การประเมินผลกระทบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน บริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ศมกานต์ ทองเกลี้ยง ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
  • กรวิภา ปุนณศิริ กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย
  • กุลสตรี ชัชวาลกิจกุล กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย

คำสำคัญ:

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ, อนามัยสิ่งแวดล้อม, ประชาคมอาเซียน

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการประเมินผลกระทบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน บริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในพื้นที่จุดผ่านแดน และความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่  เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน  โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยศึกษาระหว่างเดือน เมษายน 2559 – มีนาคม 2560

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เคยรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับจุดผ่านแดน ร้อยละ 32.4  โดยทราบข่าวจากการกระจายข่าวของภาครัฐ ร้อยละ 36.0 จากผู้นำชุมชน ร้อยละ 28.0 และทราบว่าชุมชนที่อาศัยอยู่จะถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการค้าชายแดนระหว่างประเทศ ร้อยละ 74.0  ส่วนการรับรู้และความพึงพอใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่เกิดขึ้นแล้วหรือจะเกิดขึ้นในบริเวณจุดผ่านแดน พบว่า ส่วนใหญ่รับรู้และพึงพอใจด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาการท่องเที่ยว  สำหรับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตเมื่อมีการพัฒนาพื้นที่จุดผ่านแดนด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เห็นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงในเรื่อง ขยะ น้ำเสีย คุณภาพน้ำประปา น้ำฝน ฯลฯ  สำหรับสถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในพื้นที่จุดผ่านแดน พบว่า อบต.ด่าน ซึ่งมีจุดผ่านแดนถาวรช่องจอมตั้งอยู่ มีปริมาณมูลฝอยประมาณ 5-10 ตัน/วัน  กำจัดโดยการฝังกลบอย่างไม่ถูกหลักสุขาภิบาล  และมีการลักลอบทิ้งขยะในที่สาธารณะ โดย   เทกองทิ้งในที่โล่ง  ด้านการจัดการสิ่งปฏิกูล มีการจัดบริการสูบสิ่งปฏิกูลในพื้นที่โดยอนุญาตเอกชนดำเนินการ 3 ราย กำจัดโดยทิ้งในที่ดินของตนเองและที่ดินเช่าจากเอกชน ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำประปา พบว่า พารามิเตอร์ที่เกินเกณฑ์ค่ามาตรฐานส่วนใหญ่ได้แก่ โคลิฟอร์มแบคทีเรีย และฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และจากการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่ายังมีปัญหาเรื่องขยะทั้งที่มาจากตลาดและในชุมชน ปัญหาควันจากเตาเผาขยะและปัญหาขาดที่กำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะ ปัญหาน้ำเสียจากการลักลอบซักผ้ามือสอง และยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ สำหรับความคาดหวังต่อการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐที่มีผลต่อการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมคือ อยากให้มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำประปา รวมทั้งมีระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนที่ได้มาตรฐาน  มีการจัดการขยะในชุมชนให้ถูกสุขลักษณะ  และมีการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคให้เพียงพอกับความต้องการในอนาคต 

ข้อเสนอแนะ  ควรมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่ครอบคลุมพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารด้านการพัฒนาจุดผ่านแดนอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง  และ อบต.ด่าน ควรเตรียมการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมภายใต้กฎหมายสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จุดผ่านแดน และควรมีการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน เช่น การจัดการขยะ การบำบัดน้ำเสีย การกำจัดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

Author Biographies

ศมกานต์ ทองเกลี้ยง, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

การศึกษาเรื่องการประเมินผลกระทบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน บริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในพื้นที่จุดผ่านแดน และความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่  เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน  โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยศึกษาระหว่างเดือน เมษายน 2559 – มีนาคม 2560

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เคยรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับจุดผ่านแดน ร้อยละ 32.4  โดยทราบข่าวจากการกระจายข่าวของภาครัฐ ร้อยละ 36.0 จากผู้นำชุมชน ร้อยละ 28.0 และทราบว่าชุมชนที่อาศัยอยู่จะถูกพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการค้าชายแดนระหว่างประเทศ ร้อยละ 74.0  ส่วนการรับรู้และความพึงพอใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่เกิดขึ้นแล้วหรือจะเกิดขึ้นในบริเวณจุดผ่านแดน พบว่า ส่วนใหญ่รับรู้และพึงพอใจด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาการท่องเที่ยว  สำหรับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตเมื่อมีการพัฒนาพื้นที่จุดผ่านแดนด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เห็นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลงในเรื่อง ขยะ น้ำเสีย คุณภาพน้ำประปา น้ำฝน ฯลฯ  สำหรับสถานการณ์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในพื้นที่จุดผ่านแดน พบว่า อบต.ด่าน ซึ่งมีจุดผ่านแดนถาวรช่องจอมตั้งอยู่ มีปริมาณมูลฝอยประมาณ 5-10 ตัน/วัน  กำจัดโดยการฝังกลบอย่างไม่ถูกหลักสุขาภิบาล  และมีการลักลอบทิ้งขยะในที่สาธารณะ โดย   เทกองทิ้งในที่โล่ง  ด้านการจัดการสิ่งปฏิกูล มีการจัดบริการสูบสิ่งปฏิกูลในพื้นที่โดยอนุญาตเอกชนดำเนินการ 3 ราย กำจัดโดยทิ้งในที่ดินของตนเองและที่ดินเช่าจากเอกชน ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำประปา พบว่า พารามิเตอร์ที่เกินเกณฑ์ค่ามาตรฐานส่วนใหญ่ได้แก่ โคลิฟอร์มแบคทีเรีย และฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย และจากการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่ายังมีปัญหาเรื่องขยะทั้งที่มาจากตลาดและในชุมชน ปัญหาควันจากเตาเผาขยะและปัญหาขาดที่กำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะ ปัญหาน้ำเสียจากการลักลอบซักผ้ามือสอง และยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ สำหรับความคาดหวังต่อการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐที่มีผลต่อการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมคือ อยากให้มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำประปา รวมทั้งมีระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนที่ได้มาตรฐาน  มีการจัดการขยะในชุมชนให้ถูกสุขลักษณะ  และมีการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคให้เพียงพอกับความต้องการในอนาคต 

ข้อเสนอแนะ  ควรมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่ครอบคลุมพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารด้านการพัฒนาจุดผ่านแดนอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง  และ อบต.ด่าน ควรเตรียมการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมภายใต้กฎหมายสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จุดผ่านแดน และควรมีการดำเนินงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐาน เช่น การจัดการขยะ การบำบัดน้ำเสีย การกำจัดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

กรวิภา ปุนณศิริ, กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย

นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

กุลสตรี ชัชวาลกิจกุล, กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย

นักวิชาการสาธารณสุข

References

1. กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. ประชาคมอาเซียน. 2556. เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2559. จาก URL: http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/asean-media-center-20130104-171510-396945.pdf
2. รัตติกร สมฤทธิ์. ผลกระทบทางสุขภาพของประชาชนจากการเปิดตลาดการค้าชายแดนไทย-ลาว ณ จุดผ่อนปรนบ้านฮวก กิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา การค้นคว้าอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2546.
3. มธุรดา สมัยกุล. แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดน: กรณีศึกษาตลาดมิตรภาพ ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31