คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตการทำงาน, บุคลากรสาธารณสุข, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านบริหาร ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตการทํางานของบุคลากร รพ.สต. เปรียบเทียบปัจจัยด้านบุคคลของบุคลากร รพ.สต. กับคุณภาพชีวิตการทํางาน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหาร ปัจจัยสิ่งแวดล้อม กับคุณภาพชีวิตการทํางานของบุคลากร และหาข้อเสนอแนะในการสร้างคุณภาพชีวิตการทํางาน ให้แก่บุคลากรใน รพ.สต. จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. จำนวน 130 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมกราคม ถึงมีนาคม พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, ANOVA และ Pearson,s Product Moment Correlation
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยการบริหารของ รพ.สต. อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนปัจจัยสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับสูง บุคลากรสาธารณสุขใน รพ.สต.มีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล กับคุณภาพชีวิตการทํางาน พบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงาน ณ รพ.สต.ปัจจุบัน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P-value > 0.05) ปัจจัยการบริหาร มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.01) กับคุณภาพชีวิตการทํางานของบุคลากร รพ.สต. ในระดับสูง (r = 0.73) โดยปจจัยการบริหาร ด้านการบริหารจัดการ และด้านลักษณะงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.01) ในระดับปานกลาง (r = 0.66 และ 0.54) ตามลำดับ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.01) กับคุณภาพชีวิตการทํางานในระดับสูง (r = 0.75) โดยปัจจัยสิ่งแวดลอมด้านสถานที่ ด้านคน ด้านระบบการทำงาน และด้านวัฒนธรรมองค์กร มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.01) ในระดับปานกลาง (r = 0.52, 0.68, 0.69 และ 0.60) ตามลำดับ ในการสร้างคุณภาพชีวิตการทํางานให้แก่บุคลากร รพ.สต. มีข้อเสนอว่าควรปรับปรุงหรือสร้างสภาพแวดล้อมของ รพ.สต.ให้ดีขึ้น พิจารณาเพิ่ม/เกลี่ยอัตรากำลังคนใน รพ.สต.ให้เหมาะสมขึ้น และควรจัดอบรม/ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ได้เพิ่มพูนความรู้ในการทำงานเพิ่มขึ้น
จากผลวิจัยดังกล่าว ควรพัฒนาให้บุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และปรับปรุงปัจจัยการบริหาร และปัจจัยสิ่งแวดล้อม ของ รพ.สต.ให้ดีขึ้น
References
2. นฤดล มีเพียร. คุณภาพชีวิตการทํางานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัทการบินไทย จํากัด. [วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบันฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร; 2551.
3. อาทิตติยา ดวงสุวรรณ. การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการกับพนักงานมหาวิทยาลัย กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วารสารวิทยบริการ 2551;19(2): 1-15.
4. ประภาพรรณ สิทธิเวช. คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกระบี่. กระบี่: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่; 2556.
5. ดาลัด จันทรเสนา. ปัจจัยที่มีผลตอคุณภาพชีวิตการทํางานของบุคลากรสาธารณสุขในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดลําพูน. [วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบันฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.
6. ตั้ม บุญรอด, วิชชาดา สิมลา, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, บุญเรือง ขาวนวล, พลภัทร ทรงศิริ. คุณภาพชีวิตการทํางานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน. 2554, 1463-8.
7. วิรัช ขาวคม. คุณภาพชีวิตของพนักงาน วี. เค. ซัพพลาย แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด. [การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารรัฐกิจ]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2550.
8. Werther WB, Davis K. Personal Management and Human Resource. Tokyo: McGraw-Hill; 1982.
9. อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม. หลักการและกระบวนการด้านสาธารณสุขในการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานสาธารณสุข หน่วยที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2554.
10. พิมลวรรณ พงษ์สวัสดิ์. ความคาดหวังหลังปรับระบบราชการ. วารสารข้าราชการ 2555;37(2).
11. วินิจ เกตุขํา. มนุษยสัมพันธ์สําหรับผู้บริหารยุคใหม่. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2555.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9