การจัดการสิ่งปฏิกูลในเขตเทศบาล พื้นที่เขตสุขภาพที่ 9

ผู้แต่ง

  • สมรัฐ นัยรัมย์ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

คำสำคัญ:

สิ่งปฏิกูล, เขตเทศบาล, เขตสุขภาพที่ 9

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลในเขตสุขภาพที่ 9 กลุ่มตัวอย่างเป็นเทศบาล จำนวน 143 แห่ง เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 4 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ส่งไปยังผู้รับผิดชอบงานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลและขอความร่วมมือให้ตอบกลับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเป็นเทศบาลตำบล ร้อยละ 94.4 มีจำนวนประชากรระหว่าง 5,001-10,000 คน มากที่สุด ร้อยละ 43.4 มีปริมาณการเกิดสิ่งปฏิกูล 1,414,447.5 ลิตรต่อวัน มีการให้บริการเก็บขนสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 60.1 ที่เหลือเป็นลักษณะการให้บริการที่ยังไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ลักษณะของการให้บริการเป็นรูปแบบของการอนุญาตให้ผู้อื่นทำเป็นธุรกิจโดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ มากที่สุด ร้อยละ 88.1 ส่วนการกำจัดสิ่งปฏิกูลพบว่า มีเทศบาลเพียงแห่งเดียวที่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูล ได้แก่ เทศบาลนครนครราชสีมาเป็นระบบแบบหมักร่วมระหว่างขยะอินทรีย์และสิ่งปฏิกูล และเทศบาลที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลยังไม่มีแผนในการก่อสร้างระบบกำจัด จากผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของการจัดการสิ่งปฏิกูลที่ยังไมได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง เทศบาลในฐานะที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลควบคุมกำกับ จะต้องออกเทศบัญญัติในการกำหนดสุขลักษณะของการการเก็บ ขนและกำจัดสิ่งปฏิกูล แต่จากการศึกษาพบว่า เทศบาลร้อยละ 88.1 ดำเนินการออกเทศบัญญัติเพื่อควบกำกับการจัดการสิ่งปฏิกูล ส่วนที่เหลือ ร้อยละ 11.9 ยังไม่ดำเนินการออกเทศบัญญัติในการควบคุมการจัดการสิ่งปฺฏิกูล และเทศบาลที่ออกเทศบัญญัติยังไม่สามารถควบคุมกำกับการจัดการสิ่งปฏิกูลได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเทศบาลควรให้ความสำคัญในการจัดการสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ออกเทศบัญญัติในการควบคุมการจัดการสิ่งปฏิกูลในพื้นที่ พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลอย่างถูกหลักสุขาภิบาล

Author Biography

สมรัฐ นัยรัมย์, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

References

1. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2557.
2. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวิชาการอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับเจ้าหน้าที่. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2558.
3. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์อนามัยสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ปี 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น); 2559.
4. วีระศักดิ์ สืบเสาะ. การจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต] ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
5. สมรัฐ นัยรัมย์. การจัดการสิ่งปฏิกูล เขตบริการสุขภาพที่ 9 [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2559 เมษายน 20]. เข้าถึงได้จาก: http://hpc9.anamai.moph.go.th/more_news.php?offset=20&cid=32&filename=home_sl
6. พัฒนา มูลพฤกษ์. อนามัยสิ่งแวดล้อม ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.
7. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาส้วมสาธารณะไทย ปีงบประมาณ 2559. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
8. AECOM International Development, the Department of Water and Sanitation in Developing Countries (Sandec) at the Swiss Federal Institute of Aquatic Science and Technology (Eawag). A Rapid Assessment of Septage Management in Asia [Internet]. 2010 [cited 2012 April 25]. Available from: http://pdf.usaid.gov/pdf_docs/Pnads118.pdf. 2010.
9. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดการสิ่งปฏิกูล (แบบครบวงจร) พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2558.
10. กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555- 2559. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555
11. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2552.
12. สุภาภรณ์ หลักรอด และคณะ. สถานการณ์การจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลภาคกลางตะวันตก ปี 2549 [อินเตอร์เน็ต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อ 2559 เมษายน 25]. เข้าถึงได้จาก: http://hpc4.go.th/rcenter//_fulltext/20130315114253_4565/fullsupapron.pdf.
13. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2559 เมษายน 30]. เข้าถึงได้จาก: http://foodsan.anamai.moph.go.th/ewtadmin/ewt/foodsan/ewt_dl_link.php?nid=1321&filename=EHA_imp.
14. ฐาปนะ วิชัย. สถานการณ์การออกข้อกำหนดท้องถิ่น เขตสุขภาพที่ 9 [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2559 เมษายน 25]. เข้าถึงได้จาก: http://hpc9.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=369.

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31