ความชุกของโรคความดันโลหิตสูง และการเข้าถึงระบบบริการทางการแพทย์ ในกลุ่มวัยทำงานภายใต้สิทธิประกันสังคม จังหวัดนครราชสีมา 2561
คำสำคัญ:
ความชุกของโรคความดันโลหิตสูง, การเข้าถึงระบบบริการ, กลุ่มวัยทำงาน, สิทธิประกันสังคมบทคัดย่อ
การศึกษาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของโรคความดันโลหิตสูงตามเกณฑ์การวินิจฉัยใหม่ของ American Heart Association 2017 และวิเคราะห์การเข้าถึงบริการทางการแพทย์โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงปริมาณถูกเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากสถานประกอบการ 4 แห่ง ภายใต้สิทธิประกันสังคม จังหวัดนครราชสีมา มีพนักงานจำนวน 6,657 คน เก็บข้อมูลได้ 6,033 คน (ร้อยละ 90.6) ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงคุณภาพแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแทนพนักงานที่เคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงแต่รักษาไม่ต่อเนื่อง จำนวน 10 คน ตัวแทนพนักงานที่เคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงแต่รับยาไม่ต่อเนื่อง จำนวน 10 คน ตัวแทนผู้จัดการฝ่ายบุคคลและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในโรงงานแห่งละ 2 คน รวม 8 คน และกลุ่มตัวแทนผู้บริหารและผู้รับผิดชอบด้านการจัดระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลแห่งละ 2 คน รวม 4 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาความชุกของโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มวัยทำงานที่มีสิทธิประกันสังคม จังหวัดนครราชสีมา พบว่าตามเกณฑ์การวินิจฉัยใหม่ (130/80 mmHg) มีความชุกร้อยละ 49.3 และตามเกณฑ์การวินิจฉัยเดิม (140/90 mmHg) มีความชุกร้อยละ 11.6 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยความชุกของประเทศ (ร้อยละ 24.7) สัดส่วนในเพศชายสูงกว่าเพศหญิง สอดคล้องกับข้อมูลของประเทศ สำหรับการเข้าถึงระบบบริการและรับยารักษาโรคต่อเนื่องตามนิยามโรคความดันโลหิตสูงเดิม พบเพียงร้อยละ 3.7 ดังนั้นการปรับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงให้เร็วขึ้นเพื่อนำมาสู่กระบวนการรักษาและลดภาวะแทรกซ้อนของโรคอาจจะไม่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบบริการ ทางการแพทย์ให้สอดคล้องกับบริบทการทำงานของสถานประกอบการ และช่วงเวลาทำงานของบุคลากรสาธารณสุข นอกจากนี้การใช้กลไกทางการเงินกระตุ้นให้กับหน่วยบริการทางการแพทย์จัดหน่วยบริการเชิงรุก ในสถานที่ทำงาน รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบสวัสดิการเพื่อให้พนักงานสามารถลาป่วยได้ในกลุ่มโรคเรื้อรังอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือนโดยไม่ถือเป็นวันลา และควรเพิ่มช่องทางการสื่อสารให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานมีความตระหนักรู้ ให้ความสำคัญกับการรักษาพยาบาลที่ต่อเนื่อง
References
hypertension-fs.pdf.
2. Matthew R Alexander. Hypertension Guidelines; 2018 (cited 2018 June 10) Available from :URL: https://emedicine.medscape.com/article/241381-guidelines.
3. พีระ บูรณะกิจเจริญ, ประเสริฐ อัสสันตชัย, วิไล พัววิไล, สุรพันธ์ สิทธิสุข, อนุตตร จิตตินันทน์, ยงชัย นิละนนท์ และ วีรนุช รอบสันติสุข. แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป 2558 สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 มิ.ย.61] เข้าถึงได้จากhttp://www.thaihypertension.org/files/GL%20HT%202015.pdf.
4. Nishimura RA, Otto CM, Bonow RO, Carabello BA, Erwin JP 3rd, Fleisher LA, Jneid H, Mack MJ, McLeod CJ, O’Gara PT, Rigolin VH, Sundt TM 3rd, Thompson A. 2017 AHA/ACC focused update of the 2014 AHA/ACC guideline for the management of patients with valvular heart disease: a report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Clinical Practice Guidelines. Circulation. 2017;135:e1159–e1195. DOI: 10.1161/CIR.0000000000000503. (cited 2018 June 10).
5. Guo X, Zhang X, Guo L, Li Z, Zheng L, Yu S, et al. Association between pre-hypertension and cardiovascular outcomes: a systematic review and meta-analysis of prospective studies. CurrHypertens Rep. 2013 Dec; 15(6):703-16.
6. Huang Y, Wang S, Cai X, Mai W, Hu Y, Tang H, et al. Prehypertension and incidence of cardiovascular disease: a meta-analysis. BMC Med. 2013 Aug 2;11:177.
7. Huang Y, Cai X, Li Y, Su L, Mai W, Wang S, et al. Prehypertension and the risk of stroke: a meta-analysis. Neurology. 2014 Apr 1;82(13):1153-61.
8. Huang Y, Su L, Cai X, Mai W, Wang S, Hu Y, et al. Association of all-cause and cardiovascular mortality with prehypertension: a meta-analysis. Am Heart J. 2014 Feb;167(2):160-168.e1.
9. Lee M, Saver JL, Chang B, Chang KH, Hao Q, Ovbiagele B. Presence of baseline prehypertension and risk of incident stroke: a meta-analysis. Neurology. 2011 Oct 4;77(14):1330.
10. วิชัย เอกพลากร; วรรณี นิธิยานันท์; บัณฑิต ศรไพศาล; ปานเทพ คณานุรักษ์. แนวโน้มผลสัมฤทธิ์หลักประกันสุขภาพจากการสำรวจสุขภาพคนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557[อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟิกแอนด์ดีไซน์, 2559. [สืบค้นเมื่อ 15 มิ.ย.61]. เข้าถึงได้จาก : http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4604.
11. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2561 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพ. [สืบค้นเมื่อ 10 มิ.ย.61]. เข้าถึงได้จาก : URL: www.nso.go.th.
12. Kuttiyawithayakoon S, Pruankratoke U, Mungaomrlang A. Strengthening of occupational health surveillance and prevention system using social enterprise concept. Journal of Health Science. 2014(23):719-29.Thai (Cited 2018 June 18) Available from: URL http://thailand.digitaljournals.org/tdj/index.php/JHS/article/view/738.
13. Nithiapinyasakul A, Mungaomklang A, Pruankratoke U, Na-Lampang P, North CE, Puthavathana P. Non-pharmaceutical control measures in response to a large cluster of influenza A(H3N2) in a workplace, northeastern Thailand, August-September 2015. OSIR. 2018 Jun;11(2):1-9.(Cited 2018 June 18) Available from :URL http://www.osirjournal.net/index.php/osir/article/view/118.
14. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน.กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างและ ส่งผลการตรวจแก่พนักงานนตรวจแรงงาน พ.ศ.2547 [อินเตอร์เน็ต]. 2547 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ค.61]. เข้าถึงได้จาก : http://www.mol.go.th/sites/default/files/laws/th/00151640.pdf.
15. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. กฎกระทรวงวาด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 [อินเตอร์เน็ต]. 2548 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ค.61]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.labour.go.th/th/doc/law/desc_welfare_2548.pdf.
16. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2561 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์ ; 2561 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ค.61]. เข้าถึงได้จาก : https://www.nhso.go.th/files/userfiles/file/2017/005/N007.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9