปักธงชัยว 2559.
4. พนิดา วสุธาพิทักษ์. การจัดการโรคเรื้อรังในชุมชน เวทีเสวนา “ร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน” ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ที คิว พี จำกัด; 2555.
5. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุขปี 2552. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2552.
6. Janz KN, Campion VL, Strecher VJ. The Health Belief Model. In Glanz K, Lewis FM, Rimer BK. (editors). Health Behavior and Health Education Theory: Research, and Practice. San Francisco: Jossey Bass; 2002. p. 45-53.
7. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิกจำกัด; 2548.
8. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2553.
9. สุพัชยา วิลวัฒน์. ความสัมพันธ์ของการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในญาติสายตรงของผู้ป่วยเบาหวานประเภท 2 [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.
10. Kalish H. Learning: Principles and Applications. New York: McGraw-Hill; 1981.
11. วันเพ็ญ สุทธิโกมินทร์, รุ่งรัศมี แก้วมั่น, สิรินันท์ ธิติทรัพย์. กระบวนการเสริมพลังในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไร้พุง. [อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 25 มกราคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://gotoknow.org/post/nurse station.
12. กาญจนา เตรียมธนาโชค. ศักยภาพในการอยู่กับปัจจุบันขณะของผู้ป่วยเบาหวาน [วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-30