ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 9 ปี 2560
คำสำคัญ:
พัฒนาการเด็ก, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเแบบพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัย และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 9 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ เด็กปฐมวัย อายุ 9 เดือนถึง 5 ปี 11 เดือน 29 วัน และบิดา มารดา หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ในเขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 794 คน สุ่มตัวอย่างเป็นขั้นลำดับแบบ Three-Stages Custer Sampling เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก แบบสอบถามสถานการณ์พัฒนาการและพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กของครอบครัวไทย และประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้เครื่องมือ Denver II เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กโดยใช้วิธีการถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ (Multiple Logistic Regression)
ผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัยรวมร้อยละ 66.9 จำแนกรายด้านพบว่า ด้านสังคมและการช่วยเหลือตนเองสมวัยร้อยละ 91.7 ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กสมวัยร้อยละ 92.3 ด้านภาษาสมวัยร้อยละ 76.1 และกล้ามเนื้อมัดใหญ่สมวัยร้อยละ 93.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยพิจารณารายด้านดังนี้ ปัจจัยด้านมารดา พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ระดับ p-value < 0.05 ได้แก่ อายุมารดา ระดับการศึกษา การได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน และประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ของมารดา ปัจจัยด้านเด็กปฐมวัย พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ระดับ p-value < 0.05 ได้แก่ น้ำหนักแรกเกิด การมีโรคประจำตัว และเคยป่วยเป็นโรคปอดบวม และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ระดับ p-value < 0.05 ได้แก่ ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และการเล่าหรืออ่านนิทานให้เด็กฟัง
ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัย 1) ควรมีการพัฒนาระบบบริการแม่และเด็กให้มีคุณภาพ เช่นเพิ่มแนวทางให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งคุณภาพ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตามมาตรฐานและการส่งเสริมโภชนาการที่เหมาะสมขณะตั้งครรภ์ รวมถึงแนวทางการดำเนินการเพื่อป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เพื่อป้องกันการเกิดทารกแรกเกิด น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม และการส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้วยการพัฒนากระบวนการ กิน กอด เล่น เล่า ในผู้ที่เกี่ยวข้อง 2) ควรมีการกำหนดแนวทางในการติดตามและเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กปฐมวัย
References
2. Bee H. The growing child. New York: Harper Collins College Publishers; 1995.
3. Chen X et al. Parental warmth, control, and their relations to adjustment in Chinese children: a longitudinal study. Journal of Family Psychology 2000;14(3): 401-419.
4. ศิริกุล อิศรานุรักษ์ และคณะ. รายงานการวิจัยโครงการการพัฒนาระดับสติปัญญาเด็กวัยต่างๆของประเทศระยะที่ 1: การวิเคราะห์สถานการณ์. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.
5. ไสวรรณ ไผ่ประเสริฐ และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิดถึง 3 ปี ในเขตตรวจรายการ
สาธารณสุขที่ 18. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2556;(4): 286-94.
6. วิชัย เอกพลากร. คู่มือการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.
7. จินตนา พัฒนพงศ์ธร และคณะ. การศึกษา “พัฒนาการของเด็กปฐมวัยไทย ปี 2557”. นนทบุรี: กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2557.
8. ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย. เด็กเขต 9 พัฒนาการสมวัย IQ เกิน 100. มปป. (เอกสารอัดสำเนา).
9. เยาวรัตน์ รัตน์นันต์. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 8; [อินเตอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 2560 ธันวาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: http://164.115.22.94/info.php?info_id=2155&group_photo=&SUBORG_ID=0
10. Frankenfield G. Chronic Illness May Affect a Child’s Social Development [Internet]. 2000 [cited 2017 December 10]. Available from: http://children.webmd.com/news/20000622/chronic-illness-development/
11. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. บริการฝากครรภ์คุณภาพครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2560 ธันวาคม 10]. เข้าถึงได้จาก: healthdata.moph.go.th/kpi/2555/KpiDetail.php?topic
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9