การเปรียบเทียบสภาวะโรคฟันผุระหว่างการได้รับฟลูออไรด์วาร์นิชอย่างสม่ำเสมอกับการได้รับไม่สม่ำเสมอในเด็ก 3 ขวบ อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ฟันผุ, ฟลูออไรด์วาร์นิชบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาวะการเกิดโรคฟันผุระหว่างการได้รับฟลูออไรด์วาร์นิชอย่างสม่ำเสมอ กับการได้รับไม่สม่ำเสมอ กลุ่มตัวอย่างได้แก่เด็กอายุ 3 ปีที่สุ่มตัวอย่างแบบมีระบบจำนวน 221 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกการตรวจสภาวะโรคฟันผุในเด็กอายุ 3 ปี ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนคือข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลสภาวะโรคฟันผุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสภาวะโรคฟันผุ (dmft) โดยใช้สถิติสำหรับการวิเคราะห์แบบนอนพาราเมตริก Mann-Whitney U test ได้ผลการวิจัยดังต่อไปนี้
เด็กในกลุ่มที่ได้รับฟลูออไรด์วาร์นิช มีฟันสะอาดปราศจากฟันผุร้อยละ 36.8 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด (dmft)เท่ากับ 3.05 ซี่/คน ส่วนในกลุ่มเปรียบเทียบ มีฟันสะอาดปราศจากฟันผุ ร้อยละ 21.7 และมีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด (dmft) เท่ากับ 4.06 ซี่/คน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการเปรียบเทียบฟันผุ dmf48 นั้นค่า มีค่าไม่แตกต่างกัน ทางสถิติ
ข้อเสนอแนะการจากวิจัยการทาฟลูออไรด์วาร์นิชในเด็กปฐมวัย ควรจะต้องทบทวนถึงวิธีการใช้ฟลูออไรด์วาร์นิชให้มีความถูกต้อง เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันฟันผุ และการป้องกันฟันผุควรจะใช้รูปแบบมาตรการในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากแบบผสมผสานทั้งมาตรการดำเนินการในระดับครัวเรือน มาตรการดำเนินการในระดับชุมชนและมาตรการส่งเสริมสุขภาพในระบบบริการ
References
2. กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพประชากร จังหวัดนครราชสีมา ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2551. นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2552.
3. กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขชังหวัดนครราชสีมา.รายงานการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพประชากร จังหวัดนครราชสีมา ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2555. นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2557.
4. ทิพนาถ วิชญาณรัตน์. ฟลูออไรด์เจลและฟลูออไรด์วานิช. วิทยสารทันตแพทยศาสตร์มหิดล 2554; 31(3): 161-74.
5. ขนิษฐา ดาโรจน์, นุสรา ภูมาศ, บัณฑิต ถิ่นคำรพ, สุปรีดา อดุลยานนท์. ประสิทธิผลของการทาฟลูออไรด์วาร์นิชโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการป้องกันโรคฟันผุในเด็กเล็ก. วิทยสารทันตแพทยศาสตร์ 2548; 55(1):1-13.
6. Plichika V, Kokel CJ, Andreeva J, Crispin A, Hickel R, Kühnisch J, et al. Effectiveness of a New Fluoride Varnish for Caries Prevention in Pre-School Children. The Journal of Clinical Pediatric Dentistry 2013;38(1):7-12.
7. Jiang EM, Lo EC, Chu CH, Wong MC. Prevention of early childhood caries (ECC) through parental toothbrushing training and fluoride varnish application: a 24-month randomized controlled trial. J Dent. 2014;42(12):1543-1550. doi:10.1016/j.jdent.2014.10.002
8. เพ็ญแข ลาภยิ่ง. การวิจัยประเมินผลด้านสุขภาพช่องปาก (Oral health evaluation research). นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข; 2561.
9. สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม กรุงเทพ; 2554.
10. อัญชนา ณ ระนอง. วิธีการวิจัย (Research Methods). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทแสงสว่างเวิลด์เพรส จำกัด; 2553.
11. สมหมาย คชนาม. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง เครื่องมือการวิจัยและสถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล. 9-11 มกราคม พ.ศ.2560. นครราชสีมา: โรงพยาบาลโชคชัย.
12. Oliveira BH, Salazar M, Carvalho DM, Falcão A, Campos K, Nadanovsky P. Biannual fluoride varnish applications and caries incidence in preschoolers: a 24-month follow-up randomized placebo-controlled clinical trial. Caries Res. 2014;48(3):228-236. doi:10.1159/000356863.
13. พัชรี เรืองงาม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารทันตสาธารณสุข 2556;18(2): 9-21.
14. ลักขณา อุ้ยจิรากุล, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, จันทนา อึ้งชูศักดิ์, มุขดา ศิริเทพทวี. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเลี้ยงดูและโรคฟันผุในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดสระแก้ว. วารสารทันตสาธารณสุข 2556; 18(2): 23-31.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9